หมาป่าไคโยตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไคโยตี)

ไคโยตี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: กลางสมัยไพลสโตซีน – ปัจจุบัน (0.74–0.85 Ma)[1]
ไคโยตีภูเขา (C. l. lestes)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
วงศ์: Canidae
สกุล: Canis
Say, 1823[3]
สปีชีส์: Canis latrans
ชื่อทวินาม
Canis latrans
Say, 1823[3]
Modern range of Canis latrans
ชื่อพ้อง[4]
รายการ
    • Canis andersoni Merriam, 1910
    • Canis caneloensis Skinner, 1942
    • Canis clepticus Eliot, 1903
    • Canis estor Merriam, 1897
    • Canis frustror Woodhouse, 1851
    • Canis goldmani Merriam, 1904
    • Canis hondurensis Goldman, 1936
    • Canis impavidus Allen, 1903
    • Canis irvingtonensis Savage, 1951
    • Canis jamesi Townsend, 1912
    • Canis lestes Merriam, 1897
    • Canis mearnsi Merriam, 1897
    • Canis microdon Merriam, 1897
    • Canis nebrascensis Merriam, 1898
    • Canis ochropus Eschscholtz, 1829
    • Canis orcutti Merriam, 1910
    • Canis pallidus Merriam, 1897
    • Canis peninsulae Merriam, 1897
    • Canis riviveronis Hay, 1917
    • Canis vigilis Merriam, 1897
    • Lyciscus cagottis Hamilton-Smith, 1839

ไคโยตี (สำเนียงอเมริกัน: /kaɪˈoʊt̬i/, kaɪˈoʊt) หรือ โคโยตี (สำเนียงบริเตน: /kɔɪˈəʊti/) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นหมาป่าชนิดหนึ่ง ในตระกูลหมาใกล้เคียงกับหมาบ้าน หมาป่าไคโยตีมักออกล่าเหยื่อเดี่ยว และในบางครั้งอาจพบเจออยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ช่วงชีวิตของหมาป่าไคโยตีประมาณ 6 ปี อยู่อาศัยบริเวณทุ่งราบ และพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ หมาป่าไคโยตีถูกพบเจอครั้งแรกบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และแถบคอสตาริกา ซึ่งภายหลังหมาป่าไคโยตีได้ขยายดินแดนขึ้นมาทางอเมริกาเหนือ

ประวัติ[แก้]

ไคโยตีได้รับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดย นักธรรมชาติวิทยา โทมัส เซย์ (Thomas Say) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1819 ที่บริเวณของลูอิสและคลาร์กในเมืองเคาน์ซิลบลัฟส์ ทวนน้ำขึ้นไป 15 ไมล์ (24 กม.) จากบริเวณแม่น้ำมิสซูรีบรรจบปากแม่น้ำเพรตต์ ระหว่างการสำรวจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล กับพันตรีสตีเฟน ลอง ขณะนั้นเขามีวารสาร ลูวิสและคลาร์ก (Lewis and Clark) ฉบับพิมพ์ครั้งแรกอยู่ในมือ ซึ่งมีข้อสังเกตของลูวิส ฉบับแก้ไขโดยบิดเดิล (Biddle) ลงวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1805 รายงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1823 เขาเป็นบุคคลแรกที่จัดทำเอกสารแสดงความแตกต่างระหว่าง "Prairie wolf" (ไคโยตี) และหมาป่า (Great Plains wolf) ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อว่า Canis nubilus ในหน้าถัดไปของบันทึกประจำวัน[3][5]

ชื่อ[แก้]

ชื่อ "ไคโยตี" เป็นภาษาสเปนคำว่า โคโยเต coyote ที่มาจากประเทศเม็กซิโก ที่ยืมต่อมาจาก ภาษานาวัตล์ ของชาวแอซเทค คำว่า "coyōtl, [ˈkojoːtɬ] (ออกเสียง)" ที่หมายถึง สุนัขร้องเพลง

รูปร่างลักษณะ[แก้]

โครงกระดูกของไพลสโตซีน ไคโยตี (Pleistocene coyote (C. l. orcutti) )
หมาป่าไคโยตีหันด้านข้าง
กะโหลก

ขนของหมาป่าไคโยตีมีอยู่หลายสี ข้างบนมีตั้งแต่สีน้ำตาลอมเทาจนถึงสีเทาอมเหลือง ส่วนตรงลำคอและท้องมักมีน้ำตาลเหลือง หรือ สีขาว ขาหน้า ข้างหัว ปาก และ เท้า มักมีสีน้ำตาลอมแดง ขนสั้นตรงหลังมักมีสีเหลืองเข้ม ปลายสีดำ ซึ่งทำให้มีลายสีดำกลางหลัง ไหล่มักมีสีเข้มเป็นเส้นขวาง ต่อมกลิ่นอยู่ตรงปลายหางมักเป็นสีดำ หมาป่าไคโยตีสลัดขนปีละครั้ง โดยเริ่มจากเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สลัดขนบาง จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สลัดขนมากกว่า หมาป่าไคโยตีมีหูขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของหัว ส่วนเท้ามีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของลำตัว[6]นักวิชาการหลายคนสังเกตว่ากระดูกหุ้มสมองของหมาป่าไคโยตีมีขนาดที่ใกล้เคียงกระดูกหุ้มสมองของหมาบ้านมากกว่ากระดูกหุ้มสมองของหมาป่า หมาป่าไคโยตีที่อาศัยอยู่ตามภูเขามักมีขนที่สีเข้มว่าหมาป่าไคโยตีที่อาศัยอยู่ตามทะเลทราย[7]

หมาป่าไคโยตีมีลำตัวยาวประมาณ 76–86 เซนติเมตร โดยไม่รวมหางซึ่งยาวประมาณ 30–41 เซนติเมตร ยืนสูงประมาณ 58–66 เซนติเมตร โดยวัดจากเท้าถึงไหล่ มีน้ำหนักประมาณ 6.8–20.9 กิโลกรัม[8][9] หมาป่าไคโยตีพันธุ์ภาคเหนือมักตัวใหญ่กว่าหมาป่าไคโยตีพันธุ์ภาคใต้ โดยมีน้ำหนักหนักสุดคือ 33.91 กิโลกรัม ความยาวทั้งสิ้น 1.75 เมตร [10][11]

พฤติกรรม[แก้]

ส่วนมากฝูงหนึ่งมักมีหมาป่าไคโยตีที่อายุใกล้กันไม่ว่าจะโตเต็มตัวหรือกำลังเติบโตประมาณ 6 ตัว ฝูงหมาป่าไคโยตีส่วนใหญ่มักมีจำนวนน้อยกว่าฝูงหมาป่า และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกมักไม่มั่นคงเท่าความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของฝูงหมาป่า[12] ซึ่งทำให้พฤติกรรมทางสังคมของหมาป่าไคโยตีใกล้เคียงกับหมาป่าดิงโกมากกว่า[13]

การสื่อสาร[แก้]

เสียงร้องของหมาป่าไคโยตีเป็นเสียงที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเห่าหรือหอน เสียงดั่งกล่าวอาจเป็นเสียงยาวจากต่ำไปสูงหรือจากสูงไปต่ำ (เวลาหอน) มักใช้เสียงนี้ยามกลางคืนหรือหัวค่ำ แต่บางครั้งก็อาจหอนยามกลางวัน มักใช้เสียงเหล่านี้ในยามฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นฤดูผสมพันธุ์ และในยามฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นยามที่ลูกหมาป่าไคโยตีต้องจากลาจากครอบครัวเพื่อไปตั้งรากฐานใหม่เป็นของตัวเอง หมาป่าไคโยตีมักร้องเป็นเสียงสูงเมื่อเรียกฝูงตนมารวมตัว ฝูงหมาป่าไคโยตีจะหอนเสียงสูงขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมารวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่

ในสื่ออื่น[แก้]

ในการ์ตูนเรื่องไวลี อี. ไคโยตี และโรด รันเนอร์ ไวลี อี. ไคโยตี เป็นหมาป่าไคโยตีที่ต้องวิ่งไล่จับนกโรด รันเนอร์แต่ไม่เคยสำเร็จ

ในภาพยนตร์เรื่อง โคโยตี้ อั๊กลี่ บาร์ห้าวสาวฮ็อต (Coyote Ugly) ลิล (เจ้าของบาร์) ได้ตั้งชื่อร้านตามคำสแลง ในภาษาอังกฤษจากคำว่า "coyote ugly" หมายถึง คนที่น่าเกลียดมาก ใช้กับเหตุการณ์ที่ผู้ชายหรือผู้หญิงตื่นขึ้นมาจากการร่วมหลับนอนกับคนที่เพิ่งพบกัน และสังเกตเห็นว่าคู่นอนหน้าตาน่าเกลียดมาก ไม่เหมือนกับตอนก่อนหลับนอนกัน และพยายามที่จะหนีแม้ว่าจะต้องตัดแขนตัวเองให้ขาด เปรียบเทียบกับ หมาป่าไคโยตีเมื่อเวลาติดกับดักจะพยายามดึงขาตัวเองให้หลุดออกจากกับดัก แม้ว่าขาจะขาดก็ตาม

ศัตรูของหมาป่าไคโยตี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tedford, Wang & Taylor 2009, p. 131.
  2. Sillero-Zubiri; Hoffmann (2008). "Canis latrans". IUCN Red List of Threatened Species. 2008: e.T3745A163508579. สืบค้นเมื่อ May 5, 2008.
  3. 3.0 3.1 James, Edwin; Long, Stephen H.; Say, Thomas; Adams, John (1823). Account of an expedition from Pittsburgh to the Rocky Mountains, performed in the years 1819 and '20. Vol. 1. London: Longman, Hurst, Pees, Orre, & Brown. pp. 168–174.
  4. "Canis latrans". Fossilworks.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
  5. Mussulman, Joseph (November 2004). "Thomas Say: Canis latrans". Discovering Lewis & Clark. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2013. สืบค้นเมื่อ 15 January 2013.
  6. "Canis latrans". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ August 15, 2007.
  7. "Coyote". Lioncrusher's Domain. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-03. สืบค้นเมื่อ August 15, 2007.
  8. "Canis latrans". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ August 15, 2007.
  9. Coyote (Canis latrans). University of Washington, Olympic Natural Resources Center
  10. "Coyote". Replay.web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-18. สืบค้นเมื่อ 2013-09-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. Boitani, Luigi, Simon & Schuster's Guide to Mammals. Simon & Schuster/Touchstone Books (1984), ISBN 978-0-671-42805-1.
  12. Macdonald, David (1984). The Encyclopedia of Mammals: 1. London: Allen & Unwin. p. 446. ISBN 0-04-500028-X.
  13. Domestication: the decline of environmental appreciation by Helmut Hemmer, translated by Neil Beckhaus, Edition: 2, illustrated. Published by Cambridge University Press, 1990. ISBN 0-521-34178-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Coyote