โรงเรียนพานพิเศษพิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพานพิเศษพิทยา
Phan Phiset Phitthaya School
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนพานพิเศษพิทยา
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด19°34′39.69″N 99°44′42.78″E / 19.5776917°N 99.7452167°E / 19.5776917; 99.7452167
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.พ.ย.
ประเภทมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญกีฬาเด่น เรียนดี มีวินัย
สถาปนาโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) (พฤษภาคม พ.ศ. 2494) โรงเรียนพานพิเศษพิทยา (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517)
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1057205002
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี███ ชมพู
███ ฟ้า
เพลงมาร์ชพานพิเศษพิทยา ชมพู ฟ้า
เว็บไซต์http://www.phanpiset.ac.th/web56/

โรงเรียนพานพิเศษพิทยา (อังกฤษ: Phan Phiset Phitthaya School; ย่อ: พ.พ.ย. , P.P.Y.) หรือชื่อเดิม โรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) เป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ประเภทสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 (เชียงราย และพะเยา) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 250 หมู่ 1 ตำบลสันติสุข อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ นายกานตเชษฐ์ ถาคำ

ป้ายหน้าโรงเรียนพานพิเศษพิทยา

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนพานพิเศษพิทยาในอดีต
หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนพานพิเศษพิทยา

โรงเรียนพานพิเศษพิทยา เริ่มเปิดสอนเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2494 ในนามโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) โดยมีพื้นที่ของโรงเรียนอยู่บริเวณหลังที่ว่าการอำเภอพานในปัจจุบัน ในขณะนั้นมีครู 2 คน มีนายโชค บุญเสริมศิริ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2498 โรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) ย้ายมาตั้งในบริเวณพื้นที่ของโรงเรียนพานพิเศษพิทยาในปัจจุบัน มีนายโชค บุญเสริมศิริ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ได้เริ่มเปิดสอนโดยอาศัยพื้นที่ของโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) เป็นที่ทำการเรียนการสอน เปิดรับนักเรียนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนายชโลม คชเสนีย์ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2518 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนพานพิเศษพิทยาขึ้น เปิดรับสมัครนักเรียนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 61 คน โอนนักเรียนชั้น ม.ศ.2 เดิม จำนวน 64 คน จากโรงเรียนพานพิทยาคมมาด้วย จึงมีนักเรียนรวม 125 คน ครู-อาจารย์ 8 คน นักการภารโรง 2 คน

ปี พ.ศ. 2519 กรมสามัญศึกษาสั่งยุบโรงเรียนพานมัธยมสามัญ (พาน ช.ร.8) และให้โอนทรัพย์สิน นักเรียน 270 คน ครู-อาจารย์ 11 คน นักการภารโรง 2 คน ให้กับโรงเรียนพานพิเศษพิทยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีนายณัฐ ทองธรรมชาติ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2523 เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนายณัฐ ทองธรรมชาติ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

ปี พ.ศ. 2528 มีนักเรียน 1,410 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายมันทา พวงมะลิ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2535 มีนักเรียน 905 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายประยูร ยศสุนทร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2537 มีนักเรียน 1,110 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายรัศมี บ้านกลาง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2538 มีนักเรียน 1,280 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 7 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน มีนายแสวง จันทร์ถนอม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2541 มีนักเรียน 1,402 คน จำนวน 36 ห้องเรียน ครู-อาจารย์ 56 คน นักการภารโรง 5 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน และพนักงานขับรถ 1 คน มีนายปิ่น ผลสุข ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2543 มีนักเรียน 1,343 คน จำนวน 36 ห้องเรียน ครู-อาจารย์ 56 คน นักการภารโรง 4 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 7 คน มีนายอุดม สุยะ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2545 มีนักเรียน 1,225 คน ครู-อาจารย์ 56 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายเกษม หมื่นตาบุตร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2549 มีนักเรียน 1,124 คน ครู-อาจารย์ 51 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายเกษม หมื่นตาบุตร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และโรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ โรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน

ปี พ.ศ. 2552 มีนักเรียน 932 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายสนอง สุจริต ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชดำเนินเปิดหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โรงเรียนพานพิเศษพิทยา

ปัจจุบันโรงเรียนพานพิเศษพิทยา มีนักเรียน 268 คน ครู-อาจารย์ 57 คน นักการภารโรง 3 คน พนักงานรักษาความปลอดภัย 1 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีนายกานตเชษฐ์ ถาคำ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายโชค บุญเสริมศิริ พาน ชร.8
2 นายชโลม คชเสนีย์ พาน ชร.8 - 2518
3 นายณัฐ ทองธรรมชาติ พ.ศ. 2518 - 2528
4 นายมันทา พวงมะลิ พ.ศ. 2528 - 2535
5 นายประยูร ยศสุนทร พ.ศ. 2536 - 2537
6 นายรัศมี บ้านกลาง พ.ศ. 2537 - 2538
7 นายแสวง จันทร์ถนอม พ.ศ. 2538 - 2539
8 นายปิ่น ผลสุข พ.ศ. 2540 - 2543
9 นายอุดม สุยะ พ.ศ. 2543 - 2543
10 นายเกษม หมื่นตาบุตร พ.ศ. 2543 - 2552
11 นายสนอง สุจริต พ.ศ. 2552 - 2554
12 นายไชยนคร ขุมคำ พ.ศ. 2554 - 2561
13 นายกานตเชษฐ์ ถาคำ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

อาคารเรียนและสถานที่[แก้]

แผนผังโรงเรียนพานพิเศษพิทยา
อาคาร 1 อาคารสันติสุข โรงเรียนพานพิเศษพิทยา
  • หมายเลข 1 อาคาร 1 อาคารสันติสุข เป็นอาคาร 3 ชั้น เป็นอาคารประจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีห้องที่สำคัญอื่นๆได้แก่ ห้องกลุ่มงานอำนวยการ ห้องกลุ่มงานนโยบาย แผนงาน และสารสนเทศ ห้องกลุ่มงานกิจการนักเรียน ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องแนะแนว ห้องพยาบาล ห้องจริยธรรม ห้องประชุมณัฐ ทองธรรมชาติ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย ห้องธนาคารโรงเรียน (ธนาคารออมสิน) และศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
  • หมายเลข 2 ลานจำปี
  • หมายเลข 3 ลานจำปา
  • หมายเลข 4 อาคาร 2 อาคารชัยมงคล เป็นอาคาร 3 ชั้น เป็นอาคารประจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีห้องที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการทางเคมี ศูนย์ปฏิบัติการทางชีววิทยา ศูนย์ปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปและดนตรีนาฏศิลป์ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และห้องกิจกรรม
  • หมายเลข 5 โรงรถ
  • หมายเลข 6 อาคาร 3 อาคารจอมแว่ เป็นอาคาร 3 ชั้น เป็นอาคารประจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีห้องที่สำคัญอื่นๆได้แก่ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องกลุ่มงานจัดการศึกษา ห้องประกันคุณภาพสถานศึกษา ห้องเกียรติยศแสดงพัฒนาการและประวัติของโรงเรียน ศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ศูนย์ปฏิบัติการทางภาษา ศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ และศูนย์ปฏิบัติการพิมพ์ดีด
  • หมายเลข 7 อาคารฝึกงาน
  • หมายเลข 8 โรงอาหาร
  • หมายเลข 9 ลานเพลินชมพูฟ้า
  • หมายเลข 10 อาคารศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา
  • หมายเลข 11 อาคารฝึกงานและคหกรรม
  • หมายเลข 12 อาคารหอประชุม ชมพู-ฟ้า
  • หมายเลข 13 สนามกีฬา
  • หมายเลข 14 เสาธงและที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา
  • หมายเลข 15 ลานอโศก
  • หมายเลข 16 ลานตะแบก
  • หมายเลข 17 สวนวรรณศิลป์
  • หมายเลข 18 อาคารสภานักเรียน
  • หมายเลข 19 หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และศูนย์วัฒนธรรมอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
  • หมายเลข 20 อาคารศูนย์ต่อต้านยาเสพติด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารโรงเรียนพานพิเศษพิทยา

หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี[แก้]

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โรงเรียนพานพิเศษพิทยา
มุมหนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายในหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

ห้องสมุดโรงเรียนพานพิเศษพิทยา เดิมอยู่ชั้นหนึ่งของอาคาร 2 อาคารชัยมงคล ขนาด 5 ห้องเรียน มีบรรณารักษณ์ดำเนินงานห้องสมุด 1 คน คือ อาจารย์วาริณี จิตต์สุวรรณ และทีมงานห้องสมุด คือ อาจารย์ศิริอัมพร ฉัตรทอง อาจารย์กรองนภา ผกาผล ห้องสมุดมีความคับแคบและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ดังนั้นผู้อำนวยการโรงเรียน คือ นายเกษม หมื่นตาบุตร ได้จัดทำโครงการสร้างอาคารหอสมุดขึ้นมาใหม่ โดยริเริ่มสร้างอาคารหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ขึ้นและเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 3,000,000 บาท จากชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพานพิเศษพิทยา หน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา และพ่อค้าประชาชน ในอำเภอพาน และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยนายบรรจง สุทธิคมน์ เป็นประธานในพิธีร่วมกับ นายยรรยง พัวพันพัฒนา ประธานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานโรงเรียนพานพิเศษพิทยา นายลออ วาจิตดล ประธานชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนพานพิเศษพิทยา นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน สส.จังหวัดเชียงราย เขต 3 ผู้บริหารโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2 หัวหน้าส่วนราชการ ห้างร้านและประชาชนชาวอำเภอพาน การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2548 และเปิดให้บริการตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 เป็นต้นมา โดยอาคารหอสมุดมีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น สีชมพู ซึ่งชั้นที่ 1เป็นห้องสมุดสื่อสิ่งพิมพ์ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนชั้นที่ 2 เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริการคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย

เกียรติประวัติของโรงเรียน[แก้]

  • พ.ศ. 2530
  • พ.ศ. 2534
    • ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทการสร้างผลผลิตจากวัสดุท้องถิ่นในงานศิลปหัตถกรรมแห่งชาติครั้งที่ 43
  • พ.ศ. 2537
    • ได้รับพระราชทานโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การประกวดบรรยายธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
    • ได้รับเกียรติบัตรการจัดบรรยากาศด้านวิชาการดีเด่น การจัดการบริหารดีเด่น และการจัดบรรยากาศทางกายภาพดีเด่น จากกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2546
    • ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการ หนังสือเล่มโปรด จากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์
    • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ดีเยี่ยม จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงรายเขต 2
    • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาดีเด่นที่ดำเนินการป้องกันและแก้ไขยาเสพติด จากกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2547
    • ได้รับรางวัลเกียรติบัตรระดับทองโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จากกระทรวงสาธารณสุข
    • ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาที่จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น จากศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2548
    • ได้รับรางวัลการแข่งขันทักษะความสามารถทางวิชาการของนักเรียนเหรียญทอง อันดับที่ 6 ของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2549
    • ได้รับการรับรองให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนในฝัน ตามโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน
    • ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง
  • พ.ศ. 2550
    • เป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงรายเขต 2
  • พ.ศ. 2554
    • โรงเรียนรักการอ่านดีเด่น ตามโครงการส่งเสริมเยาวชนรักการอ่าน กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มย่อยที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36
    • ได้รับรางวัลจัดห้องสมุดที่มีบูรณาการแนวคิดตามนโยบาย ห้องสมุด 3 ดี มีคุณภาพ ระดับดี จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36
    • ได้รับรางวัลการจัดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีบูรณาการการอ่านกับกิจกรรมการเรียนการสอน ระดับดี จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงรายเขต 3
    • ได้รับรางวัลการจัดนวัตกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เป็นผลงานที่มีการปฏิบัติที่ดี ระดับดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36
    • โรงเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
  • พ.ศ. 2555
    • รางวัลเหรียญเงินการประกวดวงโยธวาทิต ระดับนานาชาติ ประจำปี 2555 ณ จังหวัดอุบลราชธานี

การศึกษาของโรงเรียนพานพิเศษพิทยา[แก้]

การจัดการศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนพานพิเศษพิทยาเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลกับทั้งมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การประชุมนักเรียนและคณาจารย์โครงการเปิดรั้ว Engineer Summer Camp ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เมื่อ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554
  • ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จัดชั้นเรียนปีละสี่ห้อง รวมทั้งระดับได้สิบสองห้อง โดยทุกห้องเรียนมีการจัดการศึกษาทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดชั้นเรียนปีละสี่ห้อง รวมทั้งระดับได้สิบสองห้อง (บางปีการศึกษารับห้าห้องเรียน) ทั้งนี้ ในแต่ละปีแบ่งห้องเรียนตามแผนการเรียนรู้ดังนี้
    • ห้องที่หนึ่ง : แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยแผนการเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานวิศวกรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ทางโรงเรียนได้ดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
    • ห้องที่สอง : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์
    • ห้องที่สามและห้องที่สี่ : แผนการเรียนรู้ทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไฟล์:ตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนพานพิเศษพิทยา.jpg
ตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนพานพิเศษพิทยา

ปัจจุบัน องค์กรหลักของโรงเรียนที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน)
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

การรับบุคคลเข้าศึกษา[แก้]

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1[แก้]

การประชุมผู้ปกครองและนักเรียน โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555
  • ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ใช้การสอบคัดเลือกเพื่อแยกห้องเรียน โดยผู้มีสิทธิเข้าศึกษาจะเข้ารับการทดสอบทางวิชาการในวิชาพื้นฐานตามวัน เวลา และต้องมีพฤติกรรมตามที่โรงเรียนกำหนด เครื่องมือในการทดสอบนั้นทางโรงเรียนจัดทำขึ้นตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4[แก้]

  • ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
  • การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ทางโรงเรียนดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้
    • ห้องที่หนึ่ง : แผนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
      • มีผลการเรียนเฉลี่ยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกรายวิชา ไม่น้อยกว่า 2.75
      • มีผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ไม่น้อยกว่า 2.75
      • มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
      • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนและยินดีปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน
    • ห้องที่สอง : แผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
      • มีผลการเรียนเฉลี่ยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกรายวิชา ไม่น้อยกว่า 2.50
      • มีผลการเรียนเฉลี่ยรายวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ไม่น้อยกว่า 2.50
      • มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
      • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนและยินดีปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน
    • ห้องที่สามและห้องที่สี่ : แผนการเรียนรู้ทั่วไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
      • มีผลการเรียนเฉลี่ยในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกรายวิชา ไม่น้อยกว่า 2.00
      • มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
      • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนและยินดีปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียน

การสำเร็จการศึกษา[แก้]

ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

การจัดคณะปกครอง[แก้]

โรงเรียนพานพิเศษพิทยามีการจัดนักเรียนเป็นคณะปกครอง ดังนี้

  • ██ คณะสีเหลือง
  • ██ คณะสีแดง
  • ██ คณะสีเขียว
  • ██ คณะสีม่วง

ศิษย์ที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หนังสือ[แก้]

  • โรงเรียนพานพิเศษพิทยา.
    • ( 2553 ). หนังสือวารสารพานพิเศษสัมพันธ์ สารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2553 . เชียงราย : โรงพิมพ์ดารินทร์เพรส.
    • ( 2551 ). หนังสือคู่มือนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โรงเรียนพานพิเศษพิทยา ปีการศึกษา 2551 เชียงราย : โรงพิมพ์ดารินทร์เพรส.

แหล่งข้อมูลออนไลน์[แก้]

  • กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป. ( 2553, 14 มกราคม ). สมเด็จพระเทพฯ เปิดหอสมุดประชาชน “เฉลิมพระเกียรติ ๔๘ พรรษา” . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 15 มกราคม 2553).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]