ไรนิไลอาริโวนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไรนิไลอาริโวนี
นายกรัฐมนตรีมาดากัสการ์
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1895 – ค.ศ. 1864
ก่อนหน้าไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี
ถัดไปไรนิทซิมบาซาฟี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม ค.ศ. 1828(1828-01-30)
อิลาฟี มาดากัสการ์
เสียชีวิต17 กรกฎาคม ค.ศ. 1896(1896-07-17) (68 ปี)
อัลเจียร์ เฟรนช์อัลจีเรีย
คู่สมรส

ไรนิไลอาริโวนี (30 มกราคม ค.ศ. 1828 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1896) เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งมาดากัสการ์ ในปี ค.ศ. 1864 ถึง ค.ศ. 1895 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี ผู้เป็นพี่ชายของเขาซึ่งครองอำนาจเป็นเวลา 13 ปี การทำงานของเขาแสดงให้เห็นว่า ไรนิฮาโรบิดาของเขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงทางด้านทหาร ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์ แม้ในวัยเด็กเขาจะถูกขับออกจากครอบครัวของเขา เด็กหนุ่มไรนิไลอาริโวนีก็เติบโตขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งของผู้มีอำนาจ และได้รับความไว้วางใจจากราชสำนักให้ทำงานอยู่ใกล้ชิดกับพ่อและพี่ชายของเขา โดยขณะที่เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้บัญชาการกองทัพพี่ชายของเขาได้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้ไรนิไลอาริโวนีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1864 และเขาพยายามรักษาไว้ซึ่งอำนาจโดยสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถแห่งมาดากัสการ์ทั้ง 3 พระองค์ได้แก่ สมเด็จพระราชินีนาถราซอเฮอรินาแห่งมาดากัสการ์,สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 2 แห่งมาดากัสการ์ และ สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ ไรนิไลอาริโวนีเป็นที่ถูกกล่าวถึงในฐานะ "ผู้ที่มีศิลปะในการพูดสุนทรพจน์ระดับชาติ" และเขายังเป็นที่เคารพในชาวมาลากาซีและชาวต่างชาติอีกด้วย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Oliver (1885), p.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Chapus, G.S.; Mondain, G. (1953). Un homme d’état malgache: Rainilaiarivony. Paris: Editions Diloutremer. (ฝรั่งเศส)
  • Drapeyron, L. (1896). Revue de géographie, Volumes 38-39. Paris: C. Delagrave. (ฝรั่งเศส)
  • Fage, J.D.; Flint, J.E.; Oliver, R.A. (1986). The Cambridge History of Africa: From c. 1790 to c. 1870. London: Cambridge University Press. ISBN 0521204135.
  • Nativel, D.; Rajaonah, F.V. (2009). Madagascar revisitée: en voyage avec Françoise Raison-Jourde. Paris: Karthala Editions. ISBN 9782811101749. (ฝรั่งเศส)
  • Oliver, S.P. (1885). The true story of the French dispute in Madagascar. London: British Library.
  • Oliver, S.P. (1886). Madagascar: An Historical and Descriptive Account of the Island and its Former Dependencies, Volume 1. New York: Macmillan and Co.
  • Stratton, A. (1964). The Great Red Island. New York: Scribner.
  • de la Vaissière, Camille (1884). Histoire de Madagascar: ses habitants et ses missionnaires, Volume 1. Paris: Librairie Victor Lecoffre. (ฝรั่งเศส)