ไข่มุกเลี้ยง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไข่มุกจากการเลี้ยง

ไข่มุกเลี้ยง (อังกฤษ: Cultured pearl) หมายถึงไข่มุกที่มีผู้เลี้ยงขึ้นมาภายใต้สภาพแวดล้อมที่ได้รับการควบคุม

การพัฒนาของไข่มุก[แก้]

ไข่มุกเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อปลายยอดชั้นนอกได้รับความเสียหายจากปรสิต, จากการกัดกินของปลาหรือเหตุการณ์อื่นซึ่งสร้างความเสียหายแก่บริเวณขอบที่อ่อนแอของเปลือกสัตว์จำพวกพวกหอยชั้น Bivalvia หรือแกสโทรโพดา เนื้อเยื่อปลายยอดชั้นนอกจึงตอบสนองโดยการหลั่งน้ำมุกเข้าไปเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้น ในทางเคมี สารที่หลั่งออกมานี้เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและเส้นใยโปรตีนที่เรียกว่า คอนชิโอลิน เมื่อน้ำมุกถูกสร้างขึ้นในชั้นของอะราโกไนต์บาง ๆ แล้ว มันจะสะสมถุงไข่มุกจนกระทั่งเติบโตขึ้นเป็นไข่มุก โดยมีการเล่ากันว่าเม็ดทรายสามารถก่อให้เกิดไข่มุกได้ อย่างไรก็ตาม น้ำมุกจะไม่หลั่งออกมาเคลือบสิ่งไม่มีชีวิตแต่อย่างใด

ไข่มุกตามธรรมชาติหมายถึงไข่มุกซึ่งเกิดขึ้นเองในธรรมชาติ ซึ่งมีโอกาสน้อย ตรงกันข้ามกับไข่มุกเลี้ยง ซึ่งเป็นการเกิดไข่มุกโดยอาศัยการช่วยเหลือของมนุษย์ คือ การใส่เนื้อเยื่อของหอย จากนั้นถุงมุกจะก่อตัวขึ้น และแคลเซียมคาร์บอเนตจะตกตะกอนในรูปของน้ำมุก

อุตสาหกรรมไข่มุก[แก้]

ไข่มุกเลี้ยงสมัยใหม่ส่วนมากมักเป็นผลมาจากการค้นพบในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น มิเซะและนิชิกาวา ถึงแม้ว่าในการเพาะเลี้ยงบางครั้งจะยาวนานจนสามารถกระตุ้นให้สัตว์พวกหอยสามารถผลิตไข่มุกได้โดยมนุษย์ แต่ไข่มุกประเภทนี้มักบวมพองมากกว่าจะกลม วิธีการที่มิเซะและนิชิกากวาค้นพบนั้นเป็นเทคนิคเฉพาะในการชักนำให้เกิดการผลิตไข่มุกกลมภายในอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์จำพวกหอย ซึ่งเทคนิคนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรโดยโคกิชิ มิกิโมโตไม่นานหลังจากนั้น และผลผลิตรอบแรกผลิตเสร็จในปี ค.ศ. 1916

ทุกวันนี้ไข่มุกมากกว่า 99% ที่ขายกันอยู่ทั่วโลกเป็นไข่มุกเลี้ยง

ไข่มุกเลี้ยงสามารถแยกแยะจากไข่มุกธรรมชาติได้โดยการใช้รังสีเอกซ์ โดยการมองนิวเคลียสภายในไข่มุก

ดูเพิ่ม[แก้]

ไข่มุก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]