โรคหมอทำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรคหมอทำ[1] (อังกฤษ: iatrogenesis, iatrogenic artifact) เป็นภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาหรือคำแนะนำทางการแพทย์จากผู้ใหบริการทางสาธารณสุข ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา เภสัชกร และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ไม่สำคัญว่าจะเป็นผลที่เกิดจากการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว การแพทย์ทางเลือกก็มีผลทำให้เกิดโรคหมอทำได้เช่นกัน

ภาวะที่ถูกจัดให้เป็นโรคหมอทำบางอย่างก็มีความชัดเจน เช่นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด หรืออาจเห็นได้ไม่ชัดเท่าและจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมจึงจะพิสูจน์ทราบได้เช่นปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของยาหลายๆ ชนิด

สาเหตุของการเกิดภาวะที่ถูกจัดให้เป็นโรคหมอทำ เช่น ความบังเอิญ ความผิดพลาดทางการแพทย์ การละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ การออกแบบอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ ความเครียด ฯลฯ

อ้างอิง[แก้]