โรบินสัน ครูโซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรบินสัน ครูโซ  
ปกของฉบับแรก
ผู้ประพันธ์แดเนียล เดโฟ
ผู้วาดภาพประกอบไม่ทราบ
ประเทศราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
ภาษาอังกฤษ
ประเภทนวนิยาย
สำนักพิมพ์W. Taylor
วันที่พิมพ์25 เมษายน ค.ศ. 1719
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์
ISBNN/A ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBNT}}: invalid character
เรื่องถัดไปThe Further Adventures of Robinson Crusoe 

โรบินสัน ครูโซ (อังกฤษ: Robinson Crusoe หรือมีชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า The Life and Strange Surprizing Adventures of Robinson Crusoe of York, Mariner: Who lived Eight and Twenty Years, all alone in an un-inhabited Island on the coast of America, near the Mouth of the Great River of Oroonoque; Having been cast on Shore by Shipwreck, where-in all the Men perished but himself. With An Account how he was at last as strangely deliver'd by Pyrates. Written by Himself) เป็นนวนิยายของแดเนียล เดโฟ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1719 ในบางครั้งถือว่าเป็นนวนิยายฉบับแรกของภาษาอังกฤษ มีเรื่องราวเกี่ยวกับอัตชีวประวัติที่แต่งขึ้นโดยตัวละคร ที่ติดเกาะร้างอยู่ 36 ปี บนเกาะเขตร้อนชื้นอันไกลโพ้น ใกล้กับประเทศเวเนซุเอลา ที่เผชิญกับชาวอเมริกันพื้นเมือง ถูกกักขังและขัดขืน ก่อนที่จะรอดชีวิตออกมาได้

เนื้อเรื่องได้รับอิทธิพลจากเรื่องจริงของอเล็กซานเดอร์ เซลเคิร์ก นักล่องเรือชาวสกอตที่ติดเกาะและอยู่ในเกาะมหาสมุทรแปซิฟิก 4 ปี ที่ชื่อเกาะ "Más a Tierra" (ต่อมาในปี 1966 เกาะนี้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เกาะโรบินสันครูโซ) ในประเทศชิลี อย่างไรก็ตามรายละเอียดของเกาะของครูโซนั้นอาจจะมาจากเกาะโตบาโก ในทะเลแคริบเบียน แต่เกาะนี้อยู่ไม่ไกลจากชายฝั่งเวเนซุเอลา ใกล้ปากแม่น้ำโอริโนโก และไม่ไกลจากเกาะทรินิแดด[1] นอกจากนั้นดูเหมือนเดโฟจะได้รับแรงบันดาลใจจากบทประพันธ์ละติน หรือฉบับแปลอังกฤษเรื่อง Hayy ibn Yaqdhan ของอิบัน ตูเฟล ที่เป็นบทประพันธ์ก่อนหน้านี้ที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเกาะร้าง[2][3][4][5] อีกแหล่งข้อมูลของบทประพันธ์ของเดโฟ อาจจะเป็นเรื่องราวการลักพาตัวโรเบิร์ต น็อกซ์ โดยกษัตริย์ของศรีลังกาในปี ค.ศ. 1659 ใน " Glasgow: James MacLehose and Sons (Publishers to the University), 1911.[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Robinson Crusoe, Chapter 23.
  2. Nawal Muhammad Hassan (1980), Hayy bin Yaqzan and Robinson Crusoe: A study of an early Arabic impact on English literature, Al-Rashid House for Publication.
  3. Cyril Glasse (2001), New Encyclopedia of Islam, p. 202, Rowman Altamira, ISBN 0-7591-0190-6.
  4. Amber Haque (2004), "Psychology from Islamic Perspective: Contributions of Early Muslim Scholars and Challenges to Contemporary Muslim Psychologists", Journal of Religion and Health 43 (4): 357-377 [369].
  5. Martin Wainwright, Desert island scripts, The Guardian, 22 March 2003.
  6. see Alan Filreis

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]