โอเมก้า สปีดมาสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Omega
โอเมกา สปีดมาสเตอร์ โปรเฟสชั่นแนล กลไกคาลิเบอร์ 3861
Manufacturerโอเมกา
Also calledมูนวอตช์
Introducedค.ศ. 1957
MovementOmega caliber 321, 861, 1861, 3861, อื่น ๆ

โอเมกา สปีดมาสเตอร์ (อังกฤษ: Omega Speedmaster) เป็นชื่อสายการผลิตนาฬิกาจับเวลายี่ห้อโอเมกา สปีดมาสเตอร์ ประกอบด้วยรุ่นย่อยต่าง ๆ และรุ่นจำกัดจำนวนหลายรูปแบบ มีทั้งใช้กลไกแบบออโตเมติกและระบบไขลาน สปีดมาสเตอร์เปิดตัวในปี ค.ศ. 1957 และมีชื่อเสียงมาจากการที่มันได้รับเลือกจากองค์การนาซาให้นำไปใช้ในโครงการอะพอลโล โอเมก้า สปีดมาสเตอร์เป็นนาฬิกาข้อมือเรือนแรกที่ใส่บนดวงจันทร์ เมื่อบัซ อัลดรินสวมใส่สปีดมาสเตอร์ 145.012 เข้ากับโอเมก้า 321 กาลิเบอร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 (นีล อาร์มสตรองทิ้งนาฬิกาสปีดมาสเตอร์ของเข้าไว้ในยานสำรวจดวงจันทร์ อีเกิล ระหว่างการเดินบนดวงจันทร์)

ประวัติความเป็นมา[แก้]

ในช่วงที่โครงการเจมินี่ขององค์การนาซ่ากำลังดำเนินการอยู่นั้น เป็นช่วงเวลาที่ยังไม่มีนาฬิกาเรือนใดที่ผ่านการรับรองว่าสามารถส่วมใส่ขณะท่องอวกาศได้ จึงมีการเสนอให้บริษัทผู้ผลิตนาฬิกายี่ห้อต่างๆ ส่งนาฬิกาที่ออกแบบสำหรับการท่องอวกาศเพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพ นอกจากนั้นแล้ว นาซ่ายังได้ส่งวิศวกรระบบสองคนไปหาซื้อนาฬิกาที่มีขายอยู่ตามปกติ โดยมองหารุ่นที่น่าจะสามารถนำไปใส่บนอวกาศได้ เพื่อนำมาทำการทดสอบ โดยเลือกนาฬิกาจับเวลาที่ใช้ระบบไขลานด้วยตนเอง

มีนาฬิกาทั้งหมดหกยี่ห้อที่ถูกซื้อและนำไปทดสอบที่นาซ่า สปีดมาสเตอร์ ผ่านการทดสอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูง ภาวะสุญญากาศ ความชื้น การกัดกร่อน การกระแทก ความเร่ง แรงดัน การสั่นสะเทือนและเสียง การทดสอบเสร็จสิ้นในวันที่ 1 มีนาคม ปี 1965 มีนาฬิกาสามยี่ห้อที่ผ่านการทดสอบอันหฤโหดมาได้ แต่มีเพียง สปีดมาสเตอร์ เท่านั้นที่ผ่านการทดสอบมาได้โดยแทบไม่มีความคลาดเคลื่อนเลย

โอเมก้า สปีดมาสเตอร์ ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์การนาซ่าให้เป็นนาฬิกาสำหรับการปฏิบัติภารกิจบนอวกาศ และถูกนำไปใช้ขณะปฏิบัติภารกิจในอวกาศหลายๆครั้ง