โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑"

พิกัด: 14°13′41″N 100°34′39″E / 14.227933°N 100.577606°E / 14.227933; 100.577606
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑"
(Bang Pa-in "Rachanukroh 1" School)
ที่ตั้ง
แผนที่
214 หมู่ 6 ถนนปราสาททอง ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13160
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.น.๑
ประเภทโรงเรียนโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญคำขวัญ
ตั้งใจเรียน เพียรทำดี มีวินัย น้ำใจงาม
ปรัชญา
ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ
ผู้ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมประเสริฐในหมู่มนุษย์
สถาปนาพ.ศ. 2426 (141 ปี 115 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ท้องที่VDO ภาพจากโดรน
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1006140601 (ใหม่)
06140601 (เก่า)
ผู้อำนวยการโรงเรียนดร.เจนวุฒิ บุญชูพงศ์
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
จำนวนนักเรียนจำนวนนักเรียน
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สีเขียว ขาว    
เพลงเพลงประจำโรงเรียน
อันดับประเทศOBECQA (Office of Basic Education Commission Quality Award)
ต้นไม้ต้นราชาวดี
เว็บไซต์เว็บไซต์ http://www.racha1.ac.th/
เฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/racha1school/?locale=th_TH

โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑" (อังกฤษ : Bang Pa-in "Rachanukroh 1" School ; อักษรย่อ : ร.น.๑ , Racha 1) เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณถนนปราสาททอง ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา และเป็นและโรงเรียนประจำอำเภอบางปะอิน


ประวัติ[แก้]

โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑" มีที่ตั้งเดิมอยู่ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งจัดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับว่าเป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของประเทศ

ในปี พ.ศ. 2478 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 6,300 บาท เพื่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ในบริเวณทุ่งนาหลังที่ว่าการอำเภอบางปะอิน ซึ่งเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 33 ไร่ 2 งาน และต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ทรงได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนราชานุเคราะห์ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๘ (ชื่อโรงเรียนตั้งให้พ้องกับพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งต่อมากรมสามัญศึกษาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑" เช่นในปัจจุบัน (141 ปี)

โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑" ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2534, 2550, 2556, และ 2564

แผนการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2567[แก้]

ม.1 และ ม.4 รับห้องเรียนละ 40 คน (ยกเว้น ม.1/1 และ ม. 4/1 รับนักเรียน 36 คน)
ม.1 รับจำนวน 10 ห้องเรียน (396 คน)
- ม.1/1 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- ม.1/2 - ม.1/10
ม.4 รับจำนวน 9 ห้องเรียน (356 คน)
- ม.4/1 ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: Gifted for Pre-engineering (สร้างพรสวรรค์เตรียมวิศวกร)
- ม.4/2 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: Computer and Science-based (เน้นคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์)
- ม.4/3 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: Power of 10 Science Project (วิทยาศาสตร์พลังสิบ)
- ม.4/4 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์: Innovator (นวัตกร)
- ม.4/5 ห้องเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
- ม.4/6 ห้องเรียนศิลป์ - ภาษาญี่ปุ่น
- ม.4/7 ห้องเรียนศิลป์ - ภาษาจีน
- ม.4/8 ห้องเรียนศิลป์ - ภาษาเกาหลี
- ม.4/9 ห้องเรียนทั่วไป
หมายเหตุ:
- ม.4/1 ได้รับการออกแบบหลักสูตรจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- ม.4/3 ได้รับความร่วมมือของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และเครือข่ายมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
- ทุกห้องเรียนมีการปรับรายวิชาเพื่อการศึกษาต่อ พร้อมการตรวจสอบการศึกษาต่อผู้เรียนเป็นรายบุคคลจาก ดร.เจนวุฒิ บุญชูพงศ์

กำหนดการรับนักเรียน ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2567 (กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลง โปรดติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดจาก Facebook โรงเรียน)[แก้]

Facebook รร.บางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑"

เป้าหมายสร้าง Soft Power ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567[แก้]

การศึกษาต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำ

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑"[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 - ปัจจุบัน มีรายนามผู้อำนวยการโรงเรียนเรียงตามลำดับ ดังนี้

ลำดับ ชื่อ-สกุล ปีที่ดำรงตำแหน่ง
1 ขุนประจิดรุณเภท (เพี้ยนขะฤกษ์) พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2460
2 นายขำ ธรรมศิริ พ.ศ. 2460 - พ.ศ. 2464
3 ขุนศรีสถิตศึกษากร (ปลั่ง ศรีสถิต) พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2465
4 นายสวัสดิ์ พรรณทรัพย์ พ.ศ. 2466 - พ.ศ. 2471
5 นายเพิ่ม เนตรงาม พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2473
6 พลโทพลพัฒน์ สุวรรณชฎ (สังวาลย์ สุวรรณชฎ) พ.ศ. 2473 - พ.ศ. 2474
7 นายทองหล่อ สาทรประภา พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2474
8 นายรัตน์ อรุณ (รััตน์ จีนจู) พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2482
9 นายวรากร กัณตามระ พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2486
10 นายบุญอวบ บูรณะบุตร พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2495
11 นายฟื้น โรจนะเสถียร พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2497
12 นายเลื่อน วุฑณยากร พ.ศ. 2497 - พ.ศ. 2503
13 นายสำราญ วงศ์ทองคำ พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2519
14 นายสังเวียน ฉ่ำเฉลิม พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2525
15 นายประจวบ สมุทร พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2530
16 นายจักกฤษณ์ ธีระอรรถ พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2535
17 นายสุวัฒน์ ปานมุข พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
18 นายปลด โพธิสวัสดิ์ พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2539
19 นายพิสิษฐ์ รื่นกวี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543
20 นางสาวกาญจนา สอนง่าย พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544
21 นายประสิทธิ์ พ่วงภักดี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2545
22 นายสมพิศ ศุภพงษ์ พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2545
23 นายอำนวย เอกฐิน พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
24 นางสาวประเสริฐ อยู่นาน พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2551
25 นางธนาลัย ลิมปรัตนสีรี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552
26 นางจรรยา สุขประเสริฐ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554
27 นายคมสัน เปี่ยมชูชาติ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557
28 นายสุวิชช์ชัย อังกูรสุรชัย พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559
29 นายประจวบโชค สร้อยสม พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2566
30 ดร.เจนวุฒิ บุญชูพงศ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

14°13′41″N 100°34′39″E / 14.227933°N 100.577606°E / 14.227933; 100.577606