โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม
Salaengthonpittayakhom School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียน
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคมพิทยาคม
ที่ตั้ง
ถนนบุรีรัมย์-ประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 31140
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.พ.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
คำขวัญปัญญา สามัคคี มีวินัย ร่วมใจพัฒนาชุมชน
สถาปนา8 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
ผู้อำนวยการนายกรกฤช ชื่นธีรพงศ์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สีน้ำเงิน - เหลือง
เพลงมาร์ชแสลงโทนพิทยาคม
เว็บไซต์http://www.salangpit.com/

โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในบุรีรัมย์ ประเภทสหศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการฯพณฯสุขวิช รังสิตพล ประกาศจัดตั้งเมื่อ 8 พฤษภาคม 2540 ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา ประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 โดยฯพณฯสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ตั้งอยู่ริม ถนน 2445 กม.22 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) หมู่ที่ 1 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์โคกเบาะดอน เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2537 เป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-2-3) ในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา โดยโรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม แต่งตั้งนายมุนินทร์ หลอมประโคน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน ทำหน้าที่ดูแลประสานงานโรงเรียนสาขาแห่งนี้

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]

ลำดับ นามผู้อำนวยการ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายมุนินทร์ หลอมประโคน พ.ศ. 2537-2550
2 นายประเสริฐชัย พิสาดรัมย์ พ.ศ. 2550-2554
3 นายกรกฤช ชื่นธีรพงศ์ พ.ศ. 2554-2561
4 นายจิระพงษ์ วัชเรนทร์วงศ์ พ.ศ. 2561-ปัจจบัน

การเรียนการสอน[แก้]

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 3 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 3 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 3 ห้องเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 2 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 2 ห้องเรียน
  • ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มี 2 ห้องเรียน

อาคารและสถานที่[แก้]

  • 1. อาคารเรียน 216/41ล (หลังคาทรงไทย) จำนวน 1 หลัง
  • 2. อาคารเรียน 108ล/27 จำนวน 1 หลัง
  • 3. หอประชุม แบบ 100/27 จำนวน 1 หลัง
  • 4. อาคารเรียนกึ่งถาวร ขนาด 5 ห้อง จำนวน 1 หลัง
  • 5. อาคารเรียนชั่วคราว ขนาด 6 ห้อง จำนวน 1 หลัง
  • 6. สนามบาสเกตบอลคอนกรีต จำนวน 2 สนาม
  • 7. ห้องน้ำห้องส้วมชาย - หญิง ขนาด 6 ที่ จำนวน 2 หลัง
  • 8. บ่อน้ำบาดาล ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 2 บ่อ
  • 9. ถังน้ำดื่มสะอาด จำนวน 4 ชุด
  • 10. ถนนคอนกรีต กว้าง 5 ม. ขนาด 156 + 215 + 115 ม.
  • 11. บ้านพักครู 203 จำนวน 2 หลัง
  • 12. บ้านพักครู 207 (บ้านพักผู้บริหาร) จำนวน 1 หลัง
  • 13. บ้านพักนักการภารโรง จำนวน 1 หลัง