โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
ที่ตั้ง
แผนที่
80/4 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
ข้อมูล
ชื่ออื่นTriamudomsuksa pattanakarn pathumthani
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล​สหศึกษา
คำขวัญปรัชญา
ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
คติพจน์
วิริเยน ทุกขมัจเจติ
คนล่วงทุกข์ได้ เพราะความเพียร
สถาปนาโรงเรียนลำลูกกา (ล.ก.)​
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 (57 ปี)

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา (ต.อ.พ.ล.)​
9 มิถุนายน พ.ศ. 2546 (20 ปี)

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี (ต.อ.พ.ปท.)​
21 มกราคม พ.ศ. 2557 (10 ปี)
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
จำนวนนักเรียน2,562 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566)[1]
ชั้นเรียนที่เปิดสอนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี██████ สีชมพู-สีน้ำเงิน
เพลงมาร์ชเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี​ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์http://www.tuppt.ac.th

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ​ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี​ (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา​ เขต 4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 80/4 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน-ลำลูกกา ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เป็นหนึ่งในโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน[2] และเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง[3] ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เป็นโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการและโรงเรียนประจำอำเภอลำลูกกา

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา การจัดชั้นเรียนแบบ 12-12-12/11-10-10 รวม 67 ห้องเรียน

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี มีเดิมชื่อว่า โรงเรียนลำลูกกา ได้รับการประกาศจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 โดยมีการเปิดรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีเดียวกัน ซึ่งในช่วงแรกได้ฝากนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนประชาบาลลำลูกกา (โรงเรียนชุมชนเลิศพินิจพิทยาคม ในปัจจุบัน) จนกระทั่งอาคารเรียนชั่วคราวหลังแรกก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2511 จึงได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนที่เป็นที่ตั้งปัจจุบัน โรงเรียนได้ทำการสอนเรื่อยมาจนในปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนจึงได้เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นครั้งแรก

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียนลำลูกกา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา ใช้อักษรย่อ ต.อ.พ.ล. ตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นของอำเภอลูกกาและสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ที่นิยมตั้งชื่อโรงเรียนตามโรงเรียนที่ได้รับความนิยม[4]

ต่อมาในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ใช้อักษรย่อ ต.อ.พ.ปท. เพื่อสนองนโยบายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่ต้องการให้มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ประจำจังหวัดปทุมธานี [5]

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

รายนามผู้บริหารโรงเรียนลำลูกกา
ลำดับ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายวิริยะ เวชวิธี อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2520
2. นายบุญนาค ภาสะพันธ์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2521
3. นายอนันต์ ทรงฤกษ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2534
4. นายวิวัฒน์ พวงมะลิต ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2537
5. นายโสภณ บำรงสงฆ์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539
6. นายกุศล กลแกม ผู้อำนวยการ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 16 มกราคม พ.ศ. 2544
7. นางทิพยรัตน์ เด่นดำรงวิทย์ ผู้อำนวยการ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545
8. นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ ผู้อำนวยการ 14 มกราคม พ.ศ. 2546 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546
รายนามผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา (Triam Udom Suksa Patthanakarn Lamlukka School)
ลำดับ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นางจำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ ผู้อำนวยการ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2546
2. นายถวิล ศรีใจงาม ผู้อำนวยการ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
3. นายปรีชา กล่ำรัศมี ผู้อำนวยการ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550-30 กันยายน พ.ศ. 2554
4. นายถวิล ศรีใจงาม ผู้อำนวยการ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550
5. นายปรีชา กล่ำรัศมี ผู้อำนวยการ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
6. นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อำนวยการ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
7. นายสมชาย ฟักทอง ผู้อำนวยการ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
8. ดร.สาทร สมบุญ ผู้อำนวยการ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 20 มกราคม พ.ศ. 2557
รายนามผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
1. ดร.สาทร สมบุญ ผู้อำนวยการ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 - (ไม่ทราบ ว/ด/ป)
2. นายนฤภพ ขันทับไทย ผู้อำนวยการ (ไม่ทราบ ว/ด/ป) - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 [6]
3. นายพิทักษ์ ตุ้มมี ผู้อำนวยการ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563
4. นายทศพงศ์ พีระพฤฒิพงศ์ ผู้อำนวยการ (ไม่ทราบ ว/ด/ป) - 30 กันยายน พ.ศ. 2564
5. นายพิษณุ เดชใด ผู้อำนวยการ 25 มกราคม พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

อาคารสถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนมีพื้นที่ 23 ไร่ 1 งาน 5 ตารางวา

  • อาคารเรียน 5 หลัง
  • อาคารอเนกประสงค์ 4 หลัง
  • บ้านพักครู 5 หลัง
  • บ้านพักภารโรง 1 หลัง

ระบบการเรียนการสอน[แก้]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีการจัดชั้นเรียนแบบ 12-12-12/11-10-10 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 12 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 11 ห้องเรียน) มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,562 คน มีการเปิดกลุ่มการเรียน ดังนี้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีทั้งหมด 10 ห้องเรียน ห้องละ 40 คน รวมทั้งระดับชั้น 400 คน ได้แก่[7]

มีห้อง Gifted สำหรับ ม.1 เพิ่ม 1 ห้อง (พ.ศ 2556)

มีห้อง MEP สำหรับม.1 เพิ่ม 1 ห้อง (พ.ศ 2556)

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีทั้งหมด 11 ห้องเรียน ห้องละ 40 คน รวมทั้งระดับชั้น 440 คน ได้แก่

  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ (MOU) จำนวน 1 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนภาษาเกาหลี - ญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนศิลปกรรม จำนวน 1 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนอุสาหกรรม จำนวน 1 ห้องเรียนต่อระดับชั้น
  • แผนการเรียนเกษตร​กรรม - คหกรรม จำนวน 1 ห้องเรียนต่อระดับชั้น

[8]

การรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานีเปิดรับสมัครนักเรียนและสอบคัดเลือกในช่วงเดือนมีนาคมทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 เช่นเดียวกับโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป โดยในแต่ละปีจะกำหนดจำนวนการรับและประเภทนักเรียนที่รับซึ่งโรงเรียนจะประกาศแจ้งผ่านในโรงเรียนและในเว็บไซต์ของโรงเรียนซึ่งสามารถตรวจสอบได้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับสมัครนักเรียนปีละประมาณ 480 คน โดยจะแบ่งออกเป็น นักเรียนในเขตพื้นที่บริการโดยการสอบคัดเลือกวัดความสามารถ นักเรียนในเขตพื้นที่บริการโดยการจับสลาก และนักเรียนทั่วไปไม่จำกัดเขตพื้นที่บริการ[7]

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะรับสมัครนักเรียนปีละประมาณ 440 คน โดยจะมีการแบ่งออกเป็นแผนการเรียนต่างๆ โดยจะแบ่งออกเป็น นักเรียนที่เรียนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี และนักเรียนที่เรียนจบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอื่นและนักเรียนที่จบจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี​ แต่ไม่ผ่านการคัดเลือก[8]

การเดินทาง[แก้]

สายที่ผ่านโรงเรียนแห่งนี้ ได้แก่

  • 374 รังสิต - ลำลูกกา คลอง 16 (ใช้รถ ปอ.6250 วิ่งแทน)
  • 374 ลำลูกกา คลอง 10 - ธัญบุรี คลอง 7 (ใช้รถสองแถววิ่งแทน)
  • 543 (เสริม) อู่บางเขน - กรมการปกครอง คลอง 9 (จอดเฉพาะส่งผู้โดยสารที่ฝั่งโรงเรียนเท่านั้น / มีให้บริการเฉพาะช่วงเช้า - เย็น ของวันธรรมดา)
  • 1117 โลตัส ลำลูกกา คลอง 6 - ธัญบุรี คลอง 8 (ใช้รถสองแถววิ่งแทน)
  • 6250 รังสิต - ลำลูกา คลอง 10
  • ต.117 (ม.รามคำแหง -) ปากทางลำลูกกา - ลำลูกกา คลอง 8

อ้างอิง[แก้]

  1. http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1013270192&Area_CODE=101704[ลิงก์เสีย] จำนวนนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
  2. "รายชื่อโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-19. สืบค้นเมื่อ 2011-03-24.
  3. "รายชื่อโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-24.
  4. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-24.
  5. http://202.29.215.169/sec39/e-loader/data/P1eYcrk86110616FriFeb2014.pdf[ลิงก์เสีย] ประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 เรื่องเปลี่ยนชื่อ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี
  6. https://www.sesao1.go.th/media/files/212_2561.pdf[ลิงก์เสีย] คำสั่งสำนักงานการศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ 212/2561 เรื่องย้ายและแต่งตั้งข้าราชการตรูและบุคลากรทางการศึกษา สายผู้บริหารสถานศึกษา ลำดับที่ 5 ย้ายนายนฤภพ ขันทับไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ไปเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษานารีวิทยา
  7. 7.0 7.1 ระเบียบการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566
  8. 8.0 8.1 ระเบียบการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°56′29″N 100°45′54″E / 13.941281°N 100.764897°E / 13.941281; 100.764897