โรงเรียนอนุบาลเชียงราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนอนุบาลเชียงราย
ANUBAN CHIANGRAI
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.บ.ช.ร.(ไม่นิยมใช้)
ประเภทโรงเรียนประถมศึกษา
คำขวัญสุโขปัญญา ปฏิลาโภ
(ความได้ปัญญาก่อให้เกิดความสุข)
สถาปนาพ.ศ. 2498
ผู้ก่อตั้งนายวิศิษฐ์ เรืองอัมพร
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
รหัส57010068
ผู้อำนวยการนายจำนงค์ พรมจันทร์
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1—6
จำนวนนักเรียน1,834 คน
สี███ ฟ้า และ
███ ชมพู
เพลงมาร์ชอนุบานเชียงราย
เว็บไซต์[1]

โรงเรียนอนุบาลเชียงราย เป็นสถานศึกษาของรัฐประจำจังหวัดเชียงราย พัฒนาการทางด้านการศึกษาของจังหวัดเชียงราย เปิดทำการสอนครั้งแรกใน วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498เดิมทีสังกัดกรมสามัญศึกษา โดยมีนายวิศิษฐ์ เรืองอัมพรเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ว่าราชการประจำจังหวัดมาเป็นประธานในพิธีเปิด แรกเริ่มมีนักเรียนทั้งสิ้น 27คน ครู2คน คือ นางสาวอุษา บุญค้ำเป็นครูประจำชั้น นางสาวศรีสะอาด สุขานุศาสตร์เป็นครูใหญ่ ปัจจุบันนี้โรงเรียนอนุบาลเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลศึกษาและประถมศึกษาปีที่1-6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 1,761 คน โรงเรียนอนุบาลเชียงรายยังประสบความสำเร็จกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ที่สามารถสอบเข้าโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงรายได้เป็นจำนวนมากทั้งหลักสูตร วิทย์คณิต[1]และหลักสูตรภาษาอังกฤษ[2] [3]


ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนอนุบาลเชียงราย ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 487 ถนนอุตรกิจ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ 6ไร่ 1งาน 57 ตารางวา เดิมทีสังกัดกรมสามัญศึกษา เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2497 โดยมีนายวิศิษฐ์ เรืองอัมพรศึกษาธิการจังหวัดเชียงรายเป็นผู้ขออนุมัติและงบประมาณการก่อสร้างต่อกรมสามัญศึกษา เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498โดยมีนายเลื่อน กฤษณะมาระ ผู้ว่าราชการจังหวัดหวัดเชียงรายในเวลานั้นมาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด แรกเริ่มมีนักเรียนทั้งสิ้น 27 คน ครู 2คน ได้แก่ นางสาวศรีสะอาด สุขานุศาสตร์เป็นครูใหญ่และมีนางสาวอุษา บุญค้ำเป็นครูประจำชั้น

1 มิถุนายน พ.ศ. 2505 นางสาวศรีสะอาด สุขานุศาสตร์ย้ายไปรับราชการต่อที่กรุงเทพมหานครทำให้ตำแหน่งครูใหญ่ว่างลง ทางกรมสามัญศึกษาจึงได้แต่งตั้งนางอุษา ตันสุวัฒน์ที่ดำรงตำแหน่งครูประจำชั้นในขณะนั้นมาดำรงตำแหน่งแทนนางสาวศรีสะอาด ในขณะเดียวกันบุคลากรทางโรงเรียน คุณครูและนักเรียนก็เพิ่มขึ้นจากก่อนด้วยเช่นกัน ภายหลังนางอุษา ตันสุวัฒน์ย้ายไปรับราชการต่อที่จังหวัดนครสวรรค์ และในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2507กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้นางสาวประเทือง โชติช่วงมาดำรงตำแหน่งแทนนางอุษา และได้โอนโรงเรียนอนุบาลเชียงรายจากกรมสามัญมาขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2521

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติได้แต่งตั้งนางสาวจุฑามาศ จันทร์เข็ม ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสุโขทัยมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการแทน นางสาวประเทือง โชติช่วงที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลแพร่ และได้มีการพัฒนาปรับปรุงและสร้างอาคารของโรงเรียนให้เพิ่มมากขึ้น จนในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2543นางสาวจุฑามาศ จันทร์เข็ม เกษียณอายุราชการ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2543สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติแต่งตั้งนายสายันห์ นุกุลมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเชียงราย และได้มีการพัฒนาอาหารกลางวันของนักเรียนให้รับประทานข้าวกล้องเนื่องจากต้องการให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและได้เพิ่มสนามเด็กเล่นของเด็กเช่นสนามบาสเก็ตบอลและสนามฟุตบอลให้มีพื้นที่มากขึ้น ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 นายสายันห์ นุกุลลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการและได้มีการโอนย้ายสังกัดโรงเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติเป็นสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แต่งตั้งนายปรีชา ศรีสุวรรณ์มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเชียงรายแทนนายสายันห์ นุกุล และได้มีการพัฒนาให้โรงเรียนมีที่กันฝนเพราะจะทำให้นักเรียนไม่เปียกเมื่อฝนตก พัฒนาหม้อกับข้าวเนื่องจากหม้อเก่านั้นไม่สะอาดพอ นอกจากนั้นยังปรับปรุงโรงอาหารและอาคารเรียน และได้ยกเลิกการับประทานข้าวกล้องเป็นอาหารกลางวันเนื่องจากนักเรียนไม่รับประทานข้าวกล้องจนทำให้โรงเรียนขาดทุนและเงินที่จะพัฒนาโรงเรียนซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานและได้มีการนำข้าวขาวมารับประทานแทนแต่ก็ยังมีการผสมข้าวกล้องลงไปเป็นบางครั้ง นอกจากนั้นยังได้นำร้านอาหารมาขายและเพิ่มร้านจำหน่ายกับข้าวในโรงอาหาร จนกระทั่งวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548นายปรีชา ศรีสุวรรณ์เกษียณอายุราชการ ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2549 นายจำนงค์ พรมจันทร์มารับตำแหน่งแทนนายปรีชา ศรีสุวรรณ์ และได้ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนให้ติดเครื่องปรับอากาศ ติดโทรทัศน์ตามห้องเรียนเพื่อดีต่อการศึกษาและการสอนของครู และได้สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ80พรรษาขึ้นเนื่งจากเล็งเห็นว่าห้องเรียนวิชาศิลปะและห้องเรียนวิชาการงานอาชีพคับแคบและอากาศไม่ถ่ายเท ต่อมานายมงคล สุภามณีเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการต่อจากนายจำนงค์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2554

14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เนื่องจากโรงเรียนอนุบาลเชียงรายมีพื้นที่เล็ก แคบและไม่สามารถขยับขยายได้ ฝ่ายบริหารจึงได้ทำการยุบโรงเรียนบ้านสันต้นเปารวมเข้ากับโรงเรียนอนุบาลเชียงราย และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอนุบาลเชียงราย (บ้านสันต้นเปา) เพื่อลดความแออัดภายในโรงเรียนและเพิ่มบุคลากรที่มีคุณภาพ รวมถึงรองรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษภาษาอังกฤษและห้องเรียนพิเศษจีน ในส่วนของโรงเรียนอนุบาลเชียงราย (บ้านสันต้นเปา) ฝ่ายบริหารได้จัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่และปรับปรุงอาคารเรียนเก่าที่ทรุดโทรมให้ทันสมัยและรองรับแก่ความต้องการของห้องเรียนพิเศษ ด้วยเหตุนี้ทำให้ได้มีการแบ่งให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5และ6 รวมถึงนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ย้ายไป เรียนที่โรงเรียนอนุบาลเชียงราย (บ้านสันต้นเปา) ส่วนนักเรียนห้องธรรมดาตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรียนที่โรงเรียนอนุบาลเชียงรายตามเดิม

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ทางโรงเรียนอนุบาลเชียงรายได้ทำการย้ายนักเรียนและบุคลากรบางส่วนจากโรงเรียนอนุบาลเชียงรายไปโรงเรียนอนุบาลเชียงราย (บ้านสันต้นเปา)ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา 4-6 ห้องทั้งหมด และครูบุคลากรบางส่วน

ปี 2563 ทางโรงเรียนได้แต่งตั้ง นายสมนึก จันทร์แดง เป็นผู้อำนวยการ

สัญลักษณ์[แก้]

  • คำขวัญ "มารยาทดี มีวินัย ใฝ่ศึกษา"
  • ปรัชญา "ความรู้ คู่คุณธรรม"
  • คติพจน์ "สุโขปัญญา ปฏิลาโภ(ความได้ปัญญาก่อให้เกิดสุข)"
  • ตรา โรงเรียนอนุบาลเชียงรายใช้สัญลักษณ์เป็นรูป อ ล้อมรอบ ตราดอกบัวตูม มี คติพจน์ และชื่อโรงเรียนล้อมรอบตรา อ ดอกบัว
  • เพลง "เพลงมาร์ชอนุบาลเชียงราย" เรียกโดยย่อว่า "เพลงมาร์ชอนุบาล"

อาคารเรียนและสถานที่อื่นๆ[แก้]

  • อาคารกาญจนาภิเษก เป็นอาคารของห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์(ห้องเรียนสีเขียว) ห้องประชุมใหญ่และห้องสมุด
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ50พรรษา เป็นอาคารที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมีพระชนมายุครบ50ปี เป็นอาคารเรียนของชั้นประถมศึกษาปีที่3,4,6และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์2 เป็นอาคารที่ใหญ่ที่สุดในโรงเรียน
  • อาคาร2 เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5และห้องปฏิบัติการทางภาษาอังกฤษ
  • อาคาร3 เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1
  • อาคาร4 เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2
  • อาคาร5 เป็นอาคารเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาล
  • อาคารเด็กหัวแหลม เป็นอาคารศึกษาของเด็กในโครงการเด็กหัวแหลมหรือGTX ซึ่งเป็นเด็กที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม สิ่งที่จะสอนคือวิชาที่เหนือหลักสูตรของแต่ละระดับ เช่นคณิตศาสตร์ม.1 วิทยาศาสตร์ม.1เป็นต้น
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ80พรรษา เป็นอาคารที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมีพระชนมายุครบ80ปี เป็นอาคารเรียนวิชาหมวดหมู่ศิลปะ
  • อาคารวิชาการงานอาชีพ เป็นอาคารฝึกงานและเรียนวิชาการงานอาชีพ
  • โรงอาหาร เป็นสถานที่ที่นักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน บางครั้งที่โรงเรียนประชุมใหญ่หรือประชุมผู้ปกครองก็มักใช้อาคารนี

อ้างอิง[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]