ไซเดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซเดอร์หนึ่งแก้ว

ไซเดอร์ (อังกฤษ: cider) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หมักทำจากน้ำแอปเปิลไม่กรอง ปริมาณแอลกอฮอล์ในไซเดอร์แปรผันตั้งแต่ 1.2% แอลกอฮอล์โดยปริมาตรถึง 8.5% หรือกว่านั้นในไซเดอร์อังกฤษ และ 3.5% ถึง 12% ในไซเดอร์ภาคพื้นทวีป[1] ตามกฎหมายสหราชอาณาจักร ไซเดอร์ต้องมีน้ำแอปเปิล (สดหรือจากเข้มข้น) อย่างน้อย 35%[2] แม้กลุ่มรณรงค์เพื่อเอลจริง (Campaign for Real Ale, CAMRA) ระบุว่า "ไซเดร์จริง" ต้องมีน้ำแอปเปิลสดอย่างน้อย 90%[3] ในสหรัฐอเมริกา มีขั้นต่ำ 50%[4] ในประเทศฝรั่งเศส ไซเดอร์ต้องทำจากแอปเปิลอย่างเดียว[5] ในปี 2557 การศึกษาโดย เดอะเดลีเทเลกราฟ พบว่า ไซเดอร์ตลาดหนึ่งไพนต์ (บัลเมอส์) มีน้ำตาลห้าช้อนชา (20.5 ก.) เกือบเท่าการแนะนำปริมาณบริโภคน้ำตาลเติม (added sugar) ต่อวันของผู้ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก และเป็น 5–10 ของปริมาณน้ำตาลในลาเกอร์หรือเอล[6]

ในสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของแคนาดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งอภิปรายในบทความนี้โดยทั่วไปเรียก "ไซเดอร์แรง" (hard cider) ส่วน "ไซเดอร์" โดยทั่วไปหมายถึง น้ำแอปเปิลไม่กรองไม่มีแอลกอฮอล์ซึ่งมีรสหวาน ๆ เปรี้ยว ๆ ต่างออกไป การเติมน้ำตาลหรือผลไม้เพิ่มก่อนการหมักครั้งที่สองเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มผลลัพธ์ เครื่องดื่มแอปเปิลซึ่งมีแอลกอฮอล์โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า (>10%) คือ "ไวน์แอปเปิล"[7][8]

สามารถน้ำแอปเปิลหลายชนิดทำไซเดอร์ แต่พันธุ์ปลูกเฉพาะที่ปลูกเพื่อทำไซเดอร์เรียก แอปเปิลไซเดอร์[9] ไซเดอร์ได้รับความนิยมในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวสต์มิดแลนส์ เซาท์เวสต์อิงแลนด์และอีสต์แองเกลีย และมีอยู่ในมุมของประเทศ สหราชอาณาจักรมีการบริโภคต่อหัวสูงสุด และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทผู้ผลิตไซเดอร์ใหญ่ ๆ ของโลก[10] ซึ่งรวมเอช. พี. บัลเมอร์ บริษัทใหญ่สุด[11] ในปี 2549 สหราชอาณาจักรผลิตไซเดอร์ 600 ล้านลิตรต่อปี[12]

เครื่องดื่มดังกล่าวยังเป็นที่นิยมและเป็นของพื้นเมืองในประเทศยุโรปอื่นอย่างประเทศไอร์แลนด์ ฝรั่งเศสตอนเหนือ (โดยเฉพาะเบรอตาญและนอร์ม็องดี) สเปนตอนเหนือ และบาสก์คันทรี (Basque Country) ยุโรปกลางยังมีไซเดอร์ประเภทของตัวโดยเฉพาะ ชาวเยอรมันในไรน์แลนด์-พาลาทิเนตและฮัสเซอ (ฟรังค์ฟุร์ทอัมไมน์) ดื่ม เช่นเดียวกับประเทศโปแลนด์ ประเทศผู้ผลิตแอปเปิลใหญ่สุดของทวีปยุโรป

ประเทศอาร์เจนตินายังเป็นประเทศผู้ผลิตและดื่มไซเดอร์ โดยเฉพาะจังหวัดเรียวเนโกรและเมนโดซา ประเทศออสเตรเลียยังผลิตไซเดอร์ โดยเฉพาะเกาะแทสเมเนีย ซึ่งมีประเพณีปลูกแอปเปิลอย่างยาวนาน

ผลิตภัณฑ์คล้ายกันซึ่งทำจากน้ำแพร์ เรียก เพอร์รี (perry) หรือบ้างเรียก ไซเดอร์แพร์ แม้บางคนไม่ยอมรับการใช้คำนี้[13] บางองค์การ (อย่าง CAMRA) แย้งว่าคำว่า "ไซเดอร์แพร์" ทำให้ทั้งไซเดอร์และเพอร์รีเสียหาย[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Martin Dworkin, Stanley Falkow (2006). The Prokaryotes: Proteobacteria: alpha and beta subclasses. Springer. p. 169. ISBN 9780387254951. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
  2. "Consider cider". The Guardian. 9 August 2011. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  3. 3.0 3.1 Paul Gallagher (25 November 2012). "Pear cider boom angers purists". The Independent. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  4. Badeker, Andy (13 November 2002). "Crush on cider". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  5. Blenkinsop, Philip (20 December 2012). "Insight: Cider, the golden apple of brewers' eyes". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  6. Malnick, Edward (29 March 2014). "Hidden levels of sugar in alcohol revealed". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tax
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Brown
  9. Lea, Andrew. "The Science of Cidermaking Part 1 - Introduction". สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
  10. "National Association of Cider Makers". สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
  11. Bowers, Simon (2006-06-26). "Bulmers to take on Magners in a cider decider". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2006-06-20.
  12. "Interesting Facts". National Association of Cider Makers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 24 February 2009.
  13. Huddleston, Nigel (2008-04-24). "Pear Perception". Morning Advertiser. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 1 May 2009.

อ้างอิง[แก้]

  • Cider ที่เว็บไซต์ Curlie