โรงพยาบาลเทิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลเทิง
Thoeng Hospital
ประเภทโรงพยาบาลชุมชน (ระดับ F1)
ที่ตั้ง146 หมู่ที่ 20 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 57160
ข้อมูลทั่วไป
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
จำนวนเตียง60
เว็บไซต์http://cro.moph.go.th/Hosp04

โรงพยาบาลเทิง เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอเทิง ขนาด 60 เตียง ตั้งอยู่ที่ 146 หมู่ 20 ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายบนเนื้อที่ 117 ไร่ 27 ตารางวา

ประวัติโรงพยาบาลเทิง[แก้]

เริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2482 โดยก่อตั้งเป็นสุขศาลาประจำตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2482 ก่อตั้งเป็นสุขศาลประจำตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยก่อสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว บนพื้นที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทิงในปัจจุบัน มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ 1 คน

พ.ศ. 2507 ได้รับการยกฐานะเป็นสถานีอนามัยชั้นสอง มีเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานอนามัยและผดุงครรภ์ ประจำอยู่ 2 คน

พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล จำนวน 100,000.- บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง โดยก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว บริเวณพื้นที่ข้างสถานีอนามัยชั้นสองเดิม

พ.ศ. 2516 ได้เปิดทำการด้านการรักษาพยาบาลและสาธารณสุข โดยมีแพทย์หมุนเวียนกันมาให้บริการ

พ.ศ. 2518 มีแพทย์มาประจำเป็นครั้งแรก คือ นายแพทย์ชูชัย คูสุวรรณ์

พ.ศ. 2519 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง และได้ทำการเปิดป้าย “โรงพยาบาลเทิง” ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยได้รับงบประมาณโครงการพัฒนาท้องถิ่นและเงินบริจาคจากประชาชนสร้างห้องเอกซเรย์ และห้องผ่าตัดเพิ่มเติม

พ.ศ. 2523 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอาคารผู้ป่วยในบนที่ดินที่ราชพัสดุ จำนวน 117 ไร่ 27 ตารางวา บ้านตั้งข้าว ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลเดิม 2 กิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่เดิมคับแคบ ไม่เพียงพอสำหรับการขยายพื้นที่ให้บริการ

พ.ศ. 2525 ได้เปิดให้บริการด้านการพยาบาล ส่งเสริม ป้องกันโรคแก่ชาวอำเภอเทิงอย่างเป็นทางการ

พ.ศ. 2539 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง เพื่อเพิ่มศักยภาพและขยายบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และมีการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน (ตึกผู้มีพระคุณ) เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง โดยเงินบริจาคจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโน) และได้ทำการเปิดให้บริการ เมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อรองรับจำนวนผู้มารับบริการที่เพิ่มขึ้น พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลให้สูงขึ้น

พ.ศ. 2555 ได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก - ผู้ป่วยใน จำนวน 1 หลัง และเริ่มเปิดให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดัน/เบาหวาน) และอาคารสำนักงาน ปี 2557[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://118.174.39.30/thoenghospital/index.php/homeinformation/hospitalhistory[ลิงก์เสีย]