โรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย

พิกัด: 13°26′58″N 101°10′14″E / 13.4493183°N 101.1704582°E / 13.4493183; 101.1704582
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย
ANUBANPANATEUKSALAI SCHOOL

Anubanpanatsuksalai school
ตราประจำโรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย ชลบุรี
ตราประจำโรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย ชลบุรี
โรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
ที่ตั้ง
แผนที่
หมู่ที่ 6 ตำบลกุฎโง้ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ไทย 20140 ไทย
โทรศัพท์ 0-3846-1202
โทรสาร 0-3847-3919
พิกัด13°26′58″N 101°10′14″E / 13.4493183°N 101.1704582°E / 13.4493183; 101.1704582
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.พ.ล.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญพัฒนาความรู้ เชิดชูคุณธรรม นำเทคโนโลยี
สถาปนาพ.ศ. 2465
ผู้ก่อตั้งพระอนทอาษา นายอำเภอพนัสนิคม
หน่วยงานกำกับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรีเขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1020080113
ระดับปีที่จัดการศึกษาอนุบาล - ประถม
สีน้ำเงิน-ขาว
เพลงมาร์ชโรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย
เว็บไซต์www.anubanpanas.ac.th Facebookโรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย

โรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย เป็นโรงเรียนรัฐบาล แบบสหศึกษา เปิดสอนในระดับอนุบาล ประถมศึกษา ในอำเภอพนัสนิคม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติโรงเรียน[แก้]

แต่เดิมโรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย อาศัยอยู่ที่วัดใหม่ท้ายตลาด (วัดพิมพฤฒาราม) ตำบลพนัสนิคม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นสถานที่เรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 โดยมีพระอนทอาษา นายอำเภอพนัสนิคม เป็นผู้จัดการตั้งขึ้นให้ชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาลตำบลพนัส" ในขณะนั้น นายยาลยานันท์ เป็นศึกษาธิการอำเภอพนัสนิคม

ต่อมาสมัยหลวงชรัมภิรารักษ์ เป็นนายอำเภอพนัสนิคม และนายเสงี่ยม เจริญฮวด (นายเสงี่ยม วัฒนธรรม) เป็นศึกษาธิการอำเภอพนัสนิคม สมัยนั้นมาเป็นประธานในงานเปิดโรงเรียน และให้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอพนัสนิคม "พนัสศึกษาลัย" นักเรียนและครูจากโรงเรียนวัดใหม่ท้ายตลาด จึงย้ายมาทำการเรียนการสอนที่โรงเรียนหลังใหม่

  • ปี พ.ศ. 2479 ทางราชการให้ตั้งโรงเรียนรัฐบาลขึ้น และราชการได้วางระเบียบใหม่ให้โรงเรียนรัฐบาลเท่านั้นให้ชื่อว่า โรงเรียนประจำอำเภอ ดังนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประชาบาล ตำบลกุฏโง้ง 1(พนัสศึกษาลัย) จนกระทั่งในปัจจุบันให้ชื่อว่า "โรงเรียนอนุบาลพนัสศึกษาลัย"

ในปี พ.ศ. 2478 ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงครามถูกโจมตีทางอากาศ โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จพระยา ได้อพยพครูและนักเรียนฝึกหัดครูจากธนบุรีมาอาศัยโรงเรียนนี้ นักเรียนและครูจึงย้ายไปเรียนที่วัดใหม่พิมพฤฒารามชั่วคราว จนถึง พ.ศ. 2488 เหตุการณ์ปกติจึงย้ายมาเรียนที่เดิม

  • ปี พ.ศ. 2496 เปิดชั้นเด็กเล็ก รับนักเรียนอายุ 5-7 ปี และเปิดตั้งแต่ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา พ.ศ. 2502 เปิดชั้นเรียนมัธยมสามัญ สังกัดกองการศึกษาพิเศษ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นประถมศึกษาตอนปลาย (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-7)
  • ปี พ.ศ. 2523 ได้โอนเข้าสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • อัตลักษณ์ของโรงเรียน (School Identity) เรียนดี วินัยเด่น (Good Learning Good Moral)
  • เอกลักษณ์ของโรงเรียน (School Unique) ต้นแบบโครงการโรงเรียนในฝัน (Lap Schools Project)
  • คำขวัญ ลูก น.พ.ล. เรียนดี มีคุณธรรม"

การศึกษา[แก้]

  • ระดับอนุบาล
  • ระดับประถมศึกษา
  • ระดับsunny

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

  • อนุบาล
  • ประถมศึกษา
  • โรงเรียนสองภาษา
  • โรงเรียนสามภาษา

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°26′58″N 101°10′14″E / 13.4493183°N 101.1704582°E / 13.4493183; 101.1704582{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้