ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
中国东方航空公司
Zhōngguó Dōngfāng Hángkōng Gōngsī
China Eastern Airlines
IATA ICAO รหัสเรียก
MU CES CHINA EASTERN
ก่อตั้ง25 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (35 ปี)
ท่าหลัก
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์อีสเทิร์นไมล
พันธมิตรการบินสกายทีม
ขนาดฝูงบิน486
จุดหมาย217
สำนักงานใหญ่ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว
เซี่ยงไฮ้, สาธารณรัฐประชาชนจีน
บุคลากรหลักLiu Shaoyong (Chairman)
เว็บไซต์global.ceair.com
China Eastern Airlines and Shanghai Airlines headquarters

ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (จีนตัวย่อ: 中国东方航空股份有限公司 or 中国东航; จีนตัวเต็ม: 中國東方航空; พินอิน: zhōngguó dōngfāng hángkōng gǔfèn yǒuxiàn gōngsī) เป็นสายการบินที่ให้บริการทั้งเส้นทางภายในประเทศ และเส้นทางระหว่างประเทศ โดยมีฐานการบินหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง และท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และยังมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติคุนหมิงอูเจียป้า และท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง

ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของจีน เมื่อนับจากจำนวนผู้โดยสาร และเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.2010 ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ได้ประกาศตัวเข้าเป็นสามชิกของกลุ่มสกายทีม

ประวัติ[แก้]

สายการบินไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1988 ภายใต้คณะกรรมการการบินพลเรือนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และควบรวมกิจการกับไชนาเจเนอรัลเอวิชัน และกลายเป็นสายการบินแห่งแรกของจีนที่เปิดขายหุ้นในตลาดระหว่างประเทศ รวมทั้งก่อตั้งสายการบินขนส่งสินค้า คือ ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์ เพื่อทำกิจการขนส่งสินค้าร่วมกับไชนาโอเชียนชิปปิงคอมพานี ในปีค.ศ.1998 และในปีค.ศ.2001 ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ได้ครอบครองกิจการของเกรทวอลล์แอร์ไลน์ อีกทั้งสายการบินไชนายูนนานแอร์ไลน์ และไชนานอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ก็รวมกิจการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ในปีค.ศ.2003

ปัจจุบันรัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ โดยมีสัดส่วนถือครองหุ้น 61.64 %

ฝูงบิน[แก้]

ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์เป็นลูกค้ารายใหญ่ของแอร์บัส

ฝูงบินของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ข้อมูลเมื่อ มีนาคม 2022 ประกอบไปด้วยเครื่องบินดังต่อไปนี้

ฝูงบินของไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
เครื่องบิน จำนวน สั่งซื้อ ความจุผู้โดยสาร
P J W Y รวม
แอร์บัส เอ 319-100 35 8 114 122
แอร์บัส เอ 320-200 177 8 150 158
แอร์บัส เอ320นีโอ 71 8 18 132 158
แอร์บัส เอ 321-200 77 20 155 175
12 166 178
12 170 182
แอร์บัส เอ 330-200 30 30 202 232
30 204 234
24 240 264
แอร์บัส เอ 330-300 25 32 32 230 294
38 262 300
แอร์บัส เอ 350-900 12 8 4[1] 36 32 216 288
โบอิง 737-700 39 8 126 134
140 140
โบอิง 737-800 108 20 138 158
12 150 162
8 162 170
8 18 150 176
18 168 186
โบอิง 737 MAX 8 3 47 8 18 150 176
โบอิง 777-300ER 20 6 52 258 316
โบอิง 787-9 3 2 4[2] 26 28 227 285
Comac ARJ21-700 35[3] รอประกาศ
Comac C919 20 รอประกาศ
รวม 600 112

อุบัติการณ์และอุบัติเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "China Eastern Airbus A350 to fly Sydney-Shanghai from March 31". Executive Traveller (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
  2. "China Eastern Boeing 787 brings business class suites to Melbourne". Executive Traveller (ภาษาอังกฤษ). 8 January 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
  3. "China's top airlines to buy ARJ21 jets from COMAC". reuters.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2019. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  4. Hijacking description at the Aviation Safety Network
  5. "ASN Aircraft accident Antonov 24RV B-3417 Shanghai-Hongqiao Airport". Aviation-safety.net. 15 August 1989. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-04-28.
  6. "ASN Aircraft accident MD-11 B-2173 Shanghai-Hongqiao Airport". Aviation-safety.net. 10 September 1998. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
  7. Accident description for B-3052 at the Aviation Safety Network
  8. "A 737 crashed in China. What we know about the plane". CNN. 2021-03-22. สืบค้นเมื่อ March 23, 2022.
  9. "Boeing 737 plane crashes in China's southern Guangxi with 132 people on board". SCMP. 2021-03-21. สืบค้นเมื่อ March 23, 2022.