ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โอลิมปิกมาร์กเซย์)
มาร์แซย์
Olympique Marseille logo
ชื่อเต็มออแล็งปิกเดอมาร์แซย์
ฉายาLes Phocéens, L'OM
ก่อตั้ง31 สิงหาคม ค.ศ. 1899
สนามสตาดเวโลดรอม, มาร์แซย์
Ground ความจุ67,384[1]
เจ้าของแฟรงก์ แมกคอร์ต
ประธานฌัก-อ็องรี แอโร
ผู้จัดการเจนนาโร กัตตูโซ
ลีกลีกเอิง
2022–23อันดับที่ 3
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ (ฝรั่งเศส: Olympique de Marseille)[1] เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองมาร์แซย์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1899 ปัจจุบันเล่นอยู่ในลีกเอิง เป็นสโมสรที่ชนะการแข่งขันในลีกเอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในฟุตบอลฝรั่งเศสรองจากแซ็งเตเตียน มาร์แซย์ชนะการแข่งขันในเฟรนช์แชมเปียนส์ 9 ครั้ง และได้รับกุปเดอฟร็องส์ เป็นสถิติ 10 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1993 สนามกีฬาเหย้าของสโมสรคือสตาดเวลอดรอม (Stade Vélodrome) สามารถบรรจุคน 60,031 คน ตั้งอยู่ทางใต้ของเมือง โดยทีมเล่นสนามนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1937

ประวัติ[แก้]

มาร์แซย์ เป็นสโมสรแรกและสโมสรเดียวของฝรั่งเศส เคยก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในยอดทีมของยุโรป พวกเขาเริ่มต้นจากความพ่ายแพ้ต่อ เซอร์เวน่า ซเวซด้า (หรือที่เราคุ้นเคยในชื่อ เร้ดสตาร์ เบลเกรด) ในการดวลจุดโทษรอบชิงชนะเลิศศึกยูโรเปียนคัพเมื่อปี 1991 ก่อนที่พวกเขาจะคว้าแชมป์รายการนี้ได้สำเร็จในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก จากประตูชัยของ บาซิล โบลี่ ซึ่งช่วยให้ทีมเฉือนชนะ เอซี มิลาน 1-0 ทว่าช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขากลบพังพินาศ หลังมีการเปิดโปงว่า นักเตะของ วาล็องเซียน ทีมร่วมลีกเอิงที่กำลังหนีตกชั้นในตอนนั้น ถูก แบร์กนาร์ ตาปี ประธานสโมสรโอแอ็มในช่วงเวลาดังกล่าวติดสินบน เพื่อให้พวกเขาอ่อนข้อต่อมาร์แซย์ในเกมที่ทั้งคู่พบกัน 1 สัปดาห์ก่อนพบมิลาน ลดความเสี่ยงจากอาการบาดเจ็บก่อนเกมสำคัญ

นั่นทำให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โต มีการสอบสวนครั้งใหญ่ ก่อนที่ตาปีจะไม่รอดต้องโทษจำคุกในปี 1995 นอกจากนี้ ฌอง-ปิแอร์ เบอร์เน่ส์ ผู้จัดการทั่วไปของสโมสร และ ฌอง-ฌักส์ เอเดลี่ กองกลางของทีมที่ตาปีให้เป็นตัวกลางต่างก็โดนโทษจำคุกล่วงหน้า ถึงแม้โทษของรายหลังจะได้รับการลดเหลือเพียงรอลงอาญาก็ตาม

เรื่องอื้อฉาว[แก้]

ยิ่งไปกว่านั้น มาร์แซย์ยังถูกตัดสินริบแชมป์ลีกเอิงที่ได้เมื่อปี 1993 ทำให้ตำแหน่งแชมป์ว่างลงหลัง ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ปฏิเสธที่จะขึ้นเป็นแชมป์แทน พร้อมถูกตัดสิทธิ์ในการป้องกันแชมป์ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก รวมถึงลงแข่งในรายการยูฟ่า ซูเปอร์คัพ กับอินเตอร์คอนติเนตัล คัพ อีกด้วย

และเพียงปีถัดมา ซึ่งพวกเขาจบในตำแหน่งรองแชมป์ถัดจากเปแอสเชและได้ไปเล่นในศึกยูฟ่าคัพ มาร์แซย์ก็ถูกปรับตกชั้นจากปัญหาทางการเงินกับเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นกับตัวของตาปี และแม้พวกเขาจะคว้าแชมป์ลีกเดอซ์ได้ในฤดูกาลต่อมา โอแอ็มก็จำต้องอยู่ลีกรองต่ออีกปีเมื่อสโมสรยื่นขอล้มละลาย

กลับมาสำเร็จบนลีกเอิงอีกครั้ง[แก้]

หลังกลับสู่ลีกสูงสุดได้อีกครั้ง มาร์แซย์สามารถคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้เพียงหนเดียวเมื่อปี 2010 เมื่อพวกเขาถูกบดบังรัศมีจาก ลียง ที่คว้าแชมป์ 7 สมัยซ้อน รวมถึงเศรษฐีใหม่อย่างเปแอสเช ซึ่งนอกจากแชมป์ลีกเอิงครั้งนั้นแล้ว ผลงานเมื่อปี 2004 ที่ ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา แบกทีมไปถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพ ก็ดูจะเป็นแสงสว่างวาบเดียวจากอดีตยักษ์ใหญ่รายนี้ กระทั่งความเปลี่ยนแปลงมาถึงในถิ่น สตาดเวลอดรอม เมื่อ แฟรงค์ แม็คคอร์ท นายทุนชาวอเมริกันเข้ามาซื้อสโมสร มาร์แซย์กลับมามีชีวิตชีวาภายใต้การคุมทีมของ รูดี้ การ์เซีย อดีตนายใหญ่ ลีลล์ และ โรม่า ที่พาทีมมีลุ้นโควต้าแชมเปียนส์ลีกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับปรุงรังเหย้าของพวกเขาให้กลับมาสง่างามน่าเกรงขามอีกครั้ง แต่ถึงกระนั้น แม้พวกเขาจะมีฤดูกาลน่าประทับใจเมื่อได้ ฟลอรีย็อง โตแว็ง กลับมาแจ้งเกิดใหม่ด้วยการทำไป 22 ประตู 11 แอสซิสต์ในลีก รวมถึง ดิมิทรี ปาเยต

เกียรติประวัติ[แก้]

ฝรั่งเศส ระดับประเทศ[แก้]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป[แก้]

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

ณ วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2022[2]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK แคเมอรูน Simon Ngapandouetnbu
2 DF ฝรั่งเศส วีลียาม ซาลิบา (ยืมตัวจาก อาร์เซนอล)
3 DF โกตดิวัวร์ เอริก บายี (ยืมตัวจาก แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด)
5 DF อาร์เจนตินา ลีโอนาร์โด บาเลอร์ดี
6 MF ฝรั่งเศส มาเตโอ แกนดูซี (ยืมตัวจาก อาร์เซนอล)
7 MF โครเอเชีย เนมานยา ราดอนยิช
9 FW อาร์เจนตินา ดาริโอ เบนเนเดดโต
10 FW ฝรั่งเศส ดีมีทรี ปาแย็ต
12 MF เนเธอร์แลนด์ เกฟิน สโตรตมัน
15 DF โครเอเชีย Duje Ćaleta-Car
16 GK ฝรั่งเศส ยออาน เปอเล
17 DF กินี บูนา ซาร์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 DF ฝรั่งเศส จอร์แดน อมาวี
21 MF ฝรั่งเศส วาล็องแต็ง รงฌิเยร์
22 MF ฝรั่งเศส เกรกอรี เซอติช
23 DF บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เซอัด กอลาชินัตส์
24 MF ตูนิเซีย ซาอิฟ เอดดีน คาอุย
25 MF ฝรั่งเศส ฟลอรีย็อง โตแว็ง
27 MF ฝรั่งเศส มักซิม โลเปซ
28 FW ฝรั่งเศส วาเลรี แฌร์แม็ง
29 MF แคเมอรูน อ็องเดร-ฟร็องก์ ซัมบู อ็องกีซา
30 GK ฝรั่งเศส สแตฟว์ ม็องด็องดา (กัปตัน)
31 DF ฝรั่งเศส Alphousseyni Sané
32 FW แคเมอรูน Samad Mouhammadou
33 FW ฝรั่งเศส Jérémie Porsan-Clemente
40 GK ฝรั่งเศส Florian Escales
70 FW ชิลี อาเลกซิส ซันเชซ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Velodrome Stadium". om.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-28. สืบค้นเมื่อ 13 January 2008.
  2. Olympique de Marseille. "Equipe professionnelle 2016–2017". OM.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-22. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]