การแข่งขันบาสเกตบอลชายชิงแชมป์ดิวิชัน 1 ของ NCAA

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไฟนอลโฟร์)

การแข่งขันบาสเกตบอลชิงแชมป์ดิวิชัน 1 ของ NCAA (อังกฤษ: NCAA Men's Division I Basketball Championship) หรือนิยมเรียกโดยทั่วไปว่า มาร์ชแมดเนสส์ (March Madness) หรือ บิ๊กแดนซ์ (Big Dance) เป็นการแข่งขันที่จัดเป็นประจำทุกปีราวเดือนมีนาคม โดยนำทีมบาสเกตบอลมหาวิทยาลัยในดิวิชัน 1 สังกัด NCAA ในสหรัฐอเมริกา มาแข่งเพื่อหาแชมป์ในแต่ละปี เริ่มจัดแข่งขันครั้งแรก ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) [1]

ระบบการแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันเป็นแบบแพ้คัดออก ในระบบปัจจุบันซึ่งเริ่มนำมาใช้เมื่อ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) คัดมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันรวม 65 แห่ง โดยมาจากแชมป์ของแต่ละคอนเฟอร์เรนซ์ ทั้งหมด 31 คอนเฟอร์เรนซ์ รวมกับทีมที่เหลือที่คัดเลือกโดยคณะกรรมการ ทีมอันดับที่ 64 และ 65 แข่งกันเองก่อนเรียกรอบเปิด (Opening round) หลังจากนั้นจะเข้าแข่งในระดับภูมิภาค (Regionals) โดยแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค ได้แต่ West, Midwest, South และ East ภูมิภาคละ 16 ทีม[2] แข่งแบบทัวนาเมนต์ โดยที่ทีมอันดับหนึ่งจะพบกับทีมอันดับสิบหก ทีมอันดับสองพบกับทีมอันดับสิบห้า เป็นต้น แข่งทั้งหมดสี่รอบ ได้แก่ รอบแรก รอบสอง และรอบ Regionals อีกสองรอบ (นิยมเรียกรอบ Sweet Sixteen สำหรับสิบหกทีมสุดท้าย และรอบ Elite Eight สำหรับแปดทีมสุดท้าย) จนได้แชมป์ภูมิภาค มาแข่งในระดับสี่ทีมสุดท้าย (Final Four) แข่งอีกสองรอบ ได้แก่รอบสี่ทีมสุดท้ายและรอบชิงชนะเลิศ เพื่อเหลือทีมเดียวซึ่งจะเป็นแชมป์ในปีนั้น

รายชื่อมหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศ[แก้]

มหาวิทยาลัยที่ได้แชมป์มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส หรือ ยูซีแอลเอ ได้แชมป์ 11 ครั้ง รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยเคนทักกี เป็นแชมป์ 7 สมัย[3] มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ และ มหาวิทยาลัยเคนทักกี ได้แชมป์ 5 ครั้ง มหาวิทยาลัยดุ๊กได้แชมป์ 4 ครั้ง ต่อไปนี้เป็นรายชื่อมหาวิทยาลัยที่ชนะเลิศการแข่งขันในแต่ละปี โดยแบ่งเรียงตามชื่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย จำนวนครั้งที่ชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ
มหาวิทยาลัยแอริโซนา 1 1997
มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ 1 1994
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ 1 1959
มหาวิทยาลัยซินซินแนติ 2 1961, 1962
วิทยาลัยซีตี้แห่งนิวยอร์ก 1 1950
มหาวิทยาลัยคอนเนตทิคัต 2 1999, 2004
มหาวิทยาลัยดุ๊ก 4 1991, 1992, 2001, 2010
มหาวิทยาลัยฟลอริดา 2 2006, 2007
มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ 1 1984
วิทยาลัยโฮลีครอส 1 1947
มหาวิทยาลัยอินดีแอนา 5 1940, 1953, 1976, 1981, 1987
มหาวิทยาลัยแคนซัส 3 1952, 1988, 2008
มหาวิทยาลัยเคนทักกี 7 1948, 1949, 1951, 1958, 1978, 1996, 1998
มหาวิทยาลัยลาซาล 1 1954
มหาวิทยาลัยลุยวิลล์ 2 1980, 1986
มหาวิทยาลัยลาโยลา ชิคาโก 1 1963
มหาวิทยาลัยมาร์เคว็ต 1 1977
มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ 1 2002
มหาวิทยาลัยมิชิแกน 1 1989
มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต 2 1979, 2000
มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ 5 1957, 1982, 1993, 2005, 2009
มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต 2 1974, 1983
มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต 1 1960
มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาสเตต 2 1945, 1946
มหาวิทยาลัยออริกอน 1 1939
มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก 2 1955, 1956
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 1 1942
มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ 1 2003
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส 11 1964, 1965, 1967, 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1973, 1975, 1995
มหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส 1 1990
มหาวิทยาลัยเท็กซัส เอลแพโซ 1 1966
มหาวิทยาลัยยูทาห์ 1 1944
มหาวิทยาลัยวิลล่าโนว่า 1 1985
มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน 1 1941
มหาวิทยาลัยไวโอมิง 1 1943

อ้างอิง[แก้]

  1. Tournament History, NCAA (เรียกดูข้อมูล 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007)
  2. คำว่าภูมิภาคนี้หมายถึงสถานที่จัดแข่งขัน ทีมที่มาจากคอนเฟอร์เรนซ์เดียวกันจะถูกกระจายไปแข่งยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยพยายามไม่ให้เจอกันเองก่อนรอบแปดทีมสุดท้าย ดูที่ Principles and Procedures for Establishing the Men's Bracket (เรียกดูข้อมูล 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007)
  3. History - Past Champions (เรียกดูข้อมูล 25 ธันวาคม ค.ศ. 2007)