ไผ่ ลิกค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไผ่ ลิกค์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดกำแพงเพชร เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(12 ปี 293 วัน)
ก่อนหน้า
คะแนนเสียง36,187 (37.33%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 เมษายน พ.ศ. 2521 (46 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2553–2561)
พลังประชารัฐ (2561–2565,2566–ปัจจุบัน)
เศรษฐกิจไทย (2565–2566)
บุพการี

ไผ่ ลิกค์ (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขต 1 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเศรษฐกิจไทย

ประวัติ[แก้]

ไผ่ ลิกค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2521 เป็นบุตรของนายเรืองวิทย์ ลิกค์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงและสมาชิกบ้านเลขที่ 111 กับนางปราณี ลิกค์ (นามสกุลเดิม: โชติรัชต์กุล) มีน้องชาย คือ นาย ภูผา ลิกค์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อแรกสำเร็จการศึกษาได้กลับมาสานต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของครอบครัว แต่ด้วยความที่ชอบเครื่องจักรและยานยนต์มาตั้งแต่เด็ก จึงได้คิดเริ่มขยายธุรกิจมายังแวดวงรถยนต์และเต๊นท์รถมือสอง

ที่มาของชื่อ "ไผ่ วันพอยท์"นั้น ปรากฏชื่อเข้าร่วมแข่งขันอยู่ในวงการมอเตอร์สปอร์ตมากหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการแข่งเซอร์กิต, แดร๊ก, ดริฟท์หรือยิมคาน่า โดยนายไผ่เป็นหนึ่งในนักแข่งของทีมวันพอยท์ จึงเป็นที่มาของฉายา ไผ่ วันพอยท์[1]

งานการเมือง[แก้]

หลังจากที่บิดาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองพร้อมกับกลุ่มบ้านเลขที่ 111 ไผ่ จึงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครอีกครั้งและได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะนายสุขวิชชาญ มุสิกุล บุตรชายนายปรีชา มุสิกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าดำรงตำแหน่งโฆษกคณะกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎร

ในวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ไผ่ ได้ย้ายมาสังกัด พรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 กระทั่งวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[2]

ในปี 2565 เขาพร้อมกับสมาชิกพรรคพลังประชารัฐจำนวนหนึ่ง ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย และเขารับตำแหน่งเลขาธิการพรรค แต่ในที่สุดในปี 2566 สมาชิกกลุ่มดังกล่าวก็ย้ายกลับมาสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เช่นเดิม

ในปี 2566 ไผ่ได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคพลังประชารัฐ แต่ในคณะรัฐมนตรีเศรษฐา 1 ยังไม่ปรากฏว่ามีชื่อของเขาในตำแหน่งรัฐมนตรี[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ไผ่ ลิกค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐพรรคเศรษฐกิจไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

ข่าวในสังคม[แก้]

ไผ่ ลิกค์ ตกเป็นข่าวดังพาดหัวหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) เชิญตัวเข้าให้ข้อมูลถึงกรณีที่มารถลัมโบร์กีนี อะเวนตาโดร์ คันต้องสงสัย ที่นายไผ่ได้เกี่ยวข้องในการร่วมเป็นนายหน้ากับเพื่อนของตน ประสานให้ผู้ซื้อมาดูรถคันดังกล่าว

นายไผ่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ในทางปรกติเมื่อมีความต้องการซื้อในสินค้าประเภทรถยนต์ที่ตนดำเนินธุรกิจอยู่ และตนเองมีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบสภาพรถซุปเปอร์คาร์ ตนจึงได้เสาะหาซุปเปอร์คาร์และได้ข้อสรุปจนมาแนะนำรถลัมบอร์กินี่รุ่นและราคาที่ใกล้เคียงกันให้เลือก 3 คัน ปัจจุบันแม้รถคันตามข่าวจะมีการเปลี่ยนมือกัน แต่ตนก็ยังไม่ได้รับค่านายหน้าหรือผลประโยชน์ใดใดตอบแทนแม้แต่น้อย สามารถตรวจสอบได้ ตนเพิ่งรู้จักชื่อนายไซซะนะและทราบว่ารถยนต์คันนี้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวพันกับขบวนการฟอกเงินและการค้ายาเสพติดก็เป็นเวลาเดียวกับคนทั้งประเทศในเวลานี้" นายไผ่กล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ข่าวสด, ไผ่ ลิกค์ / สุขวิชชาญ มุสิกุล
  2. 'บิ๊กป้อม'ร่วมครั้งแรก พปชร.ถกใหญ่ เพิ่ม 17 กก.บห. 'สุริยะ'นอนมาจากร.พ.
  3. หลุดโผ ครม. 2 คน “พิชิต ชื่นบาน-ไผ่ ลิกค์”
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]