โฆเซ เด ซาน มาร์ติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โฮเซ เด ซาน มาร์ติน)
โฆเซ เด ซาน มาร์ติน
Portrait of José de San Martín, raising the flag of Argentina
ผู้พิทักษ์แห่งเปรู
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม 1818 – 20 กันยายน 1822
ถัดไปFrancisco Xavier de Luna Pizarro
ผู้สถานปนาอิสรภาพและเอกราช , บิดาแห่งสาธารณรัฐ, ผู้พิทักษ์แห่งเปรู และจอมพลสูงสุดแห่งกองทัพ
(ad honorem)
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม 1818 – 17 สิงหาคม 1850 (เสียชีวิต)
ผู้ว่าราชการแห่งกูโย
ดำรงตำแหน่ง
10 สิงหาคม 1818 – 24 กันยายน 1818
ก่อนหน้าMarcos González de Balcarce
ถัดไปToribio de Luzuriaga
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1778(1778-02-25)
ยาเปยู, คอร์เรียนเตส, เขตอุปราชแห่งรีโอเดลาปลาตา (ปัจจุบัน ประเทศอาร์เจนตินา)
เสียชีวิต17 สิงหาคม ค.ศ. 1850(1850-08-17) (72 ปี)
บูลง-ซูร์-แมร์, ประเทศฝรั่งเศส
เชื้อชาติอาร์เจนตินา
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองPatriot
คู่สมรสMaría de los Remedios de Escalada y la Quintana
บุตรMaría de las Mercedes Tomasa de San Martín y Escalada
วิชาชีพทหาร
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
ประจำการ1789–1822
ยศนายพลแห่งอาร์เจนตินา, ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งชิลีและเปรู
บังคับบัญชากรมทหารภูเขากรานาเดโรส, กองทัพจากตอนเหนือ, กองทัพแอนดีส, กองทัพบกชิลี
ผ่านศึกสงครามประสานมิตรครั้งที่สอง
War of the Oranges
สงครามคาบสมุทร

สงครามประกาศเอกราชลาตินอเมริกา

อนุสาวรีย์ที่เมืองกัวยากิล ที่ซึ่งโฆเซ เด ซาน มาร์ติน มาพบกับซิมอน โบลิบาร์ เป็นครั้งแรก

โฆเซ ฟรันซิสโก เด ซาน มาร์ติน มาตอร์รัส หรือ โฆเซ เด ซาน มาร์ติน (สเปน: José Francisco de San Martín Matorras หรือ José de San Martín) (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2321 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2393) เป็นนายพลชาวอาร์เจนตินาผู้ซึ่งเป็นผู้นำในการประกาศเอกราชอเมริกาใต้ตอนล่าง (อาร์เจนตินา, ชิลี, และเปรู) จากประเทศสเปน

ประวัติ[แก้]

ชีวิตวัยเด็ก[แก้]

โฆเซ เด ซาน มาร์ตินเป็นบุตรคนที่ 5 และคนสุดท้องของฆวน เด ซาน มาร์ติน และเกรกอเรีย มาร์ตอร์รัส เดล เซอร์ เกิดที่เมืองยาเปยู จังหวัดคอร์เรียนเตส ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินาในปัจจุบัน มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับปีเกิดที่แท้จริงของเขา เช่นเดียวกับการเข้าพิธีศีลล้างบาปที่ไม่มีบันทึกไว้ ต่อมาเอกสารอื่น เช่น หนังสือเดินทาง, บันทึกการแต่งงาน, และบันทึกการเป็นทหาร บ่งชี้ว่าปีเกิดของซาน มาร์ตินนั้นอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1777-1778 เมื่อซาน มาร์ตินอายุได้ 3-4 ปี ครอบครัวของเขาย้ายไปยังบัวโนสไอเรส

ในปี ค.ศ. 1783 ฆวน พ่อของเขาได้รับคำขอให้ย้ายไปสเปน ครอบครัวของซาน มาร์ตินได้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองมาดริด แต่ฆวนไม่ได้รับการเลื่อนขั้นจึงได้ย้ายไปยังเมืองมาลากา ต่อมาในปี ค.ศ.1785 ซาน มาร์ตินได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนในมาลากา และ เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยในหน่วยทหารราบเมอร์เชียน เมื่ออายุได้ 11 ปี

ราชการทหารในทวีปยุโรป[แก้]

สงครามประกาศเอกราชลาตินอเมริกา[แก้]

ในปี ค.ศ. 1811 เขาได้ออกจากกองทัพสเปนและลงเรือ จอร์จ แคนนิง จากประเทศอังกฤษกลับไปยังกรุงบัวโนสไอเรสซึ่งเป็นที่ที่เขาเติบโต และเดินทางถึงในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1812 พร้อมกับเพื่อนของเขา ไม่นานหลังจากนั้น ซาน มาร์ตินได้ก่อตั้งกรมทหารกรานาเดโรสขึ้น ต่อมาในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1817 ซาน มาร์ตินได้นำกองทัพแอนดีสซึ่งเป็นกองทัพปลดปล่อยจำนวน 4,000 คน ซึ่งเขาได้ฝึกด้วยตัวเขาเอง แบ่งทัพออกเป็นทัพย่อย 6 ทัพ แต่ละทัพใช้เส้นทางเดินทางแตกต่งกัน ข้ามเทือกเขาแอนดีส สู้รบกับกองทัพของสเปน และสามารถพิชิตกรุงซานเตียโกของชิลีได้

ถัดจากชิลี เขาได้วางแผนการรบที่จะบุกเปรูโดยทางทะเล แล้วได้ขึ้นบกที่เมืองปิสโก เปรู ในเวลาดังกล่าวนี้ ซาน มาร์ติน ได้ประกาศต่อกองทัพทั้งหมดว่า "ที่พวกเรามาที่นี่ ไม่ใช้เพื่อเอาชนะด้วยกำลัง แต่เพื่อปลดปล่อยประชาชน" แต่เมื่อไปถึงเปรู เขาก็พบกับปัญหาใหม่จากคำถามของชาวเมืองว่า ทำไมต้องปฏิวัติปลดแอก เปรูนั้นถือว่าล้าหลังที่สุดในจำนวนเขตทั้งหมดของสเปน ชาวเมืองไม่ได้รับผลกระทบจากสเปนมากนัก ชนชั้นต่าง ๆ ไม่ได้แบ่งแยกมากมายเหมือนที่อื่น ซาน มาร์ตินต้องชะลอการโจมตีกรุงลิมาออกไปและเผยแพร่ความคิดเรื่องเสรีภาพจนชาวเปรูเริ่มเข้าใจและมองเห็น เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1821 เขาก็สามารถปลดปล่อยกรุงลิมาได้สำเร็จ ในวันที่ 28 กรกฎาคม ซาน มาร์ติน ก็ได้ประกาศปลดปล่อยเปรูต่อหน้าประชาชนที่ได้มาชุมนุมกันที่จัตุรัส

แม้เปรูจะสามารถประกาศเอกราชได้แล้ว แต่ก็ยังคงต้องสู้รบกับกองทัพสเปนอีกหลายครั้งเพื่อให้บรรลุการเป็นเอกราชอย่างสมบูรณ์ ช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ขณะที่ซาน มาร์ติน ได้เคลื่อนไหวการปลดปล่อยจากชิลี ขึ้นไปทางทิศเหนือนั้น ซิมอน โบลิบาร์ ก็กำลังเคลื่อนไหวปลดปล่อยอเมริกาใต้ในทางตอนเหนืออยู่เช่นกัน ซาน มาร์ติน คิดว่า เพื่อเอกราชของเปรูจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับกองทัพของโบลิบาร์ ทั้งสองจึงได้กำหนดที่จะพบกันที่เมืองกัวยากิล ซึ่งอยู่ในประเทศเอกวาดอร์ในปัจจุบัน

หลังจากการพบปะพูดคุยกัน ซาน มาร์ติน จึงสรุปได้ว่า จะมอบหมายการปลดปล่อยเปรูให้สำเร็จแก่ซิมอน โบลิบาร์ และเขาได้คืนตำแหน่งและอำนาจที่ตัวเขาได้รับมาในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 1 ของเปรู

บั้นปลายชีวิต[แก้]

หลังจากนั้น ซาน มาร์ติน ก็ได้เดินทางออกจากเปรูไปชิลี บัวโนสไอเรส และข้ามไปยังยุโรป แล้วได้ปิดฉากชั่วชีวิตด้วยวัย 72 ปีที่บูลง-ซูร์-แมร์ ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1850

อ้างอิง[แก้]

  • โฮโงะคู, 2555, ปฏิวัติมนุษย์ใหม่, วารสารสร้างคุณค่า, ปีที่ 27, ฉบับที่ 315, หน้า 50
  • Pablo A. Chami, Biography of San Martin, http://www.pachami.com/English/ressanmE.htm, 2012-03-15
  • Immortaxio135
  • Jose de San Martin,https://en.wikipedia.org/wiki/Jos%C3%A9_de_San_Mart%C3%ADn
  • อนันตชัย จินดาวัฒน์,World History from Stone Age to Globalization,หน้า 399-400


อัตชีวประวัติ[แก้]

  • Lynch, John. San Martin: Argentine Soldier, American Hero
  • Lynch, John. The Spanish American Revolutions 1808-1826 (2nd ed. 1986)
  • Abad de Santillán, Diego (1965). Historia Argentina (ภาษาสเปน). Buenos Aires: TEA (Tipográfica Editora Argentina).
  • Camogli, Pablo; de Privitellio, Luciano (2005). Batallas por la Libertad (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Aguilar. ISBN 978-987-04-0105-6.
  • Galasso, Norberto (2000). Seamos libres y lo demás no importa nada [Let us be free and nothing else matters] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Colihue. ISBN 978-950-581-779-5.
  • Mayochi, Enrique Mario. "San Martín visto por los artistas" [San Martín saw by artists] (ภาษาสเปน). San Martín National Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 14 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Documentos para la historia del Libertador General San Martín [Documents for the history of Liberator General San Martín] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Instituto Nacional Sanmartiniano and Museo Histórico Nacional. 1953.
  • Crow, John (17 January 1992). The Epic of Latin America. Berkeley, California: University of California Press. ISBN 978-0-520-07723-2.
  • Dellepiane, Carlos (1965). Historia militar del Perú [Military history of Peru] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Círculo Militar.
  • Espíndola, Adolfo (1962). San Martín en el Ejército Español en la península [San Martín in the Spanish Army in the peninsula] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Comisión Nacional Ejecutiva del 150 Aniversario de la Revolución de Mayo.
  • Harvey, Robert (2000). Liberators: Latin America's Struggle For Independence. New York: The Overlook Press, Peter Mayer Publishers. ISBN 978-1-58567-072-7.
  • Higgins, James (2014). The Emancipation of Peru: British Eyewitness Accounts. Online at https://sites.google.com/site/jhemanperu
  • Levene, Ricardo (1936). Historia de la Nación Argentina [History of the Argentine Nation] (ภาษาสเปน). Buenos Aires: Editorial El Ateneo.
  • Montes i Bradley, Ricardo Ernesto (1952). El agricultor José de San Martín [The farmer José de San Martín] (ภาษาสเปน). Mexico: Editorial Perspectivas.
ก่อนหน้า โฆเซ เด ซาน มาร์ติน ถัดไป
None President of Peru
(1821–1822)
Francisco Xavier de Luna Pizarro
José Miguel Carrera Commander-in-Chief of the Army of Chile
(1817–1819)
Bernardo O'Higgins
Marcos González de Balcarce Governor of Cuyo
(1814–1816)
Toribio Luzuriaga