โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2542[1] เป็นโรงเบียร์ขนาดเล็ก (microbrewery) ลักษณะเป็นร้านอาหารที่มีโรงเบียร์ของตัวเอง ก่อตั้งโดย สุพจน์ ธีระวัฒนชัย มีหุ้นส่วนสำคัญคือ เสถียร เศรษฐสิทธิ์ และ ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ[2][3] ภายหลังทั้ง 2 ได้ร่วมหุ้น กับ ยืนยง โอภากุล เปิดบริษัทผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง ในเครื่องหมายการค้า คาราบาวแดงในปี พ.ศ. 2545

โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง เปิดบริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยเปิดสาขาแรกบน ถนนพระราม 3 เขตยานนาวา ก่อนจะใช้เวลา 6 ปีขยายไปยังสาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา และสาขาแจ้งวัฒนะ ระยะ 10 ปีต่อมา [4]

โดยก่อนจะผลิตคาราบาวแดงชึ้นมานั้น ยืนยง โอภากุลได้มีทรรศนะคติต่อเครื่องดื่มชูกำลัง ในนิตรสาร life & family ฉบับเดือนมิถุนายน ปี 2541[5] พูดถึง กระทิงแดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์มอมเอาแรงงาน แต่ภายหลังกลับกลอกสับปลับสร้างธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังเสียเอง[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เส้นทางความสำเร็จ “สุพจน์ ธีระวัฒนชัย” ผู้ปลุกปั้นโรงเบียร์อันดับ 1 “เยอรมันตะวันแดง” ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563
  2. “สุพจน์ ธีระวัฒนชัย”เจ็บแล้วจำ..! บทเรียนบนสังเวียนธุรกิจ bangkokbiznews.com สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563
  3. Forbes Thailand Lists ณัฐชไม ถนอมบูรณ์เจริญ forbesthailand.com สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563
  4. เช็กอิน ณ ตะวันแดง โรงเบียร์ ที่ไม่ใช่โรงเบียร์ ฐานเศรษฐกิจ สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2563
  5. "กรณี "แอ๊ด บาวแดง" ขึ้นปกฟอร์บส์ ทำให้ นึกถึง นักการเมืองบางคน ของจริง กับของปลอม มันต่างกัน". Pantip.
  6. เมืองเอก, ใหม่ (วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559). "เซียนแซวการเมือง 2 X: แอ๊ด คาราบาว นักร้องเพลงเพื่อชีวิตตัวเอง อุดมการณ์ตามหลังอุดมกิน". เซียนแซวการเมือง 2 X. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]