โลแกน ทอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลแกน ทอม
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มโลแกน เมล เล่ย ทอม
เกิด (1981-05-25) 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 (42 ปี)
แนปา, รัฐแคลิฟอร์เนีย, USA
ส่วนสูง1.86 m (6 ft 1 in)*
กระโดดตบ306 ซม.
บล็อก297 ซม.
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตีด้านนอก
อาชีพ
ปีทีม
1999–2002
2003
2003–04
2004–05
2005–06
2006–07
2007–08
2008–09
2009–10
2010–11
2011–12
2012–13
2014
2014-15
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เอ็มอาร์วี/มินัส
มอนเตสกีอาโวเจซี
Bigmat Kerakoll Chieri
วอลเลโร่ ซือริช
ซีวี เตเนรีเฟ
ไดนาโมมอสโก
ฮิซะมิสึสปริงส์
Asystel Novara
กวางตุ้ง เอเวอร์เกรส
เฟแนร์บาห์เชยูนิเวอร์แซล
รีโอเดจาเนโร/ยูนิลีเวอร์/สกาย
Openjobmetis Ornavasso
อาร์ซี คานส์
ทีมชาติ
2000–2012สหรัฐอเมริกา

โลแกน เมล เล่ย ทอม (อังกฤษ: Logan Maile Lei Tom; เกิด 25 พฤษภาคม 1981) นักวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด ชาวอเมริกัน เธอเล่นในโอลิมปิกมาแล้ว 4 ครั้ง ในตำแหน่งตัวตบตรงข้ามหัวเสา ตอนที่เธออายุ 19 ปี โลแกนกลายเป็นนักวอลเลย์บอลหญิงที่อายุน้อยที่สุดสำหรับทีมชาติอเมริกันที่ได้เล่นในกีฬาโอลิมปิกที่ซิดนี่ย์ ปี 2000 เธอเป็นนักกีฬาที่มีทักษะ ด้านการเสิร์ฟและการป้องกันที่ดี ในขณะที่อเมริกันก็มีทีมที่มีการโจมตีและการบล็อกที่มีประสิทธิภาพมาก โลแกนเป็นตัวจริงของทีมชาติ มาหลายปี ในโอลิมปิกที่ปักกิ่ง โลแกนก็ช่วยให้ทีมได้เหรียญเงินและเธอก็ยังได้รับรางวัลในการทำแต้มดีที่สุด

ชีวิตส่วนตัว และการเรียน[แก้]

โลแกน ทอมเกิดในแนปา, รัฐแคลิฟอร์เนีย คริสติน และเมลลิน ทอม พ่อและแม่ของเธอ[1] พ่อของเธอเล่นอเมริกันฟุตบอลในเอ็นเอฟแอล กว่า 9 ปี ทั้งในทีม ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ และ ชิคาโก แบร์ส[2] แม้ว่าเธอจะเติบโตมากับแม่และ แลนดอนพี่ชายของเธอ[1] ในซอลต์เลกซิตี, รัฐยูทาห์ แต่เธอก็เวลาในช่วงฤดูร้อนของเธอกับ พ่อและญาติ ๆ ของเธอในฮาวาย และเธอก็ยังเรียนรู้วิธีการเล่นเซิฟบอร์ด[3] โลแกนมีเชื้อสายของจีนและฮาวาย[3]

โลแกนเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน ในขณะที่เธอเรียนที่โรงเรียนไฮแลนด์ ทอมยังเข้าร่วมการแข่งขันบาสเก็ตบอล และเดินทางไปคัดตัวบาสเก็ตบอของรัฐด้วย ทอมได้รับรางวัล เกเตอเรดยอดเยี่ยมแห่งปีรางวัล สำหรับกีฬาวอลเลย์บอล เมื่อปี 1999 และในปี 2000 เธอกลายเป็นนักวอลเลย์บอลหญิงคนแรกของทีมสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก[4]

ในช่วงฤดูร้อนปี 2003 เธอได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 ของ พื้นฐานนักกีฬาหญิงแห่งปีรางวัล ในประเภททีมในปี 2004 ทอมถูกวางตัวให้เป็นหนึ่งในนักกีฬาโอลิมปิกหญิงในการถ่ายบิกินี่ ลงนิตยสารเอฟเอชเอ็ม[5] อีกหนึ่งปีต่อมาทอมถูกจัดให้เป็นผู้หญิงที่เซ็กซี่ที่สุด อับดับที่ 91 จาก 100 อันดับ[6]

โอลิมปิกและการเล่นอาชีพ[แก้]

ทอมเล่นวอลเลย์บอลอาชีพครั้งแรกกับทีมบราซิล และได้ร่วมแข่งขัน เอ็มอาร์วี/มินัสของบราซิลซุปเปอร์ลีก หลังจากเซ็นสัญญาเพียง 2 สัปดาห์ ทอม ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ (อันดับที่ 4 ), โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เอเธนส์ (อันดับที่ 5), โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง (เหรียญเงิน) ,และโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ที่ลอนดอน (ได้เรียญเงิน) นอกจากนี้ทอมยังได้รับรางวัล "ทำคะแนนสูงสุด" ในการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่งด้วย[7]

ในปี 2004 ทอมมีชื่อเป็นผู้เล่นทรงคุณค่า ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ จากคะแนน 224 จากการแข่ง 13 แมท นอกจากนั้นเธอยังได้รับรางวัล "เสิร์ฟยอดเยี่ยม" อีกด้วย

จากปี 2004-2007 เธอพักการเล่นวอลเลย์บอลในร่ม และเลือกที่จะเล่นวอลเลย์บอลชายหาดแทน หลังจากผิดหวังจากการได้อันดับที่ 5 ในโอลิมปิก 2004 ที่เอเธนส์[8][9] ในปี 2007 เธอถูกเสนอชื่อเป็นหนึ่งในสามของผู้เล่นทรงคุณค่า ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพ คะแนนของเธอเฉลี่ย 4.10 เป็นครั้งแรกของเธอตั้งแต่เธอร่วมทีมกับทีมชาติสหรัฐอเมริกามาเกือบ 3 ปี[10]

เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2008 ฮิซะมิสึสปริงส์ ทีมวอลเลย์บอลหญิงที่อยู่ใน เมืองโคเบะ, จังหวัดเฮียวโงะ และ เมืองโตะซุ, จังหวัดซะงะ, ประเทศญี่ปุ่น ประกาศร่วมทีมกับเธอ

เธอได้รับการเสนอชื่อเป็น"รับลูกเสิร์ฟยอดเยี่ยม" ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2010[11]

โลแกนได้รับรางวัลเสิร์ฟยอดเยี่ยมและได้รับเหรียญทองในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์นอร์เซกา 2011 ที่จัดขึ้นใน คากอส, ประเทศเปอร์โตริโก[12]

รางวัล[แก้]

ระดับบุคคล[แก้]

ระดับวิทยาลัย[แก้]

  • Four time First Team AVCA All-American (1999–2002)
  • Four time First Team All-Pac-10 (1999-02)
  • Four time First Team AVCA All-Pacific Region (1999-02)
  • Three Time NCAA Final Four All-Tournament Team (1999, 2001–02)
  • Two time AVCA National Player of the Year (2001–02)
  • Two time Honda Award winner for volleyball (2001–02)
  • Two time Pac-10 Player of the Year (2001–02)
  • 2002 NCAA Stanford Regional Most Outstanding Player
  • 2002 Pac-10 All-Academic Honorable Mention
  • 2002 Pac-10 Player of the Week (11/25)
  • 2002 AVCA National Player of the Week (11/25)
  • 2002 NACWAA/State Farm Classic MVP
  • 2001 NCAA Championship Most Outstanding Player
  • 2001 NCAA Stanford Regional Most Outstanding Player
  • 2001 AVCA National Player of the Week (11/12)
  • 2001 Jefferson Cup MVP
  • 2001 Verizon/Texas A&M All-Tournament Team
  • 2001 Asics/Volleyball Magazine Player of the Year
  • 1999 AVCA National Freshman of the Year
  • 1999 Pac-10 Freshman of the Year
  • 1999 Asics/Volleyball Magazine Freshman of the Year
  • 1999 Pacific Regional All-Tournament Team

รางวัลอื่น ๆ:

  • 2013 Inductee to the Stanford University Athletics Hall of Fame
  • 2014 Inductee to the Utah Sports Hall of Fame

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  2. http://photos.dailynews.com/?third_party=us-womens-volleyball-player-logan-tom-embraces-role-as-glue-of-the-team
  3. 3.0 3.1 "Bio at Logan Tom fansite". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-27. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  4. Utah high school volleyball records
  5. "FreeJose.com". FHM Magazine 100 Sexiest Women 2005. สืบค้นเมื่อ November 11, 2006.
  6. Soriano, César G. (2005-03-25). "Jolie sizzles atop 'FHM' sexiest list". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 11, 2006.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-24. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  9. "Volleyball takes Logan Tom around world in pursuit of gold". USA Today. June 3, 2012.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-24. สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  11. FIVB. "Russia repeat as world champions". สืบค้นเมื่อ 2010-11-14.
  12. FIVB (2011-09-17). "USA women win NORCECA gold and ticket to World Cup". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-29. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า โลแกน ทอม ถัดไป
จีน หยาง ห่าว วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ เสิร์ฟยอดเยี่ยม
(2004)
จีน หยาง ห่าว
รัสเซีย เยคาเตรีนา กาโมวา วอลเลย์บอลเวิลด์กรังด์ปรีซ์ ทำคะแนนสูงสุด
(2004)
ญี่ปุ่น มิยุกิ ทะกะฮะชิ
รัสเซีย เยคาเตรีนา กาโมวา โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ทำคะแนนสูงสุด
(2008)
เกาหลีใต้ คิม ยอน-คยอง