ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไลน์
นักพัฒนา
วันที่เปิดตัว23 มิถุนายน ค.ศ. 2011 (2011-06-23)
รุ่นเสถียร
แอนดรอยด์13.0.1[1] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 17 มกราคม 2023; 14 เดือนก่อน (17 มกราคม 2023)[2]
ไอโอเอส13.4.0[3] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 30 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (30 มีนาคม 2023)[4]
วินโดวส์7.14.1.2907[5] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 23 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (23 มีนาคม 2023)[6]
แมคโอเอส7.16.1[7] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 17 มีนาคม 2023; 12 เดือนก่อน (17 มีนาคม 2023)[8]
โครม2.5.11[9] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 21 กุมภาพันธ์ 2023; 13 เดือนก่อน (21 กุมภาพันธ์ 2023)[10]
ที่เก็บข้อมูลgithub.com/line
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ
แพลตฟอร์มสมาร์ตโฟน, พีซี, ไอแพด, สมาร์ตวอทช์
ขนาด
ภาษา17 ภาษา[4]
รายชื่อภาษา
อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เกาหลี, จันตัวย่อ, จีนตัวเต็ม, ไทย, เวียดนาม, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, สเปน, โปรตุเกส, รัสเซีย, อินโดนีเซีย, มลายู, อาหรับ, ตุรกี
ประเภทระบบส่งข้อความทันที, เครือข่ายชุมชนออนไลน์
สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์
เว็บไซต์line.me/en/

ไลน์ (อังกฤษ: Line เขียนตามสไตล์เป็น LINE)[11] เป็นแอปพลิเคชันฟรีแวร์สำหรับการส่งข้อความทันทีบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการโดย LY Corporation ผู้ใช้ไลน์สามารถแลกเปลี่ยนข้อความ, ภาพ, วิดีโอและเสียง และให้บริการการสนทนาแบบวอยซ์โอเวอร์ไอพีและการประชุมทางวิดีโอ นอกจากนี้ ไลน์ยังให้บริการอีกหลายแพลตฟอร์ม เช่น: กระเป๋าเงินดิจิทัลในฐานะ Line Pay, กระแสข่าวในฐานะ LINE Today, วีดิทัศน์ตามคำขอในฐานะ Line TV และผู้จำหน่ายคอมมิกดิจิทัลอย่าง Line Manga และ Line Webtoon

เอ็นเอชเอ็น เจแปน บริษัทย่อยของ Naver Corporation เปิดตัวไลน์ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011[12] เนื่องจากแอปพลิดคชันนี้ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับรสนิยมของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และให้บริการโทรและส่งข้อความผ่านสมาร์ทโฟนฟรี ทำให้แซงหน้า KakaoTalk คู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดญี่ปุ่นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความช่วยเหลือจากแคมเปญการตลาดขนาดใหญ่[12] โดยมีผู้ใช้ถึง 100 ล้านบัญชีภายใน 18 เดือน และ 200 ล้านบัญชีใน 6 เดือนต่อมา[13] ไลน์กลายเป็นเครือข่ายสังคมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 2013 โดยมีผู้ใช้มากกว่า 300 ล้านบัญชี[14] จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 จึงมีผู้ใช้งาน 600 ล้านบัญชี[15]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 Z Holdings พันธมิตรของ SoftBank Group และผู้ให้บริการยาฮู! เจแปน รวมเข้ากับไลน์ คอร์ปอเรชั่น A Holdings ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ SoftBank Corporation และ Naver Corporation จะถือหุ้น 65.3% ใน Z Holdings ซึ่งจะเป็นผู้ให้บริการไลน์และยาฮู! เจแปน ภายใต้โครงสร้างใหม่[16] ไลน์เป็นแอปพลิเคชันส่งความยอดนิยมที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น, ประเทศไต้หวัน และประเทศไทย[17][18]

การใช้งาน[แก้]

ไลน์ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยซิมการ์ดหรือไวไฟ และต้องลงทะเบียนผ่านอีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์ก่อนที่จะใช้งาน ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสนทนาหรือส่งข้อมูลตามบริการที่สมัครไว้เช่น ข้อความ สติกเกอร์ ภาพ เสียง วิดีโอ การถ่ายทอดสด เป็นต้น

ส่วนแบ่งการตลาด[แก้]

ไลน์เริ่มต้นให้บริการในฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 2011 ในฐานะระบบสื่อสารสำหรับพนักงานเอ็นเอชเอ็น เจแปน จากนั้นก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเปิดตัวสู่สาธารณะในเดือนมิถุนายนของปีนั้น ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2013 มีผู้ดาวน์โหลดไลน์ 100 ล้านครั้งทั่วโลก[19] จากนั้นจึงเพิ่มขึ้นเป็น 140 ล้านครั้งในช่วงต้นกรกฎาคม ค.ศ. 2013 และถึง 200 ล้านครั้งในวันที่ 21 กรกฎาคม[20] ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 มีการอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นมีผู้ใช้งาน 68 ล้านบัญชี ส่วนประเทศไทยมี 33 ล้านบัญชี[21] ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 อินโดนีเซียมีผู้ใช้ 20 ล้านบัญชี ไต้หวันมี 17 ล้านบัญชี ส่วนอินเดียและสเปนมี 16 ล้านบัญชีแบ่งตามประเทศ[22] ตัวแทนเอ็นเอชเอ็นประกาศแผนให้มีผู้ใช้ถึง 300 ล้านบัญชีผ่านการขยายพื้นที่ในเอเชียตะวันออก, สเปน และชิลี[23] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 Naver ประกาศว่าไลน์มีผู้ใช้ทั่วโลกถึง 400 ล้านบัญชี[24] และใน ค.ศ. 2017 จึงเพิ่มขึ้นถึง 700 ล้านบัญชี[25]

ไลน์ ไลต์[แก้]

ไลน์ ไลต์
นักพัฒนาไลน์ คอร์ปอเรชั่น
รุ่นเสถียร
2.17.1 / 2021-09-13 [26]
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ขนาด8.89 MB
เว็บไซต์line.me Edit this on Wikidata

ใน ค.ศ. 2015 มีการเผยแพร่แอปพลิเคชันค่าใช้จ่ายต่ำในตลาดเกิดใหม่ชื่อ ไลน์ ไลต์ โดยรองรับการส่งข้อความและการโทร[27] แต่ไม่รองรับธีมหรือเส้นเวลา[28] เผยแพร่ทั่วโลกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015[29]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 ไลน์ประกาศหยุดพัฒนาไลน์ ไลต์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022

ข้อจำกัด[แก้]

บัญชีไลน์สามารถใช้ได้แค่อุปกรณ์โทรศัพท์เดียว (ใช้งานในแอป) หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเดียว (ใช้งานในแอป) อุปกรณ์มือถืออื่นสามารถติดตั้งแอปได้ แต่ต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือที่อยู่อีเมลที่แตกต่างกันสำหรับบัญชีไลน์[30][31]

การเซ็นเซอร์[แก้]

ไลน์ระงับเนื้อหาในจีนเพื่อให้สอดคล้องกับการเซ็นเซอร์ของรัฐบาล[32] การวิเคราะห์โดย Citizen Lab แสดงให้เห็นว่า บัญชีที่ลงทะเบียนด้วยหมายเลขโทรศัพท์จีนดาวน์โหลดรายการศัพท์ต้องห้ามที่ไม่สามารถส่งหรือรับผ่านไลน์ได้[33]

ไลน์เปิดเผยถึงการปฏิบัติดังกล่าวต่อสาธารณชนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013[34] อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 2014 การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แชทไลน์ถูกบล็อกจากเกรตไฟร์วอลล์โดยสมบูรณ์ ในขณะที่บริษัทยังคงมีรายได้ในประเทศจีนจากร้านค้าในตึกรามบ้านช่อง[35][36]

ในประเทศอินโดนีเซีย ไลน์ตอบสนองต่อแรงกดดันจากกระทรวงคมนาคมและสารสนเทศอินโดนีเซียที่ให้ลบเอโมจิและสติกเกอร์ ซึ่งเชื่อว่าอ้างอิงถึงการรักร่วมเพศ เช่น เอโมจิ "ชายสองคนจับมือกัน" ทางไลน์ได้ออกแถลงการณ์ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า "ทางไลน์รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสติกเกอร์บางอัน ซึ่งหลายคนมองว่ามีความละเอียดอ่อน ขอให้คุณเข้าใจ เพราะในขณะนี้เรากำลังดำเนินการแก้ไขปัญหานี้เพื่อนำสติกเกอร์ออก"[37]

ในประเทศไทย ไลน์ถูกสงสัยว่าตอบรับแรงกดดันจากรัฐบาลไทยให้ลบสติกเกอร์นั้น หลังอนุมัติสติกเกอร์ 'Red Buffalo' ซึ่งใช้อ้างอิงถึงกลุ่มเสื้อแดง[38][39]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ผิดพลาด: ไม่สามารถแสดงข้อมูลอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง ดูคู่มือการใช้งานสำหรับรายละเอียด
  2. "LINE: Free Calls & Messages - Apps on Google Play". Google Play (ภาษาอังกฤษ).
  3. "LINE Version History 13.4.0 Mar 30, 2023". 30 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  4. 4.0 4.1 "LINE". App Store. June 22, 2023.
  5. "LINE: Version 7.14.1.2907 Latest update Mar 23, 2023". 23 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  6. "Get LINE". Microsoft Store (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "LINE: Version History 7.16.1 Mar 17, 2023". 17 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  8. "LINE". Mac App Store. May 2, 2023.
  9. "LINE: Additional Information". 21 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2023.
  10. "LINE". Chrome Web Store.
  11. https://play.google.com/store/apps/details%3Fid%3Djp.naver.line.android%26hl%3Den%26gl%3DUS%26referrer%3Dutm_source%253Dgoogle%2526utm_medium%253Dorganic%2526utm_term%253Dline%2Bjapan%26pcampaignid%3DAPPU_1_ITLfZNfvDcmVhbIP-qi4oAI&ved=2ahUKEwiXhK6V6-WAAxXJSkEAHXoUDiQQ5YQBegQIKhAC&usg=AOvVaw3MLSdI_XLeWxEm4zo-6YHA
  12. 12.0 12.1 Mac, Ryan (22 March 2015). "How KakaoTalk's Billionaire Creator Ignited A Global Messaging War". Forbes. สืบค้นเมื่อ 22 November 2021.
  13. "Line Hits 200 Million Users, Adding 100 Million in Just 6 Months". Tech In Asia. 23 July 2013. สืบค้นเมื่อ 24 July 2013.
  14. Akky Akimoto, 2013-12-17, Looking at 2013′s Japanese social-media scene, The Japan Times
  15. "Number of Line users to top 700 mil. this year". Korea Times. 8 February 2015. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016.
  16. "SoftBank unit to invest $4.7bn in Yahoo-Line integration". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  17. "Mobile Messaging App Map of the World - January 2019". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  18. "How Japan's Line App Became a Culture-Changing, Revenue-Generating Phenomenon". 19 February 2015.
  19. Josh Robert Nay (19 January 2013). "Line VoIP and Messaging App Now Has More Than 100 Million Users". TruTower. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  20. "Line exceeds 200 million users worldwide!". 23 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2014. สืบค้นเมื่อ 23 July 2013.
  21. "Line to raise $1bn in IPO". Bangkok Post. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
  22. "Number of registered Line app users in selected countries as of February 2014 (in millions)". statista.
  23. John Ure (7 July 2013). "Asia's Internet challenge". Live Mint & The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  24. "Line app tops 500 million users". China Post. 3 April 2014. สืบค้นเมื่อ 3 April 2014.
  25. "Line Revenue and Usage Statistics (2017) - Business of Apps". Business of Apps. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  26. "LINE Lite: Free Calls & Messages APKs - APKMirror". APKMirror.
  27. "LINE Lite: Free Calls & Messages - Apps on Google Play".
  28. "Line Launches Lightweight Version of Its Chat App for Emerging Market Android Phones". July 23, 2015.
  29. "LINE Lite, New Streamlined Version of LINE, Available Almost Everywhere Worldwide!". August 18, 2015.
  30. "FAQ: Can I use the same Line account from multiple devices?". สืบค้นเมื่อ December 30, 2013.
  31. "Help Center - LINE". help.line.me.
  32. Hardy, Seth (14 November 2013). "Asia Chats: Investigating Regionally-based Keyword Censorship in LINE". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
  33. Ng, Jason Q.; Crete-Nishihata, Masashi; Hardy, Seth; Dalek, Jakub; Senft, Adam (30 April 2014). "Asia Chats: LINE Censored Keywords Update". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014.
  34. Crete-Nishihata, Masashi; Hardy, Seth; Ng, Jason Q.; Dalek, Jakub; Senft, Adam (6 December 2013). "Asia Chats: LINE Corporation Responds". สืบค้นเมื่อ 4 November 2014. LINE had to conform to local regulations during its expansion into mainland China, and as a result the Chinese version of Line, "Lianwo", was developed. The details of the system are kept private, and there are no plans to release them to the public.
  35. "Chat apps hit by China disruption". BBC News. 4 July 2014.
  36. Horwitz, Josh (August 3, 2015). "One year after the government banned it, Line is still in China—selling lattes". Quartz.
  37. "Indonesia bans 'gay' emojis on messaging apps". ABC News. 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
  38. Editor. "New Thai buffalo stickers for LINE | 2Bangkok.com" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  39. "Red buffalo sticker banned". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]