โรงเรียนหนองไผ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหนองไผ่
ตราประจำโรงเรียนหนองไผ่
ป้ายด้านหน้าโรงเรียนหนองไผ่
ที่ตั้ง
แผนที่


พิกัด15°59′38″N 101°03′51″E / 15.994026°N 101.064190°E / 15.994026; 101.064190พิกัดภูมิศาสตร์: 15°59′38″N 101°03′51″E / 15.994026°N 101.064190°E / 15.994026; 101.064190
ข้อมูล
ชื่ออื่นอักษรย่อ: น.ผ. (NP)
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญอาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ
(กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย)
สถาปนา16 มกราคม 2507 (2507-01-16)
ผู้ก่อตั้งชนินทร์ สุพลพิชิต
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
รหัส1067380608[1]
ผู้อำนวยการอารีรัตน์ ชูรวง
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
พื้นที่80 ไร่
สี████ ชมพู - ฟ้า
เพลงมาร์ชชมพูฟ้า
ดอกฟ้าสีชมพู
เว็บไซต์www.nongphai.ac.th
อัปเดตล่าสุด: 31 ตุลาคม 2564

โรงเรียนหนองไผ่ (อังกฤษ: Nongphai School, อักษรย่อ: น.ผ.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ตั้งอยู่เลขที่ 700 หมู่ 6 ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ห่างจากเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ 58 กิโลเมตร มีพื้นที่ 80 ไร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประวัติ[แก้]

การก่อตั้ง[แก้]

โรงเรียนหนองไผ่ ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดทำการสอนเมื่อปีการศึกษา 2507[2] เป็นโรงเรียนสหศึกษา ทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องในปีการศึกษา 2506 นักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ของอำเภอหนองไผ่ ไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่จะศึกษาต่อภายในอำเภอ การเดินทางไปศึกษาต่อที่อำเภอเมืองมีระยะทางไกลมาก การคมนาคมไม่สะดวก ผู้ปกครองนักเรียนจำนวนหนึ่งได้ทำหนังสือไปที่อำเภอหนองไผ่ เพื่อขอให้ทำเรื่องขออนุญาตเปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในปีการศึกษา 2507 โดยมีเงื่อนไขว่าอำเภอหนองไผ่จะต้องจัดหาที่ดินจำนวนไม่น้อยกว่า 35 ไร่ และจะต้องมีอาคารเรียนชั่วคราว ซึ่งอำเภอหนองไผ่ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขทั้ง 2 ประการได้สำเร็จ ได้จัดสรรที่ดินสำหรับจัดตั้งโรงเรียนเนื้อที่ 80 ไร่ ซึ่งเป็นที่สงวนของกระทรวงมหาดไทย สงวนไว้สำหรับตั้งสถานที่ราชการของอำเภอหนองไผ่

สำหรับอาคารเรียน พ่อค้า ประชาชน และข้าราชการ ร่วมกันจัดงานวันครู (15 - 17 มกราคม 2507) เพื่อหารายได้เป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และดำเนินการก่อสร้างอาคารไม้ชั้นเดียว 4 ห้องเรียน กรมสามัญศึกษา (กรมวิสามัญเดิม) แต่งตั้งให้นายชนินทร์ สุพลพิชิต ครูโรงเรียนเพชรพิยาคม อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในโรงเรียนหนองไผ่ และบรรจุแต่งตั้ง นายธีรรัตน์ กิจจารักษ์ วุฒิ กศ.บ. ดำรงตำแหน่งครูตรีโรงเรียนหนองไผ่อีก 1 คน

โรงเรียนหนองไผ่ ได้ขยายเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นลำดับ นายชนินทร์ สุพลพิชิต ครูใหญ่นั้น ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนหนองไผ่ ในปีการศึกษา 2525 และปีการศึกษา 2527 ตามลำดับ เมื่อโรงเรียนหนองไผ่มีอายุการก่อตั้งครบ 20 ปี คณะศิษย์เก่าและครู - อาจารย์ โรงเรียนหนองไผ่ ได้จัดหาทุนตั้งมูลนิธิ "อาจารย์ชนินทร์ สุพลพิชิต" เพื่อนำดอกผลเป็นการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนหนองไผ่สืบไป

โรงเรียนในพระสังฆราชูปถัมภ์[แก้]

ปี พ.ศ. 2526 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระเมตตาธิคุณ โปรดรับโรงเรียนหนองไผ่ไว้ในพระอุปถัมภ์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2526 โดยผู้อำนวยการโรงเรียนหนองไผ่เข้าเฝ้าเพื่อถวายตัวและรับพระโอวาท ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ต่อมาโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างหอพระ "พระพุทธปฏิมาวาสนัฎฐารสม์" พระพุทธประจำพระองค์ที่ทำพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวโรกาสพระชนมายุครบ 7 รอบ ซึ่งโรงเรียนหนองไผ่ได้ดำเนินการทำพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างหอพระ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2529 การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเดือนธันวาคม 2529 และได้นำความขึ้นกราบทูล เพื่อขอประทานพระพุทธรูปมาประดิษฐาน ณ โรงเรียนหนองไผ่ สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานให้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2530 ซึ่งได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) และเพื่อเป็นสิริมงคล เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นศูนย์รวมจิตใจ ของครู นักเรียน บุคลากรโรงเรียนหนองไผ่ ตลอดจนประชาชนทั่วไป

สัญลักษณ์[แก้]

ตราประจำโรงเรียน[แก้]

สัญลักษณ์โรงเรียนหนองไผ่ลักษณะเป็นวงกลม 3 ชั้น บรรจตัวอักษร น.ผ. ซึ่งเป็นอักษรย่อชื่อโรงเรียนหนองไผ่อยู่ภายใต้ฉัตร 3 ชั้น หมายถึง สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเมตตารับโรงเรียนหนองไผ่ไว้ในพระอุปถัมภ์ ตอนล่างวงกลมมีข้อความว่า "โรงเรียนหนองไผ่" และ "ในพระสังฆราชูปถัมภ์" โค้งตามลักษณะวงกลม

สีประจำโรงเรียน[แก้]

  • สีชมพู ██ หมายถึง ผู้มีความรักในเพื่อนมนุษย์ รักความก้าวหน้า รักความสามัคคี
  • สีฟ้า ██ หมายถึง ความสดชื่นแจ่มใส ใฝ่ดี มีคุณธรรม มีใจบริสุทธิ์

เพลงประจำโรงเรียน[แก้]

  • เพลง มาร์ชชมพูฟ้า (ทำนอง, คำร้อง: ประเสริฐ สร้อยอินทร์)
  • เพลง ดอกฟ้าสีชมพู (ทำนอง, คำร้อง: ประเสริฐ สร้อยอินทร์)

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ลำดับที่ รายนามผู้บริหาร ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายชนินทร์ สุพลพิชิต พ.ศ. 2507 – 2529
2 นายสมนึก ยุวพันธุ์ พ.ศ. 2529 – 2532
3 ว่าที่ร้อยตรีวิชา ปานใจ พ.ศ. 2532 – 2535
4 นายนิโรธ ป้อมเมฆี พ.ศ. 2535 – 2543
5 นายสมจิต ชุนดี พ.ศ. 2543 – 2546
6 นายทรงศักดิ์ ศรีประเสริฐ พ.ศ. 2546 – 2552
7 นายชนินทร์ สะพรั่ง พ.ศ. 2553 – 2555
8 นายชัยชาญ ปัญญาพวก พ.ศ. 2555 – 2557
9 นายไพโรจน์ กระจ่างพันธ์ พ.ศ. 2557 – 2561
10 นายพัชริน ภู่ชัย พ.ศ. 2561 – 2563
11 นางสาวอารีรัตน์ ชูรวง พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]