ไพ่นกกระจอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไพ่นกกระจอก
ประเภทของเกมMind sport
Tile-based game
Abstract strategy game
จำนวนผู้เล่น3 หรือ 4 คน
ระยะเวลาติดตั้ง1–5 นาที
ระยะเวลาเล่นขึ้นกับกฎ
โอกาสสุ่มปานกลาง
ทักษะที่จำเป็นกลวิธี, การสังเกต, ความจำ, การปรับกลยุทธ์
ไพ่นกกระจอก
"ไพ่นกกระจอก" (หมาเจี้ยง) เขียนเป็นอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม麻將
อักษรจีนตัวย่อ麻将
ชื่อดั้งเดิม/ชื่อภาษาถิ่นใต้
อักษรจีนตัวเต็ม麻雀
อักษรจีนตัวย่อ麻雀
ความหมายตามตัวอักษร"นกกระจอก"
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามmạt chược
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
마작
ฮันจา
麻雀
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ麻雀
คานะマージャン
การถอดเสียง
โรมาจิmājan

ไพ่นกกระจอก (จีนตัวเต็ม: 麻將; จีนตัวย่อ: 麻将; พินอิน: má jiàng; หรือ จีนกวางตุ้ง: 麻雀; พินอิน: má què; แต้จิ๋ว: เหมาะเจี๊ยะ moh4 ziah8; ฮกเกี้ยน: มัวเจียง; อังกฤษ Mahjong) ถือว่าเป็นการพนันชนิดหนึ่งซึ่งคนจีนเป็นผู้เผยแพร่ แต่สำหรับที่ประเทศจีนนั้นเขามีการสนับสนุนให้มีการเล่นนี้ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ได้วางไว้ โดยห้ามเล่นเกินเที่ยงคืน

ร่องรอยประวัติศาสตร์ของไพ่นกกระจอกสามารถพิสูจน์ได้ครึ่งหลัง ปี ค.ศ.1890 ใน ดินแดน Ning Po ประเทศจีน ไพ่นกกระจอกได้แพร่หลายไปทั่วจีน ซึ่งแต่ละพื้นเมืองของจีนก็มีการประยุกต์เกมกันไปต่างก็มีกฎเป็นตัวของตัวเองแตกต่างกัน หลังสงครามโลก โจเซฟ บาบคอก (Joseph Babcock) แพทย์ฝึกหัดชาวอเมริกาในเซี่ยงไฮ้ ได้จัดพิมพ์คู่มือเล่นไพ่นกกระจอกตามคำแนะนำของ Walker วิศวกรชาวอังกฤษ ว่าให้เพิ่มตัวเลขอารบิกลงไปบนตัวหมากซึ่งทำให้จำแนกตัวหมากได้และง่ายต่อการเล่น

หน้าตาไพ่และอุปกรณ์[แก้]

ไพ่นกกระจอกจะมีไพ่ทั้งหมด 5 ชุดมาตรฐานด้วยกัน ได้แก่ ชุดท้ง ชุดเสาะ ชุดบ่วง ชุดทิศทั้งสี่ และชุดมังกร ผู้เล่นไพ่นกกระจอกบางกลุ่มอาจจะมีทั้ง 7 ชุดด้วยกัน โดยชุดที่เพิ่มมานั่นคือ ชุดดอกไม้และชุดฤดูกาล

Numbers
1 2 3 4 5 6 7 8 9
ชุด ท้ง
เสาะ
บ่วง

ชุดทิศ[แก้]

ทิศ (หรือลม) มีทั้งหมด 4 ทิศ ได้แก่ ตัง (ตะวันออก), หน่ำ (ใต้), ไซ (ตะวันตก) และปัก (เหนือ) แต่ละทิศมีอย่างละ 4 ตัว รวมทั้งหมด 16 ตัว

ลม
ตะวันออก ใต้ ตะวันตก เหนือ
มังกร
แดง เขียว ขาว

ชุดดอกไม้[แก้]

มีพันธุ์ดอกไม้ด้วยกัน 4 พันธุ์ ได้แก่ พลัม กล้วยไม้ เก็กฮวยและไผ่ ชุดนี้ก็จะมีอักษรจีนเขียนกำกับไว้เช่นเดียวกัน แต่ละพันธุ์ไม้มีอย่างละ 1 ตัว รวมทั้งหมดมี 4 ตัวด้วยกัน ชุดพันธุ์ไม้นี้ผู้เล่นบางกลุ่มอาจจะไม่นับชุดนี้มาเล่น

ดอกไม้
ลำดับ รูป ชื่อ อักษรจีน ทิศ
1 ชุดดอกไม้ ตะวันออก
2 กล้วยไม้ ใต้
3 เก็กฮวย ตะวันตก
4 ไผ่ เหนือ

ชุดฤดูกาล[แก้]

มีลักษณะคล้ายๆ รูปดอกไม้ แต่มีจะมีอักษรจีนกำกับไว้ว่าเป็นฤดูอะไร จะมีฤดูด้วยกัน 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว แต่ละฤดูมีอย่างละ 1 ตัวด้วยกัน ดังนั้นจึงมีทั้งหมด 4 ตัว ชุดฤดูกาลนี้ผู้เล่นบางกลุ่มอาจจะไม่นับชุดนี้เข้ามาเล่นเช่นกัน

ลำดับ รูป ชื่อ อักษรจีน ทิศ
1 ฤดูใบไม้ผลิ ตะวันออก
2 ฤดูร้อน, ใต้
3 ฤดูใบไม้ร่วง ตะวันตก
4 ฤดูหนาว เหนือ

ลูกเต๋าและตัวกำหนดทิศ[แก้]

การเล่นไพ่นกกระจอกขาดไม่ได้เลยก็คือ ลูกเต๋า 3 ลูก และตัวกำหนดทิศ ซึ่งจะกำหนด 4 ทิศหลักเท่านั้น ซึ่งก็คือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ

โต๊ะ[แก้]

โต๊ะสี่เหลี่ยม 36×36 นิ้ว หรือแล้วแต่ตามสะดวกของผู้เล่น

วิธีการเล่น[แก้]

กฎ[แก้]

มีการกำหนดกฎก่อนการเล่น อย่างเช่น ตัวเลขมากที่สุดของคะแนนในการชนะและการชนะแบบพิเศษ

จำนวนผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่น 4 คน (2, 3 คนก็เล่นได้)

ชนะอย่างไร[แก้]

ไพ่นกกระจอกเป็นการสะสมไพ่ให้ครบ 4 กลุ่มจากการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และต้องมีคู่ไพ่ที่เหมือนกันเรียกว่า “หนั่ง” เวลาชนะผู้ชนะต้องพูด “เหมาะเจี๊ยะ”



ตัวอย่างการ “เฉ่า” จากชุด 4,5,6 ท้ง 4,5,6 บ่วง และ 4,5,6 เสาะ (บนลงล่าง)

เฉ่า[แก้]

“เฉ่า” คือเรียงลำดับตัวไพ่ในชุดเดียวกัน 3 ตัว จากไพ่ชุดใดๆ ก็ได้ เป็นการเก็บไพ่จากผู้เล่นที่มีตำแหน่งทิศสูงว่าเราซึ่งก็คือคนที่นั่งทางซ้ายมือเรา เมื่อเขาทิ้งไพ่ลงมาแล้วในมือเรามีไพ่ชุดเดียวกันในมือ 2 ตัว (ต้องเป็นการเรียงลำดับ) เราต้องพูดว่า “เฉ่า” เพื่อที่เราจะได้เก็บไพ่ขึ้นมาเป็นของเรา และต้องเปิดไพ่ที่เราเลือกนำมาเรียงเป็นลำดับด้วย 3 ตัว




ตัวอย่างการ “ผ่อง” จากชุด 8 บ่วง 5 เสาะ และ 2 ท้ง (บนลงล่าง)

ผ่อง[แก้]

“ผ่อง” คือ กลุ่มไพ่ที่มีไพ่ 3 ตัวเหมือนกันจากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ เป็นการเก็บไพ่จากที่ผู้เล่นอื่นทิ้งไพ่ลงมาสามารถเก็บได้จากผู้เล่นทุกคน การ “ผ่อง” นี้เราต้องมีไพ่แบบเดียวกันในมือ 2 ตัว เมื่อผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่แบบที่เรามีเราต้องพูดออกไปว่า “ผ่อง” แล้วเราจะเก็บไพ่ตัวนั้น (การ “ผ่อง” สามารถเก็บไพ่ข้ามต่ำแหน่งทิศได้) และต้องเปิดกลุ่มไพ่ที่เรา “ผ่อง” ด้วย

ตัวอย่างวิธี “กั่ง” ชุดมังกรตัว “ตง”


กั่ง[แก้]

“กั่ง” คือไพ่ตัวเดียวกัน 4 ตัว จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ การ “กั่ง” สามารถ “กั่ง” ได้ 2 วิธี

  • “กั่ง” เป็นการเก็บไพ่มีหลักคล้ายๆ การ “ผ่อง” คือเราต้องมีไพ่ที่เหมือนกันในมือ 3 ตัวอยู่แล้ว เมื่อผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่แบบที่เรามีในมือลงมาเราต้องพูด “กั่ง” จึงสามารถเก็บไพ่และต้องเปิดไพ่ด้วย แต่ที่แตกต่างไปจากการ “ผ่อง” คือ การ “กั่ง” สามารถจั่วไพ่เพิ่มได้อีก 1 ตัว จากไพ่ตัวสุดท้ายที่คว่ำที่อยู่แถวสุดท้าย
  • “กั่ง” โดยที่เรามีไพ่เหมือนกันอยู่แล้ว 3 ตัวในมือและเราสามารถจั่วไพ่ตัวที่ 4 ขึ้นมาได้ให้พูด “กั่ง” และเปิดไพ่ และสามารถจั่วไพ่เพิ่มได้อีก 1 ตัว จากไพ่ตัวสุดท้ายที่คว่ำอยู่แถวสุดท้าย

หนั่ง[แก้]

“หนั่ง” คือ ไพ่ 2 ตัวเหมือนกันจากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ไม่ว่าจะเป็นชุดท้ง, เสาะ, บ่วง, มังกรหรือทิศ “หนั่ง” นี้ไม่ได้เป็นหนึ่งวิธีในการเก็บไพ่ แต่มันเป็นคู่ไพ่ที่สำคัญมาก หากผู้เล่นใดสามารถสะสมไพ่ครบ 4 กลุ่มแล้วแต่หากขาดคู่ “หนั่ง” นี้ก็ยังไม่ชนะ (สามารถดูตัวอย่างได้จาก การชนะแต่ละประเภท)

การสร้างกำแพง[แก้]

  • หมายเหตุ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเล่นไพ่นกกระจอกโดยการใช้ชุดไพ่มาตรฐาน 5 ชุดด้วยกัน

นำไพ่ทั้ง 5 ชุดซึ่งได้แก่ ชุดท้ง, เสาะ, บ่วง, ทิศและมังกร มาคว่ำหน้าแล้วล้างไพ่ จากนั้นให้ผู้เล่นต่างช่วยกันสร้างกำแพงทั้งสี่ด้านขึ้นมาโดยให้ยาวด้านละ 17 ตัว 2 ชั้น (หมายถึงมีด้านบนและด้านล่างยาว 17 ตัวเท่ากัน) จากนั้นดันกำแพงที่ผู้เล่นสร้างมาไว้ด้านหน้าให้ตั้งเป็นแนวเฉียงล้อมให้เป็นกรอบสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน

ความสัมพันธ์ของผู้เล่น[แก้]

การเล่นไพ่นกกระจอกจะมีการกำหนดทิศของผู้เล่นแต่ละคนโดยในที่นี้ทิศตะวันออก (เจ้ามือ) สูงกว่าทิศใต้ ทิศใต้สูงกว่าทิศตะวันตก ทิศตะวันตกสูงกว่าทิศเหนือ และทิศเหนือสูงกว่าทิศตะวันออก

เจ้ามือ คือผู้เล่นตำแหน่งทิศตะวันออกจะมีสิทธิในการทอยลูกเต๋า เพื่อเป็นตัวกำหนดว่าจะเริ่มหยิบไพ่จากกำแพงด้านใด ตัวที่เท่าไรในเกมนั้นๆ

ตำแหน่ง[แก้]

  1. ตำแหน่งของผู้เล่นถูกกำหนดโดยทิศให้นับทวนเข็มนาฬิกาเริ่มที่ ทิศตะวันออก, ทิศใต้, ทิศตะวันตกและทิศเหนือ
  2. เมื่อผู้เล่นใดๆ คนหนึ่งชนะ (ไม่นับเจ้ามือ) ผู้เล่นในตำแหน่งทิศที่ต่ำกว่าได้เป็นเจ้ามือต่อไป และตำแหน่งทิศก็จะเปลี่ยนไป
  3. ถ้าเจ้ามือเป็นฝ่ายชนะตำแหน่งยังคงเป็นเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง

รอบและการเปลี่ยนรอบ[แก้]

การเริ่มเล่นทุกครั้งจะอยู่ที่ทิศตะวันออกเล่นให้ครบ 4 คนแล้วจึงเปลี่ยนทิศถัดไปเรื่อยๆ อย่างนี้จนถึงทิศเหนือครบสี่คนเป็นอันจบเกม (ตำแหน่งทิศของผู้เล่นก็จะเปลี่ยนไปด้วย) ไพ่นกกระจอกในการเล่นแต่ละรอบอาจจะมากกว่า 4 รอบก็ได้หากผู้ชนะเป็นคนเดิม

การเริ่มเกม[แก้]

ตั้งกำแพงเรียบร้อยแล้วให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งทอยลูกเต๋า (โยนในกำแพง) เพื่อกำหนดตำแหน่งเริ่มเกม

  • หมายเหตุ ในที่นี้ผลหน้าลูกเต๋าคือ 4
  1. กำหนดตำแหน่งเริ่มเกม สุ่มตำแหน่งเริ่มเล่นโดยการทอยลูกเต๋าแล้วนับทวนเข็มนาฬิกา เมื่อนับแล้วไปลงที่ใครคนนั้นก็เป็นทิศตะวันออก
  2. การหยิบไพ่ ขึ้นอยู่กับตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าในที่นี้สมมุติลูกเต๋าออกมาเป็น 4
    1. นับทวนเข็มนาฬิกาเริ่มจากเจ้ามือไป เมื่อไปจบที่หน้าใครก็แสดงว่ากำแพงทิศนั้นจะเป็นกำแพงที่จะหยิบไพ่ (ในที่นี้คือทิศเหนือ)
    2. ให้นับตัวไพ่ไปตามตัวเลขบนหน้าลูกเต๋าตามเข็มนาฬิกา (ผลลูกเต๋าออกมา 4 ก็นับไป 4 แล้วจึงจะเริ่มหยิบตัวที่ 5)
    3. เจ้ามือ (ผู้เล่นทิศตะวันออก) จะเป็นคนหยิบไพ่ก่อน ให้หยิบสี่ตัว (ตัว ab จะได้ไพ่ 4 ตัวเพราะมีด้านบนและด้านล่าง) จากนั้นผู้เล่นทิศใต้, ตะวันตก และทิศเหนือจะได้เป็นผู้หยิบไพ่เรียงตามลำดับ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนผู้เล่นทุกคนได้ไพ่ครบ 12 ตัว
    4. เจ้ามือเริ่มหยิบไพ่ 1 ตัว และหยิบไพ่ข้ามบล็อกไป 1 ตัว ดังภาพ ส่วนผู้เล่นคนอื่นๆ หยิบไปคนละ 1 ตัว (เวลาเล่นผู้เล่นทุกคนจะมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 13 ตัว ส่วนตัวที่ 14 ของเจ้ามือที่หยิบไพ่ขึ้นมานั้นเป็นตัวจั่ว)
    5. เจ้ามือมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 14 ตัว ผู้เล่นคนอื่นๆ มีทั้งหมด 13 ตัว
    6. ในกรณีที่ผลหน้าลูกเต๋าออกมาเป็น 17
      1. ให้เจ้ามือนับทวนเข็มนาฬิกาโดยเริ่มนับที่ตำแหน่งทิศตะวันออก เราจะเห็นได้ว่ามันจะเป็นกำแพงที่หน้าทิศตะวันออก
      2. ให้นับจากด้านขวาของกำแพงที่ 17 นับตัวไพ่ไป 17 ตัว จะเห็นว่ามันหมดกำแพงที่ 17 ไม่ต้องตกใจก็ให้หยิบไพ่ตัวถัดไปจากกำแพงถัดไปได้เลย
  3. เจ้ามือทิ้งไพ่ลงมา 1 ตัวซึ่งเป็นไพ่ที่ไม่ต้องการ จากนั้นผู้เล่นตำแหน่งทิศถัดไปจะจั่วไพ่ขึ้นมาไว้ในมือและทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการออกไป (ให้ผู้เล่นทุกคนทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการให้อยู่ในกรอบกำแพง)
  4. ไพ่ที่ไม่ต้องการของผู้อื่นอาจจะมีประโยชน์กับเรา ดังนั้นควรดูให้ดีๆ ว่าเราคอยไพ่อะไรอยู่และเขาทิ้งไพ่อะไรลงมา
    1. ตะโกน “เฉ่า” ออกไปหากผู้เล่นในตำแหน่งที่สูงกว่าเรา(ผู้เล่นที่นั่งทางซ้ายมือของเรา)ทิ้งไพ่ที่เราคอยอยู่และเราต้องเปิดไพ่ที่เรา “เฉ่า” ขึ้นมาด้วย (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “เฉ่า”)
    2. ตะโกน “ผ่อง” ออกไปหากผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่ที่เราคอยอยู่และเราต้องเปิดไพ่ที่เรา “ผ่อง” ด้วย (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “ผ่อง”)
    3. ตะโกน “กั่ง” ออกไปหากผู้เล่นใด ทิ้งไพ่ที่เรามีอยู่ในมือแล้ว 3ตัว หรือเราจั่วตัวที่ 4 ขึ้นมาได้ และเราจะได้หยิบไพ่ตัวพิเศษ (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “กั่ง”)
    4. หากผู้เล่นใดๆ ทิ้งไพ่ลงมาและมีคนร้อง “เหมาะเจี๊ยะ” ถือว่าจบเกม ผู้เล่นอื่นๆ ที่จะ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” ไม่มีสิทธิในการเก็บไพ่ตัวนั้นแล้ว ผู้ชนะจะต้องเปิดไพ่ให้ทุกคนดูด้วย และผู้เล่นคนอื่นๆ ก็จะเปิดไพ่เช่นกัน
    5. “กั่ง” มีสิทธิในการเก็บไพ่มากกว่า “เฉ่า” และ “ผ่อง” มีสิทธิในการเก็บไพ่มากกว่า “เฉ่า” (ดูคำอธิบายเพิ่มที่ ชนะอย่างไร)
  5. ถ้าไพ่ที่ทิ้งลงมามันไม่มีประโยชน์สำหรับใครก็ให้ผู้เล่นคนถัดไปจั่วไพ่ขึ้นมาจากกำแพงขึ้นมา และทิ้งไพ่ที่ไม่ต้องการออกไป
  6. เกมจะจบก็ต่อเมื่อมีคนร้อง “เหมาะเจี๊ยะ” ถ้าเจ้ามือเป็นฝ่ายชนะตำแหน่งยังคงเป็นเหมือนเดิม แต่ถ้าผู้เล่นคนอื่นเป็นฝ่ายชนะผู้เล่นในตำแหน่งทิศที่ต่ำกว่าจะได้เป็นเจ้ามือถัดไป และเป็นผู้ทอยลูกเต๋าเพื่อสุ่มตำแหน่งกำแพงต่อไป
  7. เมื่อกำแพงไพ่เหลือ 14 ตัว (7 บล็อก) เกมจะเริ่มใหม่อีกครั้งที่เจ้ามือคนเดิมและตำแหน่งทิศเดิม

การชนะ[แก้]

  1. ในการชนะทุกครั้งต้องมีคู่ “หนั่ง” คือไพ่ที่หน้าตาเหมือนกันในมือ 2 ตัว และรวมไพ่ที่เรามีจากการ “เชา” “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ยกเว้นกรณีการชนะในกรณีพิเศษ (ดูเพิ่มที่ ชนะอย่างไร: “หนั่ง”, ประเภทในการชนะในกรณีพิเศษ)
  2. ถ้าผู้เล่นสองคนต้องการไพ่ตัวเดียวกันในการชนะ ผู้เล่นในตำแหน่งที่ต่ำกว่าสิทธิก่อน (หมายถึง ผู้เล่นที่นั่งในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในการเวียนรอบ)

มือตาย[แก้]

ถ้าผู้เล่นพบว่าไพ่ในมือตนเองมีการเรียงลำดับที่ต่างกันมากตัดสินใจยากในการทิ้งไพ่ในกรณีนี้เรียกมือตาย ผู้เล่นจะไม่สามารถชนะในเกมนี้ได้และต้องรอเล่นเกมนี้ให้จบ

คะแนนพื้นฐาน[แก้]

  1. ผู้เล่นแต่ละคนจะมีชิปเท่าๆ กัน ส่วนแต่ละชิบมีค่าเท่าไรขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้เล่นเอง
  2. ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่ให้คนอื่นชนะต้องจ่ายเป็นสองเท่า
  3. ถ้าผู้เล่นสามารถชนะได้ด้วยการจั่วไพ่ขึ้นมาเอง ผู้เล่นทุกคนต้องจ่ายให้สองเท่า

การชนะแต่ละประเภท[แก้]

การชนะในการเล่นไพ่นกกระจอกนี้จะมีผู้ชนะเพียง 1 คน เท่านั้น ยกเว้นในบางกรณีที่ไม่มีผู้ชนะให้เริ่มเกมใหม่ในตำแหน่งเดิม

ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่ให้คนอื่นชนะจะต้องจ่ายเป็นสองเท่า หากผู้เล่นสามารถชนะได้ด้วยการจั่วไพ่ขึ้นมาเอง ผู้เล่นทุกคนต้องจ่ายเป็นสองเท่าให้แก่ผู้ชนะ ในกรณีที่มีผุ้ชนะ 2 คน ให้ผู้เล่นในตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในการเวียนรอบเป็นฝ่ายชนะ (ดูที่คะแนนพื้นฐาน)

เนื่องด้วยบทความนี้ไม่สนับสนุนให้เล่นเชิงการเล่นพนัน ดังนั้นจึงไม่ขอบอกว่าวิธีชนะแต่ละวิธีนั้นจะได้มากน้อยเท่าไร

  • สังเกต เวลาชนะผู้เล่นจะต้องมีไพ่อยู่ในมือทั้งหมด 14 ตัว ยกเว้นในกรณีที่ผุ้เล่นมีการ "กั่ง"

ไค่วู่[แก้]

ไค่วู่ เป็นการชนะด้วย “ผ่อง”, “เฉ่า” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้และที่สำคัญต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วย

พิงวู่[แก้]

พิงวู่ เป็นการชนะด้วย “เฉ่า” อย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะ “เฉ่า” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ และห้ามลืมคู่ “หนั่ง”

ยัดฟาน[แก้]

  • ชนะด้วย “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ใดๆ ก็ได้ แต่ต้องมี “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกรด้วยจะเป็นพันธุ์อะไรก็ได้ 1 พันธุ์ หรือไพ่ทิศซึ่งต้องถูกต้องกับรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ

  1. เหมือนกับ ไค่วู่ แต่จะแตกต่างตรงที่ผู้ชนะนั้นต้องจั่วไพ่ขึ้นมาได้เองถึงจะเป็น ยัดฟาน

เหลียงฟาน[แก้]

  • “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่ต่างๆ มีคู่ “หนั่ง” และต้องมี “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกรด้วย 2 พันธุ์ หรือไพ่ทิศที่ต้องถูกต้องจากรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ

  • เหมือนกับ ยัดฟาน แต่ผู้ชนะต้องจั่วไพ่ได้เองถึงจะเป็น เหลียงฟาน
  • เหมือนกับ พิงวู่ เพียงแต่ผู้ชนะต้องจั่วไพ่ได้เองถึงจะนับว่าเป็น เหลียงฟาน

ซัมฟาน[แก้]

  • ชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง หรือ “กั่ง” จากชุดไพ่เดียวกัน และคู่ “หนั่ง” ต้องมาจากชุดมังกร 1 พันธุ์ หรือไพ่ทิศที่ถูกต้องจากรอบทิศหรือถูกต้องจากทิศตำแหน่งผู้ชนะ

  • เป็นการชนะด้วยการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากไพ่ใดๆ ก็ได้ เป็นจำนวน 3 กลุ่ม และ “ผ่อง” หรือ “เฉ่า” ก็ได้จำนวนอีก 1 กลุ่ม ห้ามลืมคู่ “หนั่ง” จากไพ่ชุดใดๆ ก็ได้ (หากเป็นการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากไพ่ชุดมังกรทั้ง 3 พันธุ์, “ผ่อง” หรือ “เฉ่า” ก็ได้อีกจำนวน 1 กลุ่ม และคู่ “หนั่ง” เป็นอะไรก็ได้ ให้ไปดูที่ วิธีการชนะในกรณีพิเศษไทซัมเหยิน)

เซฟาน[แก้]

เหมือนกับ ซัมฟาน นอกจากผู้ชนะต้องจั่วไพ่ขึ้นมาได้เองถึงจะเป็น เซฟาน

งี่ฟาน[แก้]

  • ผู้เล่นชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และคู่ “หนั่ง” มาจากไพ่ชุดเดียวกันทั้งหมด และสามารถรวม 2 กลุ่ม จากการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” จากชุดมังกร 2 พันธุ์ หรือไพ่ทิศซึ่งจะต้องถูกต้องจากรอบทิศและทิศตำแหน่งที่นั่งของผู้ชนะ

  • ชนะด้วยการ “เฉ่า”, “ผ่อง” หรือ “กั่ง” และคู่ “หนั่ง” มาจากไพ่ชุดเดียวกันทั้งหมด

ประเภทการชนะในกรณีพิเศษ[แก้]

ผู้ที่เล่นไพ่นกกระจอกและสามารถชนะผู้อื่นได้ 4 ประเภทต่อไปนี้ถือว่าเป็นบุญของนักเล่นมาก เพราะการชนะผู้อื่นด้วย 4 ประเภทนี้ถือได้ว่ามีโอกาสน้อยมาก

ซับซัมหยิว[แก้]

ซับซัมหยิว จะชนะด้วยประเภทนี้จะต้องมีหนึ่งกับเก้าในแต่ละชุด (1,9 ชุดท้ง 1,9 ชุดเสาะ 1,9 ชุดบ่วง) มังกรสามพันธุ์ ทิศทั้งสี่ และในประเภทนี้คู่ “หนั่ง” เป็นตัวอะไรก็ได้ที่ในมือเรามี

เชียงหยิว[แก้]

เชียงหยิว ส่วนมากเป็นการชนะด้วย “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” หนึ่งและเก้าจากทุกชุด และต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วยซึ่งต้องเป็นหนึ่งหรือเก้าเท่านั้น

ไทซัมเหยิน[แก้]

ไทซัมเหยิน ชนะด้วยการ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ชุดมังกรทั้งสามพันธุ์ มีคู่ “หนั่ง” ส่วนอีกสามตัวที่เหลือจะเป็นการ “ผ่อง/ กั่ง/ เฉ่า” ก็ได้

ไทเซเห[แก้]

ไทเซเห เป็นการชนะด้วยชุดทิศซึ่งผู้เล่นสามารถ “ผ่อง” และ/หรือ “กั่ง” ก็ได้ และที่สำคัญต้องมีคู่ “หนั่ง” ด้วยจะเป็นอะไรก็ได้

อ้างอิง[แก้]