โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
Ratanaratbumrung School
ตราโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.ร. / R.R.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สถาปนา4 กรกฎาคม พ.ศ. 2460
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส05700501
ผู้อำนวยการนายวรรณชัย รังษี
เพลงมาร์ชโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
เว็บไซต์[1]

โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง เป็นสถานศึกษาประจำอำเภอบ้านโป่ง เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลของกระทรวงศึกษาธิการ[1] จำนวนนักเรียน 45,670 คน (พ.ศ. 2558) จำนวนบุคลากร 3,589 คน (พ.ศ. 2558)

ประวัติโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง[แก้]

โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง (อังกฤษ: Ratanaratbumrung School) เป็นโรงเรียนประจำอำเภอบ้านโป่ง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2460 โดย พระพิทักษ์สมุทรเขตต์(นายฟื้น อินทรวัชระ) เป็นนายอำเภอบ้านโป่งขณะนั้น ได้ขอที่ดินจากพระปลัดจิ๋ว ภู่ทอง วัดบ้านโป่ง ได้เนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน ที่ดินนี้ติดต่อกับที่ของวัดบ้านโป่ง แล้วดำเนินการเรี่ยไรเงินจากราษฎร ได้เงินอีก 2,700 บาท นายบุญนาค กลิ่นหอม พาราษฎรตัดไม้จากตำบลต่าง ๆ มาจ้างช่างสร้างโรงเรียนเป็นทรงปั้นหยาชั้นเดียวหลังคามุงจากยาว 24 เมตร กว้าง 10 เมตร มี 4 ห้องเรียนให้ชื่อว่า "โรงเรียนนินภูมิ" ตามชื่อบรรดาศักดิ์ของหลวงนินภูมิบดี (นายฟื้น อินทรวัชระ) โรงเรียนนินภูมิได้ทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2461 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมถึงชั้นมัธยมปีที่ 2 จนถึง พ.ศ. 2470 ติดต่อกับ พ.ศ. 2471 ก็ต้องล้มเลิกเพราะโรงเรียนตั้งอยู่ห่างไกลชุมชน
ใน พ.ศ. 2471 หลวงสาครคชเขตต์ นายอำเภอบ้านโป่งเป็นผู้ขอตั้งเป็นโรงเรียนรัฐบาล เปิดเป็นสถานศึกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2471 มีนามว่า "โรงเรียนสาครศึกษา" ใช้ที่ทำงานสุขาภิบาลเป็นตัวโรงเรียน บรรจุนักเรียนได้ 30 คน ต่อมาจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ต้องแบ่งนักเรียนไปเรียนที่โรงพัสดุของสุขาภิบาลซึ่งอยู่ใกล้ๆกับโรงเรียน รับนักเรียนได้อีก 20 คน ระยะต่อมานักเรียนเพิ่มขึ้นอีก พอดีกับทางราชการปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่เสร็จ จึงยกที่ว่าการอำเภอหลังเก่าให้เป็นที่เรียนของนักเรียน ทำให้มีที่เรียนกว้างขึ้น ในขณะนั้นโรงเรียนมีครู 4 คน มีนักเรียนประมาณ 40 คน

ภาพหน้าโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุงปัจจุบัน

ต่อมาหลวงสาครคชเขตต์เห็นว่าที่เรียนยังคับแคบ จึงดำริสร้างตัวโรงเรียนขึ้นใหม่แต่ยังไม่มีโอกาส ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นได้เสด็จ ออกมาตรวจราชการที่อำเภอบ้านโป่ง หลวงสาครคชเขตต์จึงกราบทูลขอเงินจัดสร้างโรงเรียนประจำอำเภอบ้านโป่ง พระองค์จึงประทานเงินให้ 300 บาท เป็นทุนเริ่มต้นในการจัดสร้างโรงเรียน ต่อมาได้รับเงินจากกระทรวงศึกษาธิการอีก 3,000 บาท และเรี่ยไรจากประชาชนได้อีก 1,172 บาท จึงเริ่มเตรียมการปลูกสร้างโรงเรียน แต่ยังไม่ทันได้ลงมือก่อสร้างหลวงสาครคชเขตต์ต้องย้ายไปรับราชการที่อื่น หลวงบุรินทรามาตย์ (พระบำรุงบุรีราช) มารับราชการเป็นนายอำเภอบ้านโป่งแทน ได้ดำเนินการเรี่ยไรต่อ ได้เงินรวมกับเงินเดิมเป็นเงิน 5,966 บาท จึงได้จ้างช่างปลูกสร้างโรงเรียนลงในที่ดินของอำเภอใกล้กับที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง เป็นเรือนทรงปั้นหยา 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ยาว 14 เมตร กว้าง 10 เมตร รวม 6 ห้องเรียน บรรจุนักเรียนได้ประมาณ 160 - 200 คน

ราวปี พ.ศ. 2478 ขุนบำรุงรัตนบุรีมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอบ้านโป่ง ได้ขอความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะขุนพรหมดำรงศึกษากร(ศึกษาธิการอำเภอบ้านโป่ง)และคณะกรรมการอำเภอจนได้เงินมาจำนวน 12,478 บาทและได้งบจากกระทรวงศึกษาธิการอีก 5,000 บาท ทำการขอซื้อที่ดินจากญาติโยมของพระปลัดจิ๋ว พู่ทองเจ้าของที่ดินซึ่งมีที่ดินเหลืออยู่เป็นที่ 2 ไร่ 1 งาน อยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนหลังเดิม (โรงเรียนนินภูมิ) และในขณะเดียวกันนี้ได้ซื้อที่ดินทางด้านหลังของโรงเรียนเดิม (โรงเรียนนินภูมิ)ไว้เป็นเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 12 ไร่ 300 ตารางวา ได้รื้อถอนเรือนของญาติโยมพระปลัดจิ๋ว พู่ทองที่อยู่ในเนื้อที่ของโรงเรียนไปปลูกสร้างเป็นการชดเชยให้ ในเนื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการขายให้โรงเรียนในที่ที่อยู่ติดกับเนื้อที่ของโรงเรียนทางด้านทิศใต้ ต่อจากนั้นก็ได้ดำเนินการปลูกสร้างโรงเรียนเป็นอาคารตึก 2 ชั้นมี 3 มุข ยาว 50 เมตร กว้าง 9.50 เมตร การก่อสร้างสิ้นเงินทั้งสิ้น 17,478 บาท [อาคาร ๒ ในบริเวณโรงเรียนปัจจุบัน (ปัจจุบันได้รื้อถอนเพื่อสร้างอาคารหอประชุมแล้ว)] สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2479 เปิดใช้เป็นสถานศึกษาตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา ในนามโรงเรียนประจำอำเภอบ้านโป่ง "รัตนราษฎร์บำรุง"

พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้ และในปี พ.ศ. 2515 ได้รับอนุมัติให้เปิดชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง มาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการอนันต์ บุญแต่งได้ขอบริจาคจากศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธา จัดซื้อที่ดินด้านหลังโรงเรียนเพิ่มเติมได้อีก 2 งาน 8 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 13 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายบุญนาค กลิ่นหอม พ.ศ. 2461-2471
2 นายม้วน โรจน์โพธิ์ พ.ศ. 2471-2473
3 ขุนรัตนครีพศึกษากร พ.ศ. 2473-2478
4 นายสวัสดิ์ ประดิษฐ์ดวง พ.ศ. 2478-2580
5 นายพัฒนพงษ์(ฉัตร) ศุกรโยธิน พ.ศ. 2480-2481
6 นายผาด วัฒนพงษ์ พ.ศ. 2481-2484
7 นายสง่า ดีมาก พ.ศ. 2484-2495
8 นายจรัญ เศรษฐบุตร พ.ศ. 2495-2498
9 นายช้อน พลนิรันดร์ พ.ศ. 2498-2511
10 นายวิชัย จะวะสิต พ.ศ. 2511-2518
11 นายจรรยา มานิตกุล พ.ศ. 2518-2523
12 นางโฉมยง สุพัฒนบุตร พ.ศ. 2523-2526
13 นายประวิทย์ คุมมณี พ.ศ. 2526-2533
14 นายเดชา มุกด์มณี พ.ศ. 2533-2536
15 นายหงษ์ ศรีกำเหนิด พ.ศ. 2536-2539
16 นายสุวิทย์ มานิตกุล พ.ศ. 2539-2542
17 นายปฏิภาณ ทับประยูร พ.ศ. 2542-2547
18 นายอนันต์ บุญแต่ง พ.ศ. 2547-2554
19 นายจำรัส มากแก้ว พ.ศ. 2554-2554
20 นายรัชชัยย์ ศรสุวรรณ พ.ศ. 2554-2559
21 นางสาวจุฑามาศ เกิดแก้วฟ้า พ.ศ. 2559-2560
22 นายนิวัตร วงศ์วิลัย พ.ศ. 2560-2562
23 นายวรรณชัย รังสี พ.ศ. 2562-2566

รางวัล[แก้]

  • รองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันวงดนตรีลูกทุ่งประเภททีม ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 61 ปี 2554
  • รองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันภาพยนตร์สั้น ระดับ ม.ปลาย เพื่อคัดเลือกตัวแทนจังหวัดราชบุรี ในงานศิลปนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 61 ปี 2554 ด้วยภาพยนตร์สั้นเรื่อง My Mind
  • ชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันภาพยนตร์สั้น ระดับ ม.ปลาย เพื่อคัดเลือกตัวแทนจังหวัดราชบุรี ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 62 ปี 2555 ด้วยภาพยนตร์สั้นเรื่อง Grateful
  • ชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันภาพยนตร์สั้น ระดับ ม.ต้น เพื่อคัดเลือกตัวแทนจังหวัดราชบุรี ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 63 ปี 2556 ด้วยภาพยนตร์สั้นเรื่อง Mr.Green
  • ชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันภาพยนตร์สั้น ระดับ ม.ต้น เพื่อคัดเลือกตัวแทนจังหวัดราชบุรี ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 67 ปี 2560 ด้วยภาพยนตร์สั้นเรื่อง คู่คลอง
  • รองชนะเลิศอันดับที่ 2 การแข่งขันภาพยนตร์สั้น ระดับ ม.ต้น เพื่อคัดเลือกตัวแทนภาคกลางและภาคตะวันออก ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 67 ปี 2560 ได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับประเทศที่เมืองทองธานี จ.นนทบุรี ด้วยภาพยนตร์สั้นเรื่อง My Canal

เทศกาลภายในโรงเรียน[แก้]

  • รัตนฟิล์มอวอร์ด (Ratana Films Award) การประกวดภาพยนตร์ระดับโรงเรียน เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555
  • รัตนสตาร์ชาเลนจ์ (Ratana Star Challenge) การประกวดนักร้องระดับโรงเรียน เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555

อ้างอิง[แก้]

  1. โรงเรียนในโครงการ(มัธยมศึกษา) เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ดู ศูนย์ที่ 7 (ราชบุรี-กาญจนบุรี) กลุ่มเครือข่ายที่ “ราชบุรี. โรงเรียนมาตรฐานสากล. สืบค้น 20-11-2554.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]