โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา

พิกัด: 17°38′49″N 100°07′55″E / 17.646939°N 100.132053°E / 17.646939; 100.132053
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
Pa Khanun Charoen Witthaya School
สพฐ.
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นป.น.
คำขวัญสิกฺเขน ชายเต ปญฺญ
ปัญญาเกิดเพราะการศึกษา
สถาปนาพ.ศ. 2500
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการนายสุนทร อ่อนวัง
สี███ สีเหลือง หมายถึง คุณธรรม
███ สีน้ำเงิน หมายถึง จิตใจ
เว็บไซต์http://www.pakanonschool.com
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ต้นขนุน

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 ใน 2 แห่งของตำบลคุ้งตะเภา และเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนทุกระดับชั้นรวมกันมากที่สุดในเขตตำบล โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนแบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษา และระดับก่อนประถมศึกษา

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 เดิมชื่อ โรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านป่าขนุน มีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายแฮ ประมวลทรัพย์ เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดคุ้งตะเภา ทำการสอนครั้งแรกมีนักเรียน 111 คน ครูจำนวน 3 คน เปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปี พ.ศ. 2536 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ในปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน[1]

ปัจจุบันโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเปิดทำการสอนเป็น 3 ระดับชั้น คือระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา มีนายสุนทร อ่อนวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เดิมชื่อ โรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 มีนายเฮ ประมวลทรัพย์ เป็นครูใหญ่ และมีนายเสงี่ยม ศาสตร์จำเริญ เป็นครูน้อยคนแรก มีนักเรียนชั้น ป. 1 กับ ป. 2 เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดคุ้งตะเภา ได้รับอนุญาตเปิดเป็นโรงเรียนประชาบาล เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2501

  • พ.ศ. 2502 เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียน 111 คน จำนวนครู 3 คน
  • พ.ศ. 2504 นายฟุ้ง ปิ่นรัตน์ เป็นครูใหญ่
ภาพชาวบ้านร่วมใจกันปราบพื้นที่เพื่อสร้างโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เมื่อปี พ.ศ. 2500
  • พ.ศ. 2513 ได้งบประมาณ 210,000 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ. ไต้ถุนสูง 6 ห้องเรียน และ ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม เป็นโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา มีนักเรียน 170 คน
  • พ.ศ. 2514 นายเสงี่ยม สาตรจำเริญ ได้ติดต่ออนามัยอำเภอเมือง สร้างถังน้ำประปาเป็นเงิน 7,000 บาท โรงเรียนสมทบอีก 7,000 บาท และได้เปิดสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียน 206 คน
  • พ.ศ. 2516 ได้รับงบประมาณ 2,000 บาท สร้างส้วม 1 หลัง 3 ที่นั่ง ได้เงินภาษีบำรุงท้องที่ 3,500 บาท สร้างรั้วลวดหนามโรงเรียน
  • พ.ศ. 2518 ได้งบประมาณ 18,500 บาท โรงเรียนสมทบอีก 1,500 บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ ใต้ถุนต่ำ ไม่มีฝ่าเพดาน 3 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2519 ได้รับงบประมาณ 32,000 บาท สร้างบ้านพักครู 1หลัง
  • พ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณ 135,000 บาท สร้างอาคารแบบ ป.1 ฉ
  • พ.ศ. 2521 ได้รับงบประมาณ 45,000 บาท สร้างบ้านพักครูอีก 1 หลัง
  • พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณ 360,000 บาท สร้างอาคารแบบ อต.002 3 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2525 ได้สร้างรั้วคอนกรีตด้านหน้าโรงเรียน โดยได้รับการบริจาคของคณะครูผู้ปกครองและชุมชน
  • พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 201/2526 เป็นเงิน 320,500 บาท
  • พ.ศ. 2528 คณะครูจัดสร้างที่ประดิษฐ์สถานพระพุทธรูป ประจำสถานศึกษาหน้าเสาธงเป็นเงิน 11,020 บาท และได้เริ่มจัดทำโครงการอาหารกลางวัน โดยแบ่งกลุ่มแม่บ้านหมุนเวียนเลี้ยงอาหารกลางวันตลอดปีการศึกษา
  • พ.ศ. 2530 นางสุรินทร์ เสนาขันธ์ มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
  • พ.ศ. 2532 นายประจวบ โออุไร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และมี ดร.กมล ภู่ประเสริฐ รองเลขาธิการ สปช. มาเยี่ยมการจัดกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันนักเรียนของกลุ่มแม่บ้านและโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการอาหารกลางวันนักเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์
  • พ.ศ. 2535 จัดทอดผ้าป่าสามัคคี ได้เงิน 116,803.50 บาท ซื้อที่ดินติดด้านหลังโรงเรียนอีก 1 ไร่ 42 ตารางวาง
  • พ.ศ. 2536 ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 34 คน
  • พ.ศ. 2538 เกิดอุทกภัยน้ำท่วมโรงเรียน ระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร ได้รับงบประมาณช่วยเหลือ 40,000 บาท และได้รับงบประมาณอีก 110,000 บาท สร้างสนามบาสเกตบอลในปีเดียวกัน คณะครูได้จัดหาเงินซื้อที่ดินต่อไปอีก 40,000 บาท เป็นเนื้อที่ดิน 1 งาน 85 ตารางวา มอบให้โรงเรียน
  • พ.ศ. 2539 ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนขยายโอกาสแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน เป็นเงิน 1,640,000 บาท และเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2539 นายวิชัย ดีแท้ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ได้ปรับปรุงห้องพักครู ห้องบริหารใหม่
  • พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณ 72,000 บาท จัดทำรางน้ำและทาสีอาคาร ป.1ฉ จำนวน 2 หลัง
  • พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ สปช. 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2542 สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในโรงเรียน ความยาว ประมาณ 220 เมตร ผู้ใหญ่แสวง นวลจร บริจาคเงินสมทบจำนวน 18,000 บาท, ปรับปรุงอาคารเรียน ป.1 ฉ ใต้ถุนสูง จากพื้นดินเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก งบประมาณ 20,000 บาท, ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารโรงฝึกงานและบันไดอาคาร ป.1 ฉ งบประมาณ 68,000 บาท, ปรับปรุงระบบประปาภายในโรงเรียน งบประมาณ 72,000 บาท
นักเรียนโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
  • พ.ศ. 2543 ได้รับงบประมาณก่อสร้างลานกีฬาอเนกประสงค์ งบประมาณ 100,000 บาท, ได้รับบริจาคเครื่องดนตรีสากล จากคณะกรรมการสถานศึกษา ราคา 49,000 บาท
  • พ.ศ. 2544 ได้รับจัดสรรงบประมาณ สร้างส้วม แบบ สปช. 601/26 ราคา 101,000 บาท, ได้ต่อเติมอาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ/26 ชั้นล่างทำเป็นโรงอาคารและโรงครัวได้รับงบประมาณ เทพื้นคอนกรีต จำนวน 100,000 บาท และโรงเรียนสมทบต่อเติมอีก 78,858 บาท
  • พ.ศ. 2548 ทาสีอาคารเรียนแบบ ป.1ฉ จำนวน 3 หลัง งบประมาณ 37,000 บาท, ได้รับงบประมาณเปลี่ยนหลังคา อาคารเรียน แบบ ป.1 ฉ จำนวน 6 ห้องเรียน งบประมาณ 62,200.บาท, ได้จัดสร้างเวทีกิจกรรมหน้าเสาธง คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สูง 1 เมตร โดยชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาสนับสนุน งบประมาณ 45,000 บาท, ได้จัดสร้างป้ายชื่อโรงเรียนด้วยไม้เนื้อแข็งและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยคณะครูสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 10,000 บาท

ปัจจุบัน นายสุนทร อ่อนวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน[2]

หัวหน้าสถานศึกษา[แก้]

ครูใหญ่
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายเฮ ประมวลทรัพย์ พ.ศ. 2501พ.ศ. 2504
2. นายฟุ้ง ปิ่นรัตน์ พ.ศ. 2504พ.ศ. 2507
3. นายเสงี่ยม สาตรจำเริญ พ.ศ. 2507พ.ศ. 2526
อาจารย์ใหญ่
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายเสงี่ยม สาตรจำเริญ พ.ศ. 2526พ.ศ. 2530
2. นางสุรินทร์ เสนาขันธ์ พ.ศ. 2530พ.ศ. 2532
3. นายประจวบ โออุไร พ.ศ. 2532พ.ศ. 2539
4. นายวิชัย ดีแท้ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539พ.ศ. 2541
ผู้อำนวยการ
รายชื่อ ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายวิชัย ดีแท้ พ.ศ. 2541พ.ศ. 2552
1. นายสุนทร อ่อนวัง พ.ศ. 2553—ปัจจุบัน

สัญลักษณ์โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา[แก้]

ตราสัญลักษณ์โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา[แก้]

ตราประจำโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเป็นรูปวงรี ภายในมีข้อความ ปน. สีน้ำเงิน อันเป็นสีประจำโรงเรียน ระหว่างอักษรมีรูปคบเพลิง หมายถึงปัญญา แถบรอบนอกล้อมรอบด้วยชื่อโรงเรียนและสังกัดภายใต้พื้นหลังสีขาว

  • ป. หมายถึง ปัญญา
  • น. หมายถึง นำชีวิต

ความหมายอักษรย่อคือ ปัญญา เป็นแสงสว่างนำชีวิต ตรงกับพรพุทธพจน์ภาษาบาลีว่า “ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต” (สํ.ส. ๑๕/๖๑) นอกจากนี้ อักษร ป และ น ยังย่อมาจากชื่อโรงเรียนคือ โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา

ปรัชญาโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา[แก้]

เป็นพระพุทธพจน์ภาษาบาลีว่า "สิกฺเขน ชายเต ปญฺญา" แปลว่า ปัญญาเกิดเพราะการศึกษา

คำขวัญโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา[แก้]

นักเรียนโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา
ใฝ่หาความรู้ เชิดชูคุณธรรม
นำการพัฒนา รักษาวัฒนธรรม
พัฒนาตน พัฒนาคน พัฒนางาน
สืบสานวัฒนธรรมไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สีประจำโรงเรียน[แก้]

สีเหลือง และสีน้ำเงินเป็นสีประจำโรงเรียน ความหมายของสีประจำโรงเรียน คือมีจิตใจที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมอันสูงสุด โดยสีเหลือง หมายถึง คุณธรรม และสีน้ำเงิน หมายถึง จิตใจ

สีประจำชั้นประถมศึกษา[แก้]

สีเหลือง

สีประจำชั้นมัธยมศึกษา[แก้]

สีน้ำเงิน-เหลือง

ต้นไม้ประจำโรงเรียน[แก้]

ต้นไม้ประจำโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา คือ ต้นขนุน เป็นไม้มงคลและเป็นชื่อของหมู่บ้าน

พื้นที่ของสถานศึกษา[แก้]

อาณาบริเวณของสถานศึกษา[แก้]

ลักษณะที่ตั้งโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา ได้ใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่

อาคารสถานที่[แก้]

  • อาคารเรียนแบบ ป. 1 ฉ. ไต้ถุนสูง 6 ห้องเรียน
  • อาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ ใต้ถุนต่ำ ไม่มีฝ่าเพดาน 3 ห้องเรียน
  • บ้านพักครู 2 หลัง
  • อาคารแบบ ป.1 ฉ
  • อาคารแบบ อต.002 3 ห้องเรียน
  • อาคารอเนกประสงค์ แบบ สปช. 201/2526
  • โรงอาคารและโรงครัวใต้อาคารเรียนแบบ ป.1 ฉ/26
  • เวทีกิจกรรมหน้าเสาธง คอนกรีตเสริมเหล็ก
  • สนามบาสเกตบอล
  • ส้วม แบบ สปช. 601/26
  • ถังน้ำประปา

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา อยู่ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายคุ้งตะเภาถ้ำฉลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา มีเขตพื้นที่บริการนักเรียนจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 4 และหมู่ 7 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนหลังคาเรือนตั้งอยู่ห่างจากโรงเรียน ตั้งแต่ประมาณ 100 เมตร ถึง 5000 เมตร มีนักเรียนเดินทางมาโรงเรียนรถโดยสาร, เดินเท้า และใช้จักรยานยืมเรียน

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา นำเรียนจากหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาศึกษาเล่าเรียน ทั้งจากหมู่ 1-2 บ้านป่ากล้วย หมู่ 3 บ้านป่าขนุน หมู่ 4 บ้านคุ้งตะเภา และหมู่ 7 บ้านบ่อพระ รวมจำนวนประชากรในเขตพื้นที่บริการบ้านป่าขนุนทั้งชายหญิงประมาณ 1,650 คน จำนวนหลังคาเรือน 359 หลังคาเรือน

การจัดการศึกษา[แก้]

การเปิดการเรียนการสอนในช่วงชั้นต่าง ๆ

  • พ.ศ. 2502 เปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา
  • พ.ศ. 2536 ได้ขอเปิดทำการสอนขยายโอกาส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • พ.ศ. 2537 ได้ขอเปิดทำการสอนขยายโอกาส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
  • พ.ศ. 2538 ได้ขอเปิดทำการสอนขยายโอกาส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การรับบุคคลเข้าศึกษา[แก้]

ระดับก่อนเกณฑ์การศึกษา[แก้]

ระดับประถมศึกษา[แก้]

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

การสำเร็จการศึกษา[แก้]

ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จะได้รับอนุมัติประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จะได้ประกาศนียบัตรรับรองการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

การติดต่อโรงเรียน[แก้]

สามารถติดต่อโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาได้โดยทางโทรศัพท์เลขหมาย 0 5541 4821

อ้างอิง[แก้]

  1. โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. (2550). จุลสารแผ่นพับประชาสัมพันธ์โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา : ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ประจำปีการศึกษา 2550. อุตรดิตถ์ : โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. อัดสำเนา
  2. โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. (2552). ข้อมูลสารสนเทศโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ประจำปีการศึกษา 2552. อุตรดิตถ์ : โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา. อัดสำเนา

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

17°38′49″N 100°07′55″E / 17.646939°N 100.132053°E / 17.646939; 100.132053