ตำบลโมโกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โมโกร)
ตำบลโมโกร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Mokro
ตำบลโมโกรตั้งอยู่ในจังหวัดตาก
ตำบลโมโกร
ตำบลโมโกร
ที่ตั้งในจังหวัดตาก
พิกัด: 16°11′41.6″N 98°52′51.2″E / 16.194889°N 98.880889°E / 16.194889; 98.880889พิกัดภูมิศาสตร์: 16°11′41.6″N 98°52′51.2″E / 16.194889°N 98.880889°E / 16.194889; 98.880889
ประเทศไทย
จังหวัดตาก
อำเภออุ้มผาง
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด876.075 ตร.กม. (338.254 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2563)[2]
 • ทั้งหมด8,354 คน
 • ความหนาแน่น9.53 คน/ตร.กม. (24.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 63170
รหัสภูมิศาสตร์630803
เว็บไซต์www.mogro.go.th (อบต.โมโกร)
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลโมโกร เป็นตำบลในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของอำเภออุ้มผาง ห่างจากที่ทำการอำเภออุ้มผางประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดตากประมาณ 225 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 876.075 ตารางกิโลเมตร[1] พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและป่าไม้ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

หมู่บ้าน[แก้]

จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลโมโกรมีทั้งหมดรวม 7 หมู่ ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านปรอผาโด้
  • หมู่ที่ 2 บ้านตะเป่อพู
  • หมู่ที่ 3 บ้านแม่กลองคี
  • หมู่ที่ 4 บ้านแม่กลองใหญ่
  • หมู่ที่ 5 บ้านวะเบยทะ
  • หมู่ที่ 6 บ้านแม่กลองน้อย
  • หมู่ที่ 7 บ้านแม่กระแซ-ยะแม๊ะคี

ประชากร[แก้]

ตำบลโมโกรมีประชากรทั้งสิ้น 8,354 คน[2] ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ยกเว้นประชากรในหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นชาวไทยที่อพยพมาจากทางภาคเหนือ เช่น ลำปาง ลำพูน เชียงราย และกำแพงเพชร เป็นต้น ส่วนหมู่ที่ 4 กับหมู่ที่ 6 จะเป็นชาวไทยเชื้อสายม้ง

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบชาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เช่น ทำไร่ข้าวโพด ไรถั่ว ไร่พริก ไร่กะหล่ำ สวนผลไม้ ฯลฯ ซึ่งเป็นรายได้หลักของราษฎร ปัจจุบันได้มีเกษตรกรบางรายได้เริ่มทดลองนำกล้ายางพารามาปลูกในพื้นที่ทำกินของตนเองบ้างแล้ว

ปัญหาในพื้นที่[แก้]

  • ตำบลโมโกรเป็นตำบลที่มีพื้นที่การเพาะปลูกมากที่สุดในอำเภออุ้มผาง แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ได้ เพราะถูก พ.ร.บ.ป่าสงวน และ พ.ร.บ.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ประกาศทับ จึงไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ ทั้งที่ราษฎรได้อาศัยทำกินมานานเป็นร้อยปี
  • ประชากรส่วนใหญ่ยังมีปัญหาเรื่องการไม่รู้หนังสือไทย ซึ่งยังมีวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมเดิม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "สภาพทั่วไป". องค์การบริหารส่วนตำบลโมโกร. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ระบบสถิติทางการทะเบียน: รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2563 ตำบลโมโกร". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]