โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล
Holy Redeemer Muangphon School

Holy Redeemer Muangphon School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ถ.พ.
คำขวัญมารยาทดี มีวินัย
โรงเรียนส่งเสริมความสะอาด
สถาปนา16 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี 317 วัน)
หน่วยงานกำกับสพป. ขอนแก่น  เขต 3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการปภาพรรษ เตชะตานนท์
ระดับปีที่จัดการศึกษาประถมวัย - ประถมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี   สีแดง สีขาว
เพลงปณิธานมหาไถ่
เว็บไซต์www.mahataiphon.ac.th

โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล ตั้งอยู่ในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) การก่อตั้งโรงเรียนได้เริ่มลงมือตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ศกเดียวกัน ตัวอาคารเรียนจัดสร้างเป็นอาคารชั้นเดียว ตัวอาคารยาวทั้งสิ้น 42 เมตร กว้าง 8 เมตร ประกอบด้วยห้องเรียน 5 ห้องเรียน ห้องธุรการ ห้องอำนวยการ ห้องพักครู ห้องสมุด

โครงการการจัดสร้างโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล เริ่มขึ้นราว ปี พ.ศ. 2505 เนื่องจากบาทหลวงแฮรี่ นีล อธิการโบสถ์ในสมัยนั้นได้เล็งเห็นความจำเป็นของการศึกษาให้แก่เด็กนั้นซึ่งทั้งสองประการนี้เยาวชนเมืองพลยังขาดอยู่ ในปี พ.ศ. 2507 บาทหลวงวีรพงศ์ วัชราทิตย์ รับช่วงงานจากบาทหลวงแฮรี่ นีล เช่นเดียวกันบาทหลวงวีรพงศ์ วัชราทิตย์ ก็เห็นสมควรถึงความต้องการทางศีลธรรมและการศึกษาในท้องถิ่นเมืองพล บาทหลวงวีรพงศ์ วัชราทิตย์ จึงเริ่มการติดต่อคณะซิสเตอร์เซนต์โมจากมาเลเซียโดยให้ซิสเตอร์เป็นผู้อำนวยการและกิจการของโรงเรียน และทำงานขอเงินทุนเพื่อจัดตั้งโรงเรียนต่อไป เงินทุนในการจัดสร้างอาคารต่างๆ ของโรงเรียนรวม 3 หลัง คือตัวอาคารเรียน ห้องสุขา เรือนพักครู ได้มาจากเงินทุนส่วนกลางของมิสซังโรมันคาทอลิกอุดรธานีจากองค์การกุศลต่าง ๆ ในคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งในประเทศและนอกประเทศ และผู้มีจิตศรัทธาอื่น ๆ ซึ่งรวมค่าใช้จ่าย ๆ ในการก่อสร้างจำนวนมากทั้งสิ้นรวมราว 138,000 บาท

เนื่องจากต้องใช้เงินทุนในการก่อสร้างจำนวนมากซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองแก่กองทุนกลางอย่างยิ่ง โรงเรียนจึงจำเป็นต้องสามารถที่จะเลี้ยงตนเองได้หลังจากที่สร้างเสร็จและดำเนินกิจการแล้ว ดังนั้นในเรื่องค่าเล่าเรียนจึงจำต้องจัดให้พอแก่การใช้จ่ายภายในโรงเรียน โดยพยายามให้เหมาะสมแก่ระดับของรายได้ของประชาชนในเขตเมืองพล โรงเรียนจึงกำหนดเก็บค่าเล่าเรียนคนละ 450 บาทต่อภาคเรียน ค่าธรรมเนียม 900 บาท ต่อปี

หลักสูตร[แก้]

ในด้านวิชาการการสอนดำเนินตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้การเอาใจใส่เป็นพิเศษในวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอนนี้พยายามให้อยู่ในระดับที่จัดว่าสูงของประเทศ เฉพาะระดับของนครหลวงของประเทศเรา เพื่อนักเรียนอันเป็นที่รัก

การบริหารงาน[แก้]

ด้านการบริหารงานโรงเรียน บาทหลวงวีรพงศ์ วัชราทิตย์ ได้ดำเนินการบริหารงานโรงเรียนในตำแหน่งผู้จัดการ ปี พ.ศ. 2508 - 2514 นางสาวสมจิต ชุนประเสริฐ บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ ปี พ.ศ. 2515 - 2520 บาทหลวงศิริชัย เล้ากอบกุล บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ ปี พ.ศ. 2521 - 2523 บาทหลวงบุญรอด เวียงพระปรก บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ ปี พ.ศ. 2524 ซิสเตอร์อัมรัตยา กระบิลโกวิท บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ ปี พ.ศ. 2525 - 2527 ซิสเตอร์วิมาลา เล้ากอบกุล บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ ปี พ.ศ. 2528 ซิสเตอร์อนุกูล หริพงศ์ บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ

ปี พ.ศ. 2529 ซิสเตอร์หลุยส์มารี สมเจตน์ เสวตรวิทย์ บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการและผู้รับใบอนุญาต ปี พ.ศ. 2530 - 2535 ซิสเตอร์เซลิน ทรงสัตย์ บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการและผู้รับใบอนุญาต ปี พ.ศ. 2536 - 2545 และในปีการศึกษา 2546 ซิสเตอร์เซลิน ทรงสัตย์ ซิสเตอร์คณะพระกุมารเยซูได้ย้ายกลับภูมิลำเนา มุขนายกยอร์ช ยอด พิมพิสาร ได้แต่งตั้งให้ บาทหลวงประสิทธิ์ ตรงสหพงศ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงบัวทอง บุญทอด บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ ต่อมาในปีการศึกษา 2547 บาทหลวงสมพงษ์ เตียวตระกูล ได้มาบริหารงานในตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงบัวทอง บุญทอด บริหารงานในตำแหน่งผู้จัดการ

ในปีการศึกษา 2548 บาทหลวงสมพงษ์ เตียวตระกูล ได้ย้ายภูมิลำเนา มุขนายกยอร์ช ยอด พิมพิสาร ได้แต่งตั้งให้บาทหลวงบัวทอง บุญทอด ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล โดยมีนางสาวประไพ เตชะตานนท์ เป็นครูใหญ่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 จนถึงปัจจุบัน

ในปีการศึกษา 2539 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ต่อมาได้มีการพัฒนาโรงเรียนครบทั้ง 7 ปัจจัย และได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีการศึกษา 2542 - 2546 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นที่ได้รับรางวัลพระราชทาน

ในปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นรางวัลพระราชทาน และเด็กหญิงอชิรญาณ์ ไตรชัชวาล นักเรียนชั้น ป.6/1ได้รับรางวัลนักเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]