ไรโบเฟลวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไรโบเฟลวิน
ชื่อ
IUPAC name
7,8-dimethyl- 10- ((2R,3R,4S) - 2,3,4,5- tetrahydroxypentyl) benzo [g] pteridine- 2,4 (3H,10H) - dione
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ECHA InfoCard 100.001.370 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เลขอี E101 (colours)
MeSH Riboflavin
  • Cc1cc2c (cc1C) n (c-3nc (=O) [nH]c (=O) c3n2) C[C@@H]([C@@H]([C@@H](CO) O) O) O
คุณสมบัติ
C17H20N4O6
มวลโมเลกุล 376.36 g/mol
จุดหลอมเหลว 290 °C (dec.)
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ไรโบเฟลวิน (อังกฤษ: riboflavin) หรือ วิตามินบี2 (อังกฤษ: vitamin B2) จัดอยู่ในชนิดวิตามินที่ละลายในน้ำได้[1] ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระเกร็น จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย[2] โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา

ผลกระทบที่ร่างกายได้รับ[แก้]

ภาวะการได้รับไม่เพียงพอ[แก้]

หากได้รับไรโบเฟลวินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้เกิดอาการหลายอย่างเช่น อ่อนเพลีย คอบวม ผิวหนังแตกระคายเคือง, โลหิตจาง โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการขาดหรือได้รับวิตามินชนิดนี้ไม่เพียงพอมักเป็นผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง, ติดสุรา, หรือผู้ที่มีฐานะยากจน

ภาวะการได้รับเกินขนาด[แก้]

โดยทั่วไปการได้รับไรโบเฟลวินในปริมาณที่สูงกว่าค่า RDA มักไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นพิษ แต่หากได้รับวิตามินชนิดนี้ในปริมาณที่สูงมาก ๆ อาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นพิษเช่น ปัสสาวะสีเหลือง, หมดสติ, รู้สึกแสบร้อนหรือเป็นโรคหิดได้

สารเสริมฤทธิ์ เช่น วิตามินบีรวม
สารต้านฤทธิ์ เช่น ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน, ยาปฏิชีวนะ และสุรา[3]

แหล่งที่พบ[แก้]

ไรโบเฟลวิน พบได้ทั่วไปในอาหารหลายประเภท เช่น ในพืชผักต่าง ๆ ที่มีใบสีเขียว[4] รวมถึงในเนื้อสัตว์, ถั่ว, ธัญพืช และผลไม้ต่าง ๆ

อ้างอิง[แก้]

  1. สารอาหารประเภทวิตามิน, วันที่สืบค้น 14 เมษายน 2559 จาก www.siripansiri.wordpress.com.
  2. vitamin-b2-riboflavin เก็บถาวร 2016-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 14 เมษายน 2559 จาก www.foodnetworksolution.com.
  3. มีวิตามินบีเกิน, วันที่สืบค้น 14 เมษายน 2559 จาก www.pheermintsw.wordpress.com.
  4. [1] เก็บถาวร 2018-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 14 เมษายน 2559 จาก www.saranukromthai.or.th.