โลดทะนงแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลดทะนงแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
สกุล: Trigonostemon
สปีชีส์: T.  reidioides
ชื่อทวินาม
Trigonostemon reidioides
(Kurz) Craib

โลดทะนงแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Trigonostemon reidioides หรือ ข้าวเย็นเนิน หนาดคำ เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae มีรากสะสมอาหารพองโต ผิวสีแดงอมม่วง เนื้อสีขาว

โลดทะนงแดงมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร โดยราก ใช้ฝนน้ำกินทำให้อาเจียน ทำให้ถ่าย เพื่อถอนพิษคนกินยาเบื่อ เมาพิษเห็ดและหอย แก้พิษงู แก้เสมหะเป็นพิษ แก้หืด แก้วัณโรค เป็นยาระบาย ฝนเกลื่อนฝี หรือดูดหนองถ้าฝีแตก ฝนทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดบวม แก้ปวดฝี คุมกำเนิด ต้มดื่ม แก้วัณโรค ฝนกับน้ำมะนาว หรือสุรา รับประทานแก้พิษงู ฝนทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก รากนำมาต้มน้ำดื่ม หรือฝนรับประทาน ทำให้อาเจียนอย่างหนัก ใช้ถอนพิษคนกินยาเบื่อยาเมา หรือฝนน้ำกินช่วยให้เลิกดื่มเหล้า ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก เข้ายากับน้ำมะนาว ฝนกับน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง พิษแมงมุม ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา เหง้า ฝนทา แก้สิว ฝ้า และฟกช้ำ เคล็ดบวม[1] สารสกัดด้วยเอทานอลจากพืชอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. โลดทะนงแดง-ฐานข้อมูลเครื่องยา
  2. จินดาพร คงเดช. 2551. การผลิตสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส และสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี