โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ (อังกฤษ: tragedy of the commons) เป็นสภาวะลำบากซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ปัจเจกชนหลายคนกระทำการโดยไม่ขึ้นต่อกันและพิจารณาประโยชน์ส่วนตนอย่างสมเหตุสมผล แต่กลับทำให้ทรัพยากรใช้ร่วมกันอันจำกัดหมดไปในท้ายที่สุด แม้ว่าจะเป็นที่ชัดเจนว่ามันไม่ใช่ผลประโยชน์ในระยะยาวของทุกคนหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น สภาวะดังกล่าวได้รับการอธิบายในบทความทรงอิทธิพล ชื่อ "โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ" เขียนขึ้นโดยการ์เร็ตต์ ฮาร์ดิน และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารไซแอนซ์ในปี ค.ศ. 1968[1]

ทฤษฎีสาธารณสมบัติของฮาร์ดินมักถูกอ้างบ่อยครั้งในการสนับสนุนความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การประสานกันของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และได้มีผลกระทบต่อปัญหาในปัจจุบันหลายประเด็น รวมทั้งการโต้วาทีเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อน "โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ" ถูกเตือนบ่อยครั้งว่าจะเป็นผลที่ตามมาของการใช้นโยบายซึ่งจำกัดอสังหาริมทรัพย์เอกชน[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Tragedy of the Commons". Science. 162 (3859): 1243–1248. 1968. doi:10.1126/science.162.3859.1243. Also available here [1] and here.
  2. "Socialism and the Tragedy of the Commons: Reflections on Environmental Practice in the Soviet Union and Russia". The Journal of Environment Development. 4 (1): 77-110. January 1995.[ลิงก์เสีย]
  3. Perry, Mark (June 1995). "Why Socialism Failed". The Freeman. Ideas On Liberty. 45 (6).