โอเค เบตง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอเค เบตง
กำกับนนทรีย์ นิมิบุตร
เขียนบทนนทรีย์ นิมิบุตร
เอก เอี่ยมชื่น
ศิรภัค เผ่าบุญเกิด
อำนวยการสร้างสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
ดวงกมล ลิ่มเจริญ
นักแสดงนำภูวฤทธิ์ พุ่มพวง
จีรนันท์ มะโนแจ่ม
ด.ญ.สรัญญ่า เครื่องสาย
อรรถพร ธีมากร
สรวงสุดา ศรีธัญรัตน์
กำกับภาพชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์
ตัดต่อเป็นเอก รัตนเรือง
หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล
ดนตรีประกอบชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม
วันฉาย26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ความยาว105 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

โอเค เบตง (อังกฤษ: OK Baytong) เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2546 กำกับโดยนนทรีย์ นิมิบุตร และอำนวยการสร้างโดยดวงกมล ลิ่มเจริญ เรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพุทธ ที่ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิม ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ท่ามกลางความรุนแรงที่เริ่มเกิดขึ้นพร้อมกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

เรื่องย่อ[แก้]

ธรรม (ภูวฤทธิ์) อยู่บวชอยู่ที่วัดป่า และศึกษาพระธรรมมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ หลังจากพ่อแม่เสียชีวิต วันหนึ่ง จันทร์ พี่สาวเพียงคนเดียวของธรรม เสียชีวิตอย่างกะทันหันเนื่องจากเหตุการณ์ระเบิดที่สถานีรถไฟ ธรรมต้องลาสิกขาบทออกมาเพื่อดูแล มารีอา (ด.ญ.สรัญญ่า) ลูกกำพร้าของพี่สาวที่เกิดจาก กาเซ็ม สามีชาวมุสลิม เขาต้องพบกับความยากลำบากในการปรับตัว จากเดิมที่ใช้ชีวิตทางธรรมอย่างเรียบง่ายเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา กลับต้องมาใช้ชีวิตทางโลก อยู่ท่ามกลางความแปลกใหม่ มีสิ่งยั่วยวนมากมาย โดยได้รับความช่วยเหลือจาก หลิน (จีรนันท์) หญิงสาวที่อาศัยอยู่ตรงข้ามร้านเสริมสวยของจันทร์ และ เฟิร์น (สรวงสุดา) นักร้องสาวคาเฟ่ เพื่อนสนิทของจันทร์

ธรรมต้องพบความสับสนครั้งใหญ่ในชีวิต เมื่อพบว่าตัวเองมีความรู้สึกดีๆ กับ หลิน แต่แท้ที่จริงเธอเป็นคนรักของ ฟารุก (อรรถพร) มุสลิมหัวก้าวหน้า หนึ่งในผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งถูกทางการไทยกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการระเบิดที่ทำให้พี่สาวของธรรมเสียชีวิต หลินตัดสินใจเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม เพื่ออยู่เคียงข้างชายที่เธอรัก ขณะเดียวกันธรรมก็ต้องแยกจากมารีอา เมื่อกาเซ็ม พ่อแท้ๆ รับเธอไปอยู่ด้วยที่ประเทศมาเลเซีย

ด้วยความผิดหวังในความรัก ธรรมต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของอบายมุข แต่ที่สุดแล้วเขาก็ได้เรียนรู้ที่จะปรับตัว มีชีวิตอยู่อย่างมีสติ และดำเนินชีวิตต่อไปข้างหน้า

เพลงประกอบภาพยนตร์[แก้]

เกี่ยวกับภาพยนตร์[แก้]

  • ภาพยนตร์ถ่ายทำที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และจังหวัดสระบุรี
  • ฉากระเบิดที่สถานีรถไฟ เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ระเบิดสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีโอกาสได้ฉายในโรงภาพยนตร์ที่อำเภอเบตง ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำ เพราะที่นั่นไม่มีโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์เพียงโรงเดียวที่นั่นปิดตัวไปตั้งแต่ พ.ศ. 2539 [1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "(id=3921) "โอเค.เบตง" หนังไม่ฉายที่เบตง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-03. สืบค้นเมื่อ 2008-01-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]