โรนัลด์ แมคโดนัลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรนัลด์ แมคโดนัลด์
ภาพของรูปปั้นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2548 ซึ่งต้อนรับลูกค้าในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย
ปรากฏครั้งแรกพ.ศ. 2506
แสดงโดยวิลลาร์ด สกอตต์ (พ.ศ. 2506-2508)
เบฟ เบอร์เจอรอน (พ.ศ. 2509–2511)
วิฟ วีคส์ (พ.ศ. 2511–2513)
จอร์จ เวอร์ฮิส (พ.ศ. 2511–2512)
บ็อบ แบรนดอน (พ.ศ. 2513–2518)
คิง มูดี้ (พ.ศ. ​2518–2527)
สไควร์ ไฟรเดลล์ (พ.ศ. 2527–2534)
แจ็ค ดีออปกี (พ.ศ. 2533–2538)
โจ แมกการ์ด (พ.ศ. 2538–2550)
แบรด เลนนอน (พ.ศ.​ 2550–ปัจจุบัน)
บ็อบ สเตเฟนสัน (โลโกรามาเท่านั้น)
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เพศชาย
อาชีพมาสคอตของแมคโดนัลด์

โรนัลด์ แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: Ronald McDonald) เป็นตัวตลกซึ่งถูกใช้เป็นมาสคอตหลักของแมคโดนัลด์ ในโฆษณาโทรทัศน์ ตัวตลกตัวนี้จะอาศัยอยู่ในโลกจินตนาการที่ชื่อว่าแมคโดนัลด์แลนด์ และมักจะออกผจญภัยกับเพื่อนของเขา เมเยอร์ แมคชีส, แฮมเบอร์กลาร์, ไกรเมซ, เบอร์ดี้ เดอะ เออร์ลี เบิร์ด และ เดอะ ฟราย คิดส์ หลังจากที่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับแมคโดนัลด์แลนด์ได้หยุดผลิตลง โรนัลด์ก็หันมามีปฏิกิริยากับเด็ก ๆ ในชีวิตประจำวันของเขาแทน

ประวัติ[แก้]

นักแสดง[แก้]

มีนักแสดงนับร้อยที่แสดงเป็นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ตามร้านอาหารและงานต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทใช้นักแสดงเพียงหนึ่งคนเท่านั้นในการเล่นบทบาทของโรนัลด์ในโฆษณาโทรทัศน์ โดยนักแสดงที่แสดงเป็นโรนัลด์ แมคโดนัลด์ มีดังต่อไปนี้

ชื่อ "โรนัลด์ แมคโดนัลด์" ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงชุด หน้าตาตัวตลก อุปนิสัยต่าง ๆ ของโรนัลด์ แมคโดนัลด์ทั้งหมด เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของแมคโดนัลด์

การนำตัวละครไปใช้ในงานอื่น ๆ[แก้]

การทำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ[แก้]

โรนัลด์ แมคโดนัลด์ ที่ฐานทัพทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

ในประเทศไทย โรนัลด์ แมคโดนัลด์จะต้อนรับลูกค้าในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย โดยมาสคอตในลักษณะไหว้นี้ ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.​ 2545 โดยแฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์ในประเทศไทยที่ชื่อว่า แมคไทย[2]

สำหรับในประเทศจีนนั้น เพื่อเป็นการเคารพโรนัลด์ แมคโดนัลด์ในฐานะผู้ใหญ่ เด็ก ๆ จึงเรียกเขาว่า 麦当劳叔叔 (ลุงแมค)

ในประเทศญี่ปุ่น โรนัลด์ แมคโดนัลด์ถูกเรียกว่าโดนัลด์ แมคโดนัลด์ เนื่องจากว่าเสียง "r" ที่ชัดเจนในภาษาอังกฤษไม่มีในภาษาญี่ปุ่น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Province, Ben (October 19, 2011). "MBU Runs for Ronald". Malibu Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ April 25, 2012.
  2. Rungfapaisarn, Kwanchai. "Ronald's 'wai' to hit the States." The Nation (Thailand), September 18, 2002
  3. "Ronald and Donald McDonald keep their cultural identities". Seattle Post-Intelligencer, December 17, 1996

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Schlosser, E. (2006) Chew on this: everything you don’t want to know about fast food. Boston, MA: Houghton Mifflin Co.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]