ไส้ตรงปลิ้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไส้ตรงปลิ้น
Rectal prolapse
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10K62.3
ICD-9569.1
OMIM176780
DiseasesDB11189
eMedicinemed/3533
MeSHD012005

ไส้ตรงปลิ้น, ไส้ตรงยื่นย้อย, บานทะโรค, ดากออก, ดากโผล่ (อังกฤษ: rectal prolapse) มักใช้หมายถึงอาการทางการแพทย์ซึ่งผนักของไส้ตรงปลิ้นออกมานอกทวารหนักจนสามารถมองเห็นได้จากภายนอกร่างกาย[1]

สาเหตุ[แก้]

ไส้ตรงปลิ้นเกิดจากการที่เอ็นรั้งและกล้ามเนื้อที่ยึดไส้ตรงไม่แข็งแรง ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ หูรูดทวารหนักอ่อนแอ นอกจากนี้ ไส้ตรงปลิ้นยังอาจมีความเกี่ยวข้องกับสาเหตุดังต่อไปนี้: มีอายุสูงขึ้น อาการท้องผูกเป็นระยะเวลานาน การอั้นอุจจาระเป็นเวลานาน การได้รับเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก[2][3][4] อาการท้องร่วงเป็นเวลานาน การมีพยาธิในทางเดินอาหารจำนวนมาก การตั้งครรภ์และความเครียดในการให้กำเนิดทารก การศัลยกรรมครั้งที่ผ่านมา โรคซีสติกไฟโบรซีส โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และหูรูดทวารหนักเป็นอัมพาต

การรักษา[แก้]

ไส้ตรงปลิ้นบางส่วนสามารถรักษาได้โดยการรับประทานใยอาหารมาก ๆ[5] ในทางเภสัชกรรม อาการดังกล่าวสามารถรักษาได้เฉพาะการบรรเทาอาการท้องผูก เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาได้โดยการศัลยกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ศัลยกรรมช่องท้องและศัลยกรรมฝีเย็บ

อ้างอิง[แก้]

  1. Altomare, Donato F.; Pucciani, Filippo (2007). Rectal Prolapse: Diagnosis and Clinical Management. Springer. p. 12. ISBN 978-8-8470-0683-6.
  2. Turell, R. (1974). "Sexual problems as seen by proctologist". N Y State J Med. 74 (4): 697–8. PMID 4523440. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  3. Essential Revision Notes in Surgery for Medical Students By Irfan Halim; p139
  4. Hampton, BS. (2009). "Pelvic organ prolapse". Med Health R I. 92 (1): 5–9. PMID 19248418. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  5. http://www.webmd.com/digestive-disorders/tc/rectal-prolapse-treatment-overview