โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3

พิกัด: 13°05′25″N 100°56′00″E / 13.090278°N 100.933364°E / 13.090278; 100.933364
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ละติน: LAEMCHABANG 3 MUNICIPALITY SCHOOL
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 444 หมู่ 10 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 ไทย
โทรศัพท์ 0-384-93368
โทรสาร 0-384-93368
พิกัด13°05′25″N 100°56′00″E / 13.090278°N 100.933364°E / 13.090278; 100.933364
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ลบ.๓ - TLB3
ประเภทมัธยมศึกษา
คำขวัญคุณธรรมเยี่ยม เปี่ยมความรู้
โยคา เว ชายเต ภูริ
(ปัญญาย่อมเกิดเพราะฝึกฝน)
สถาปนา12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ผู้ก่อตั้งเทศบาลนครแหลมฉบัง
หน่วยงานกำกับกระทรวงมหาดไทย
ผู้อำนวยการไทย นางพรรณพรรษ หัตถวงษ์
จำนวนนักเรียน1,227 คน ข้อมูลงานทะเบียน (ว.10 มิ.ย. 2558)
ขนาดของชั้นเรียนเฉลี่ยม.1 - ม.6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
ห้องเรียน25 ห้องเรียน 1 อาคารเรียน
พื้นที่16 ไร่เศษ 2 งาน 25 ตารางวา
สีสีเขียว   สีขาว  
เพลงมาร์ช ท.3
เว็บไซต์www.lcbs3.org Facebook โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3

โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 (อังกฤษ: Laemchabang 3 Municipality School) (อักษรย่อ: ท.ลบ.๓. - TLB 3) เป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ที่ ถนนเมืองใหม่ 3 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 ประเภทสหศึกษา (ชาย/หญิง) สังกัดสำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3 ขนาดเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน 25 ตารางวา เป็นโรงเรียนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง

ประวัติโรงเรียน[แก้]

ด้วยในปี พ.ศ. 2524 รัฐบาลได้เริ่มโครงการพัฒนาพื้นที่ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อกระจายความเจริญเติบโตไปส่วนภูมิภาคเรียกว่า โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) จึงมีโครงการจัดสร้างเมืองใหม่แหลมฉบัง โดยเวนคืนที่ดินสำหรับจัดเป็นสถานศึกษาด้วย เพราะคาดว่าในชุมชนเมืองใหม่แหลมฉบัง จะมีประชาชนอพยพเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมากประกอบกับคณะเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแหลมฉบัง โดยนายกเทศมนตรี นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ มีนโยบายสนับสนุนให้จัดการศึกษาต่อเนื่องจากระดับอนุบาลศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งได้ดำเนินการอยู่แล้วในโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 และ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง - เช็ง พรประภา)

ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ นายกเทศมนตรี และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีนโยบายจึงจัดตั้งโรงเรียนแห่งที่ 3 ขึ้น ในพื้นที่ ศษ.12

เนื่องจากเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง และบริเวณใกล้เคียงเป็นเขตที่มีการขยายตัว และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ความเจริญเติบโตของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และความสนใจศึกษาต่อของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ต้องการศึกษาต่อในสถานศึกษาท้องถิ่นเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้ง โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ขึ้น เพื่อเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6

และเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[1]

รางวัลที่ได้รับ และความภาคภูมิใจ[แก้]

  • ปีการศึกษา 2557 รางวัลศูนย์การเรียนรู้เพศวิถีศึกษาที่จัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ระดับประเทศ
  • ปีการศึกษา 2555 - 2557 รางวัลชมเชย 3 ปี "ธนาคารโรงเรียน" ระดับประเทศ ด้วยความมือจากธนาคารออมสิน (ซึ่งสร้างนิสัยรักการให้เรียนอย่างต่อเนื่อง)
  • ปีการศึกษา 2558 รางวัลชนะเลิศ กีฬาธนาคารโรงเรียนธนาคาร ออมสิน ปี 2558 ในระดับจังหวัดและรองชนะเลิศระดับภาคตะวันออก

หลักสูตรการเรียนการสอน[แก้]

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ระดับชั้นผู้สูงวัย

อาคารเรียน และสถานที่สำคัญ[แก้]

  • อาคารเรียน 1 เพชรบูรพา สร้างปี 2550
    • อาคารเรียน 5 ชั้น 47 ห้องเรียน
  • อาคารทรัพย์ปัญญา สร้างปี 2551
    • อาคารโดม 1 ชั้น
  1. เวทีการแสดง - สนามกีฬาในร่ม
  • อาคารเลิศปัญญา สร้างปี 255-
    • อาคาร 3 ชั้น
  1. ศูนย์อาหาร ชั้นที่ 1
  2. ห้องสมุด ชั้นที่ 2
  3. ห้องประชุม ชั้นที่ 3

ทำเนียบผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่[แก้]

ลำดับ ชื่อและนามสกุล เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 นางพรรณพรรษ หัตถวงษ์
(ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 30กันยายน

พ.ศ. 2565

ผู้อำนวยการคนแรก

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

13°05′25″N 100°56′00″E / 13.090278°N 100.933364°E / 13.090278; 100.933364{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้