ไฟร์เอมเบลม: Rekka no Ken

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไฟร์เอมเบลม (วิดีโอเกม))
Fire Emblem
ภาพหน้าปกเกมภาค Fire Emblem
ภาพหน้าปกเกม Fire Emblem แสดง เอลิวูด, ลิน, และ เฮ็กเตอร์
ประเภท เกมสวมบทบาท
ผู้พัฒนา Intelligent Systems
ผู้จัดจำหน่าย นินเทนโด
เครื่องที่ลง เกมบอยแอดวานซ์
จัดจำหน่าย ญี่ปุ่น:25 เมษายน 2546
อเมริกา:3 พฤศจิกายน 2546
ยุโรป:16 กรกฎาคม 2547
เวปอย่างเป็นทางการ Fire Emblem

เกมภาค Fire Emblem นี้ วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในนาม Fire Emblem Rekka no Ken (ファイアーエムブレム 烈火の剣, Faiā Emuburemu Rekka no Ken, แปล "ไฟร์เอมเบลม:ดาบเพลิง") ในภาษาญี่ปุ่น ในรูปแบบของเกมแนววางแผน สวมบทบาท สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ พัฒนาโดย Intelligent Systems และจัดจำหน่ายโดย นินเทนโด เกมออกวางจำหน่ายในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2546 ในญี่ปุ่น, วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 และวางจำหน่ายในยุโรปในวันที่ 16 กรกฎาคม 2547[1]

เกมภาคนี้เป็นเกมภาคที่เจ็ดในชุดเกมไฟร์เอมเบลม และ เป็นเกมภาคที่สองที่วางจำหน่ายสำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ และ เป็นเกมภาคแรกที่วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ และ ยุโรป[2] เกมภาคนี้เป็นการแนะนำเกมชุดไฟร์เอมเบลมให้กับผู้เล่นทางตะวันตก โดยที่เกมภาคนี้เป็นภาคก่อนหน้าภาค Fire Emblem: Fūin no Tsurugi และเกิดขึ้นห้าปีก่อนที่ Roy ผู้กล้าในเกมภาค Fire Emblem: Fūin no Tsurugi จะเกิด และ ยี่สิบปีก่อนที่เรื่องราวในภาค Fire Emblem: Fūin no Tsurugi จะเริ่ม[3] จากการจัดอันดับเกม เกมภาค Fire Emblem ได้รับคะแนนถึง 88.3% ซึ่งทำให้เกมภาคนี้เป็นเกมภาคที่ได้รับสูงสุดในเกมชุดไฟร์เอมเบลม[4]

เนื้อเรื่อง[แก้]

เกมในภาคนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทวีป Elibe และเป็นเรื่องราวก่อนภาค Fire Emblem: Fūin no Tsurugi ด้วยเหตุนี้เรื่องราวประวัติศาสตร์ และ ตัวละครบางตัวจึงมีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างเกมทั้งสองภาค[3] เกมภาคนี้เริ่มโดยข้อความอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของทวีป Elibe กว่าหลายพันปีก่อนหน้าเรื่องราวในเกม มนุษย์ และ มังกร อาศัยอยู่ในโลก อย่างไรก็ตามสันติภาพได้ถูกทำลายเมื่อมนุษย์ต่อสู้กับมังกร ในสงครามอันแสนเจ็บปวด นาม The Scouring หลังจากพ่ายแพ้ มังกรไปหายไปจากโลก และ มนุษย์ไปแผ่ขยายอำนาจครอบครองแต่เพียงเผ่าพันธุ์เดียว[5]

ตัวละครจากในภาคนี้ จากซ้าย-ขวา Eliwood, Sain, Dorcas, Lyn, Rebecca, Hector และ Serra

ผู้เล่นได้รับบทบาทเป็นนักวางแผนที่พบกับตัวละครหญิง นาม Lyndis ใน Sacae ระหว่างเรื่องราวของ Lyn's tale ซึ่งเป็นส่วนแรกของเกม Lyn พบว่าเธอเป็นหลานสาวของ Hausen marquess of Caelin(คาดว่า เทียบเท่าเจ้าเมือง) เธอรวบรวมสมัครพรรคพวกในการที่จะป้องกันไม่ให้ Lundgren น้องของตาของเธอขึ้นครองเมือง Lundgren วางยา marquess นอกจากนี้ยังส่งทหารเพื่อไปกำจัด Lyn และ ทุกคนที่รู้ฐานะที่แท้จริงของ Lyn เนื่องจากเธออยู่ในฐานะที่สูงกว่าในการขึ้นครองตำแหน่ง ในที่สุด Lyn เอาชนะ Lundgren ได้ และ ได้พบกับตาของเธอ

ในอีกยี่สิบฉากถัดมา (Eliwood's tale) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Eliwood, Hector และเพื่อน (ซึ่งรวมถึง Lyndis) ที่ต้องตามล่ากลุ่มองค์กรร้าย ที่รู้จักในนาม Black Fang ซึ่งองค์กรนี้ขยายตัวจากร่างแยกคล้ายมนุษย์ ที่รับใช้ Nergal พวกมันฆ่าผู้คนเพื่อนำเอา quintessence (พลังชีวิต) และ เพื่อแผ่ขยายอำนาจ[6] Black Fang เผชิญหน้ากับ Eliwood เนื่องจากได้จับตัว Lord Elbert พ่อของเขาไป จุดมุ่งหมายสูงสุดของกลุ่มตัวเอกในเรื่อง คือ การป้องกันไม่ให้ Nergal ใช้พลังชีวิตของเพื่อนของพวกเขา คือ Ninian และ Nils ในการเปิดประตู Dragons' Gate ซึ่งเป็นประตูมิติที่เชื่อมไปยังที่อยู่ของเหล่ามังกร และ ก่อให้เกิดสงครามขึ้นใน Elibe ในการตามล่าของ Black Fang ของ Eliwood และ พรรคพวก พวกเขาได้กำจัดหัวหน้าคนสำคัญหลายคนของ Black Fang และ รวมถึงการดึงตัวหลายๆคนเข้ามาร่วมกลุ่มด้วย เกมจบลงเมื่อ Eliwood และกลุ่ม สังหาร Nergal และ มังกรที่ถูกเรียกออกมาโดยพลังชีวิตของ Nergal Eliwood ได้ขึ้นเป็น marquess of Pherae และ Hector ได้เป็น marquess of Ostia

ระบบการเล่น[แก้]

Fire Emblem เป็นเกมแนววางแผนสวมบทบาทผลัดกันเดิน ที่ให้ผู้เล่นเคลื่อนที่กลุ่มตัวละคร ในแผนที่ที่เป็นแนวตาราง ต่อสู้กับศัตรู เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งทำให้นึกถึงเกมวางแผนสวมบทบาทเกมอื่น ที่ประกอบด้วย อาชีพของตัวละคร และ ความสามารถในการเพิ่มเลเวล[7] ข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้จาก ระบบการเล่นพื้นฐานไฟร์เอมเบลม

ระบบการเล่นคนเดียว แบ่งออกเป็นฉาก ที่เริ่มด้วยเนื้อเรื่อง ผ่านการใช้ภาพการ์ตูน ที่ประกอบด้วยภาพนิ่งของตัวละครหลัก ตามด้วยการต่อสู้กับศัตรู ภายหลังการต่อสู้แต่ละฉาก ผู้เล่นสามารถเลือกเซฟเกมได้[7] Fire Emblem ปรับเปลี่ยนบางส่วนที่ต่างจากเกมภาคอื่นในชุด รวมถึงระบบแนะนำการเล่น ในส่วนระบบการเล่นคนเดียวแบ่งออกเป็นส่วนของ Lyn's tale และ Eliwood's tale[7] โดยในส่วนแรกนั้นทำหน้าที่เป็นการแนะนำระบบต่างๆของเกม เพื่อช่วยให้ผู้เล่นใหม่เข้าใจได้ง่าย แต่จะไม่มีระบบแนะนำการเล่นในส่วนของ Lyn สำหรับความยากระดับยาก Fire Emblem ยังได้เพิ่มเป้าหมายแบบใหม่ขึ้นมา เช่น การอยู่รอดให้ครบตามจำนวนรอบที่กำหนด, กำจัดศัตรูให้หมด, หรือ การเดินทางไปยังจุดที่กำหนดในแผนที่[8] รวมทั้งยังมีการเพิ่มผลของสภาพพื้นที่ และ ภูมิอากาศ เข้ามาอีกด้วย[9]

ภาพจับหน้าจอจากฉาก Prologue

ตัวละครทั้งหมด 44 ตัวละครในภาค Fire Emblem แบ่งออกเป็นอาชีพต่างๆ[10] ได้แก่ Shaman, Berserker, หรือ Thief[11] ซึ่งตัวละครสามารถใช้อาวุธ หรือ เวทมนตร์ ขึ้นอยู่กับอาชีพของตัวละคร อาวุธ จัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือ ดาบ,ขวาน,ทวน และ ธนู ในขณะที่ เวทมนตร์ จัดแบ่งเป็น ธาตุธรรมชาติ,ธาตุมืด,ธาตุสว่าง และ คทา(ซึ่งใช้ในการรักษา หรือ ลบล้างความผิดปกติต่างๆ) ตัวเกมวางระบบตามแบบของเกม ค้อน-กรรไกร-กระดาษ ที่ ขวาน ชนะ ทวน,ทวน ชนะ ดาบ และ ดาบ ชนะ ขวาน สำหรับธนูนั้นไม่ได้อยู่ในความสัมพันธ์สามเส้าของอาวุธนี้ หากแต่มีความพิเศษที่สามารถทำความเสียหายอย่างมาก กับตัวละครที่บินได้[9] ในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับอาวุธ เวทมนตร์ มีระบบความสัมพันธ์สามเส้าของเวทมนตร์เช่นกัน โดยที่ ธาตุมืด เหนือกว่า ธาตุธรรมชาติ,ธาตุธรรมชาติ เหนือกว่า ธาตุสว่าง และ ธาตุสว่าง เหนือกว่า ธาตุมืด[12] ตัวเกมยังมีระบบเลเวลของอาวุธ ที่ไล่เรียงจาก E ไป A ตามลำดับตัวอักษร และมีระดับสูงที่สุดของเลเวลอาวุธ คือ S ตัวละครสามารถเพิ่มเลเวลอาวุธได้โดยการใช้อาวุธประเภทนั้นซ้ำๆ

หลังจากได้ค่าประสบการณ์ครบ 100 แต้ม ตัวละครนั้นจะเพิ่มเลเวล และ อาจได้รับค่าสถานะเพิ่ม ได้แก่ ความเร็ว และ ค่าป้องกัน สำหรับตัวละครที่ยังไม่ได้เปลี่ยนอาชีพ สามารถเปลี่ยนอาชีพได้เมื่อมีเลเวลตั้งแต่เลเวล 10 ขึ้นไปจนไปถึงเลเวลสูงสุดที่เลเวล 20 ซึ่งในการเปลี่ยนอาชีพนี้ต้องอาศัยไอเทมพิเศษ โดยไอเทมนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละอาชีพ เช่น Knight's Crest ใช้สำหรับเปลี่ยนอาชีพ knights และ cavaliers[9] เมื่อเปลี่ยนอาชีพแล้ว เลเวลตัวละครสูงสุดคือเลเวล 20 ของอาชีพที่เปลี่ยน

คู่ตัวละครบางคู่ สามารถเพิ่มเลเวลความสัมพันธ์ โดยการยืนตัวละครอยู่ติดกันเป็นเวลาหลายๆรอบ ความสัมพันธ์ของตัวละครนี้จะส่งเพิ่มค่าสถานะ เมื่อตัวละครทั้งคู่อยู่ห่างกันไม่เกินสามช่อง ตัวละครแต่ละตัวมีค่าความเกี่ยวข้องของธาตุ ซึ่งรูปแบบของค่าสถานะพิเศษที่ได้จากความสัมพันธ์ ล้วนขึ้นอยู่กับค่ารวมของความเกี่ยวข้องของธาตุของตัวละครทั้งคู่ ค่าสถานะพิเศษนี้ยังเพิ่มระดับขึ้นได้ตามระดับความสัมพันธ์ ซึ่งมีระดับตั้งแต่ C ไปจนถึง A โดย C คือมีบทสนทนาหนึ่งครั้ง,B มีบทสนทนาสองครั้ง และ A มีบทสนทนาสามครั้ง[13] ในแต่ละครั้งที่มีบทสนทนา จะทำให้ระดับความสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เมื่อเล่นจนจบในส่วนเนื้อเรื่องแล้ว จะมีตัวเลือก support viewer ให้สามารถเข้าไปดู บทสนทนาที่ผ่านมาแล้วได้

ถ้าตัวละครตางในระหว่างต่อสู้ ตัวละครนั้นจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นสำหรับตัวละครที่อยู่ในช่วงแรกของเกม ส่วนของ Lyn's tale ที่จะสามารถนำกลับมาใช้ในส่วนของ Eliwood's tale ได้ ถึงแม้ว่าตัวละครนั้นจะตายในระหว่างส่วนของ Lyn's tale ก็ตาม สำหรับการตายของตัวละครหลัก (Eliwood, Hector, หรือ Lyn) จะส่งผลให้เกมยุติ(Game Over) และ ตัวละครจะต้องเริ่มเล่นฉากนั้นใหม่ทั้งหมด เพื่อดำเนินเกมต่อไป[7]

ระบบการเล่นอื่นๆ[แก้]

Hector's tale[แก้]

ค่อนข้างคล้ายคลึงกับ Eliwood's tale แต่มีส่วนที่ต่างกันบ้าง โดยในส่วนนี้ Hector(แทนที่จะเป็น Eliwood) จะเป็นตัวละครหลัก เนื้อเรื่องหลายส่วน ฉากขั้นเรื่อง และ ฉากต่างๆ เปลี่ยนไปซึ่งแสดงส่วนที่ต่างออกไปของเนื้อเรื่อง นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มฉากธรรมดาสองฉาก และ ฉาก Gaiden อีกสองฉากขึ้นมาอีกด้วย ในบรรดาฉากทั้งหมด จะมีกำลัง และ จุดวางกำลังที่เปลี่ยนไป ระดับความยากสูงขึ้น ในท้ายที่สุด ยังมีตัวละครที่ไม่สามารถพบได้ในส่วนของ Eliwood ที่สามารถชวนเข้าร่วมกลุ่มได้ คือ Farina ที่เป็นตัวละครที่สามในบรรดาสามพี่น้อง Pegasus Knight และ Karla ฉายา เจ้าหญิงแห่งดาบ ซึ่งเป็นน้องสาวของ Karel ตัวละครอาชีพ Swordmaster

ระดับการเล่นระดับยาก[แก้]

มีระดับการเล่นระดับยาก สำหรับทุกส่วนของเรื่องของตัวละครหลัก ระดับการเล่นระดับยากนี้ เปลี่ยนให้เงื่อนไขของภูมิประเทศต่างๆยากขึ้น (เช่น มีหมอก,ส่งผลให้ระยะมองเห็นลดลง),ศัตรูเลเวลสูงขึ้น,ตัวละครที่เลือกได้ในแต่ละฉากลดลง ส่วนที่เปลี่ยนจากระดับการเล่นระดับธรรมดามากที่สุด คือ ในส่วนของ Hector Hard Mode ที่จะต้องพบกับศัตรูที่เลเวลสูงขึ้น, ศัตรูที่ฉลาดขึ้น และ ตัวละครที่เลือกใช้ได้ในฉากต่างๆลดลง นอกจากนี้ยังหาเงิน อาวุธ และ ทรัพยากรต่างๆได้ยากเพิ่มขึ้นอีกด้วย เนื่องจากปริมาณเงินที่ได้รับนั้นลดลง และ หาได้ยาก

ระบบผู้เล่นหลายคน[แก้]

นอกจากระบบการเล่นคนเดียวแล้ว Fire Emblem ยังมีระบบเชื่อมต่อ link arena ที่สามารถเชื่อมต่อผู้เล่นสี่คนพร้อมกัน โดยใช้ตัวละครที่อยู่ในเซฟไฟล์ ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครได้ห้าตัว และ สวมใส่อาวุธและอุปกรณ์ต่างๆ ได้เหมือนกับส่วนของเนื้อเรื่อง ระหว่างการต่อสู้ ผู้เล่นแต่ละคนจะผลัดกันต่อสู้กับตัวละครของอีกคน นอกจากนี้ผู้เล่นยังสามารถต่อสู้กับทีมของตัวเอง ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ถ้าไม่มีผู้เล่นคนอื่นอยู่

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนจากนักวิจารณ์(Review scores)
แหล่งข่าว คะแนน
Electronic Gaming Monthly 8 จาก 10[4]
Eurogamer 9 จาก 10[7]
Game Informer 8.75 จาก 10[4]
GamePro 4.5 จาก 5[14]
GameSpot 8.9 จาก 10[9]
IGN 9.5 จาก 10[15]
Nintendo Power 4.6 จาก 5[4]

ความนิยมในตัวละคร Marth และ Roy ใน Super Smash Bros. Melee ส่งผลให้ทางนินเทนโด แปลเกม Fire Emblem สำหรับอเมริกาเหนือ และ ยุโรป เกมภาคนี้นับเป็นภาคแรกในชุดที่วางจำหน่ายนอกญี่ปุ่น และ ตัวเกมได้ออกแบบเพื่อการแปลสำหรับอเมริกาเป็นสำคัญ หลังจากเกมภาคนี้วางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ และ ยุโรป ตั้งแต่นั้นมาเกมภาคต่อๆมาของไฟร์เอมเบลม ล้วนได้วางจำหน่ายในตลาดตะวันตกทั้งสิ้น

นักวิจารณ์ชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกับเกม Advance Wars ในขณะที่แสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างทั้งสองเกม Craig Harris จาก IGN ชื่นชอบส่วนการเล่นคนเดียวของตัวเกมอย่างมาก แต่ตำหนิในระบบผู้เล่นหลายคนที่ต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับ Advance Wars Bethany Massimilla จาก Gamespot ยกย่องภาพภายในเกม โดยแสดงความเห็นว่า มีการใช้ภาพวาดที่สวยงามแสดงรูปของตัวละคร นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ยังตอบรับเป็นอย่างดีกับดนตรีประกอบในเกม โดยTom Bramwell จาก Eurogamer ให้ความเห็นว่า ดนตรีประกอบทั้งในฉากต่อสู้ และ ดนตรีที่ใช้ในฉากขั้นเรื่อง สอดคล้องกันและไม่น่ารำคาญ

Fire Emblem ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ในส่วนของเนื้อเรื่องยิ่งใหญ่, การพัฒนาตัวละคร และ ระบบการเล่นที่ลุ่มลึก เกมในภาคนี้ยังได้รับการจัดระดับสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมทั้ง ระดับคะแนน 8.9/10 จาก GameSpot และได้รับรางวัล Editor's Choice Award จากทั้ง IGN และ GameSpy ในปีพ.ศ. 2550 เกมภาคนี้ได้รับการจัดเป็นเกมอันดับที่ 16 ของเกมยอดเยี่ยมตลอดกาล สำหรับเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ จาก IGN ซึ่งแสดงถึงอายุที่ยาวนานของเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ เกมภาค Fire Emblem นี้มียอดขายในญี่ปุ่นมากกว่า 345,000 กล่อง และ มียอดขายในอเมริกาถึง 331,000 กล่อง

อ้างอิง[แก้]

  1. "'Fire Emblem Database'". Nintendo Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-25. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  2. "'Fire Emblem Database list'". Nintendo Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  3. 3.0 3.1 Derek Miller (January 2004). "'A History of Fire Emblem: Blazing Sword'". A History of Fire Emblem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-17. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "'Gamerankings — Fire Emblem '". Game Rankings. สืบค้นเมื่อ 2007-08-19.
  5. Eric Arevalo. "'JustRPG Fire Emblem review'". JustRPG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  6. "'Hardcore gaming 101: Fire Emblem'". Hardcore Gaming 101. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Tom Bramwell (2004-07-07). "'Fire Emblem for Game Boy Advance Review — Eurogamer'". Eurogamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  8. Christian Nutt (2003-12-03). "'GameSpy.com Fire Emblem review'". GameSpy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-14. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Bethany Massimilla (2003-11-11). "'Fire Emblem for Game Boy Advance Review'". Gamespot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  10. "'Fire Emblem — characters'". RPG Classics. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  11. "'Fire Emblem — class'". RPG Classics. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  12. "'Fire Emblem — Weapons'". RPG Classics. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  13. "'Fire Emblem — Support conversations'". RPG Classics. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  14. Star Dingo (2003-11-03). "'Review: Fire Emblem for Game Boy Advance'". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-11-10. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
  15. Craig Harris (2003-11-05). "'Fire Emblem for Game Boy Advance Review — IGN'". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]