โลกธาตุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โลกธาตุ ในทางพระพุทธศาสนานั้น มีหลายขนาด โดยใช้นิยามและคำอธิบายเดียวกันในการจัดเป็นกลุ่มและอธิบาย แทนคำเทียบเกี่ยวกับ โลกและดวงจันทร์ ที่หมุนรอบกันเป็นระบบสสาร ณ จุดเดียวกัน โดยอธิบายเฉพาะจุดที่เหมาะสมตามระยะรัศมีนั้นๆ ของคำเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบคร่าวและขนาดคร่าวๆ ของระบบดาวขนาดใหญ่นั้นๆ และจำนวนจักรวาล ที่มี เช่น พันโลกธาตุใหญ่ มีแสนโกฏิจักรวาลหรือ 1ล้านล้านจักรวาล เป็นระบบดาวขนาดใหญ่ กว่า จักรวาล เป็นพุทธเขตที่จะมีพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ซ้ำในเวลาเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีลักษณะ เป็น พันโลกธาตุ (มีสายจักร 1,000สาย) หมื่นแสนโลกธาตุ(มีสายจักรที่ซับซ้อน กว่าพันโลกธาตุ) เป็นต้น


โดยจูฬณีสูตร แบ่ง พันโลกธาตุ เป็น 3 ขนาด คือ

  1. ระบบพันโลกธาตุขนาดเล็ก (กาแลกซี่)
  2. ระบบดาวพันโลกธาตุขนาดกลาง (ระบบดาวของกาแลกซี่/ระบบดาวของกระจุกกาแลกซี่(ที่สมบูรณ์ 2อัน)
  3. ระบบพันโลกธาตุขนาดใหญ่ (พุทธเขต//ระบบดาวของกระจุก(ที่สมบูรณ์ 3 อัน) ของระบบดาวของ "ระบบดาวของกาแลกซี่ ")

โดยได้ขยายความไว้ว่า

  1. 1,000 จักรวาล(ระบบสุริยะที่สมบูรณ์ /ในระยะรัศมีที่เหมาะสม) เป็น 1 พันโลกธาตุเล็ก(กาแลกซี่)
  2. 2,000 พันโลกธาตุเล็ก(กาแลกซี่ที่สมบูรณ์/รัศมีที่เหมาะสม) เป็น 1 พันโลกธาตุกลาง
  3. 1,000 มี 3 จุด ๆมี 1,000 พันจักรวาลขนาดกลาง(3ล้าน พันโลกธาตุกลาง/รัศมีเหมาะสม) เป็น 1 พันโลกธาตุขนาดใหญ่ ซึ่งซับซ้อน ระบบ 2 ชั้น

*นับระบบองค์ประกอบย่อยเฉพาะจุดทดแทน เปรียบ จันทิมสุริยะ และ โลกธาตุ นั้น ซึ่งจะเป็นระบบที่มีจักรวาลหรือระบบสุริยะที่สมบูรณ์สสารภพภูมิ ได้เฉพาะตำแหน่งนี้เท่านั้น*

ดังนั้น ขนาดโดยประมาณ ในการคำนวณ ขนาดของระบบดาวขนาดใหญ่เหล่านี้ (อย่างง่าย) จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ร่วม

  1. ถ้าขนาดของกาแลกซี่ โดยประมาณ เส้นผ่าน 100,000 ปีแสง ระยะรัศมี ที่ 3/4 คือ 37,500 ปีแสง มีเส้นรอบวง ประมาณ 2-4 แสน ปีแสง มีสายจักรทางช้างเผือก 1,000 สาย ๆละ 2-4 ร้อยปีแสง ในสายหนึ่งๆ ถ้ามี การหมุนเหวี่ยงเป็นเกลียว ประมาณ 10 เท่าของขนาด รัศมี จักรราศี ประมาณ 8-30 ปีแสง มี ระบบสุริยะ อยู่ใจกลาง มีขนาดประมาณ 0.004 ปีแสง โดยประมาณ อัตราส่วน ประมาณ 25 ล้านเท่า
  1. ถ้า กาแลกซี่ ขนาดประมาณ 1 แสนปีแสง มี 2 กาแลกซี่ จะมีระยะ รวมประมาณ 3 -4 ปีแสง โดยประมาณ ×25 ล้าน หรือเส้นผ่านฯระบบ ประมาณ 100 ล้านปีแสง ในพันโลกธาตุกลาง

เมื่อรวมจักรวาลทั้งสิ้น จะได้ หกแสนโกฏิจักรวาล พิกัด หรือหกล้านล้านจักรวาล(6,000,000,000,000) ซึ่งในระบบนี้นั้นมีการเกิดดับสลับกันดั่งฟองพรายน้ำ ของระบบย่อย คือพันโลกธาตุกลาง จะระเบิด สลับกันไป ส่วนพันโลกธาตุเล็กจะไหลเข้ากลาง และระบบสุริยะ จะไฟไหม้ ในการเกิดดับ (ไฟครบ 8 ครั้งจะตรงกับกันไหลเข้ากลาง 1 ครั้ง ไหลเข้ากลางครบ 8 ครั้งจะตรงกับ ระเบิด 1 ครั้ง รวม จักรวาลเกิดดับ 64 ครั้ง ต่อ มหากัป แต่ว่าในไฟ น้ำท่วม และ ระเบิดนั้น ใช้เวลาไม่เท่ากัน การนับเป็นรอย มหากัปจึงตายตัวกว่า) คือ แตกดับและเกิดใหม่ไม่พร้อมกัน ปรากฏประมาณ หลักล้านล้านจักรวาล นั่นเอง

เวลาถือกำเนิดจนสิ้นสลายไปของจักรวาลขนาดเล็กเป็น1จุลกัปป์ จักรวาลขนาดเล็กแตก 7 ครั้งในครั้งที่8จักรวาลขนาดกลางจะแตกเรียกมัชฌิมกัปป์ จักรวาลขนาดกลางแตก 7 ครั้งในครั้งที่ 8 จักรวาลขนาดใหญ่จะแตกเรียกมหากัป จักรวาลขนาดเล็กแตกด้วยธาตุไฟ จักรวาลขนาดกลางแตกด้วยธาตุน้ำ จักรวาลขนาดใหญ่แตกด้วยธาตุลม รวมเป็นแตกดับ64รอบในหนึ่งมหากัป

ในวันสิ้นโลกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่ขึ้น 7 เท่า หรืออาจมี 7 ดวง (ในคัมภีร์ สัตต แปลว่า 7 อาจ 7 เท่า หรือ 7 ดวงก็ได้) หมายถึงลักษณะการแตกสลายไปของจักรวาลขนาดเล็กเท่านั้น

พระพุทธองค์ตรัสแสดงบอกลักษณะของโลกนี้ ว่า มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ (แผ่นดินและมหาสมุทร) น้ำตั้งอยู่บนลม (มหาสมุทรและชั้นบรรยากาศ) ลมตั้งอยู่บนอากาศ (ชั้นบรรยากาศและอวกาศ) สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัดอยู่ย่อมยังน้ำให้ไหว น้ำไหวแล้ว ย่อมยังแผ่นดินให้ไหว

อ้างอิง[แก้]

จูฬนีสูตร สุตตันตะปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม 1 ภาค 3 หน้า 431

สุริยสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 214

สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพาน