โรตีจาไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรตีจาไน
โรตีจาไน
ชื่ออื่นโรตีจาเน
ประเภทขนมปังแบน
แหล่งกำเนิดอินเดีย
ส่วนผสมหลักแป้ง
โรตีจาไนกับแกงแกะ ในสุมาตราตะวันตก
โรตี จาเนกับแกงแกะและมันฝรั่งในภัตตาคารอาหารอาเจะฮ์

โรตีจาไน (มลายูและอินโดนีเซีย: roti canai) หรือ โรตีจาเน (roti cane) เป็นขนมปังแบนที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียพบได้ทั้งในมาเลเซียและอินโดนีเซีย พบได้ในภัตตาคารที่ขายอาหารมีนังกาเบาหรืออาหารอาเจะฮ์ ในสิงคโปร์และมาเลเซียทางใต้เรียกโรตีปราตา ซึ่งคล้ายกับอาหารอินเดียที่เรียกปาโรตตาแบบของรัฐเกรละ

ที่มาของคำ[แก้]

ในภาษาฮินดี ภาษาอูรดู ภาษาส่วนใหญ่ทางอินเดียเหนือ และภาษามลายู คำว่าโรตีหมายถึงขนมปัง ส่วนคำว่าจาไน อาจมาจาก

  • เจนไน เมืองในอินเดียซึ่งในสมัยโบราณเรียกมัทราส คาดว่าโรตีจาไนเข้าสู่มาเลเซียโดยแรงงานที่อพยพมาจากมัทราสโดยเป็นการนำปาโรตตามารับประทานกับดาลจาซึ่งเป็นแกงถั่วเลนทิล[1]
  • จันนา เป็นอาหารที่ทำจากถั่วหัวช้างต้ม ในซอสรสเผ็ดของอินเดียเหนือ กินกับโรตี แต่โรตีในอินเดียเหนือต่างไปจากโรตีในมาเลเซีย ซึ่งคล้ายปาโรตตาในอินเดียใต้มากกว่า นอกจากนั้น โรตีจาไนยังนิยมรับประทานกับแกงถั่วเลนทิลมากกว่าแกงถั่วชิกพี
  • คำว่าจาไนในภาษามลายูหมายถึงการม้วนก้อนแป้ง

โรตีจาไนเป็นรูปกลมแบน การปรุงมีสองแบบ คือเหวี่ยงจนเป็นแผ่นแบนมากแล้วพับหรือรีดให้แบนก่อนจะพับ แป้งที่พับแล้วจะนำมาทอดในน้ำมัน วิธีเหลี่ยงแป้งให้บางเป็นที่นิยมกว่าและทำได้เร็วกว่า คำว่าโรตี ปาโรตตาในภาษามลายูหมายถึงขนมปังแบน

ในอินโดนีเซีย จะเรียกโรตีจาไนว่าโรตีจาเน และมักรับประทานกับแกงแกะ (การีกัมบิง) เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียซึ่งเป็นผลจากการอพยพเข้าสู่อินโดนีเซียในสมัยที่เป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ พบมากในอาหารมลายูที่สุมาตรา และอาหารมีนังกาเบา อาหารอาเจะฮ์

ส่วนประกอบ[แก้]

โรตีจาไนประกอบด้วยไขมัน ไข่ แป้ง น้ำ นวดรวมกัน ไขมันที่ใช้นิยมเนยฆีของอินเดีย บางคนจะใส่นมข้นหวานลงไป ส่วนผสมจะถูกนวดจนเข้ากันดี ทำให้แบน แช่น้ำมันและม้วน พักให้ฟู ทำซ้ำอีก เมื่อจะทำให้สุกจึงแผ่เป็นแผ่นบาง พับแล้วทอดให้กรอบนอกนุ่มใน

ภาพการเตรียมโรตีจาไน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jaffrey, Madhur (2003). Madhur Jaffrey's Curry Bible. Ebury Press. pp. 283–4. ISBN 0-09-187415-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]