ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โมซาร์ท)
ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท
ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท (วาดโดยบาร์บารา คราฟต์ ใน ค.ศ. 1819)
เกิด27 มกราคม ค.ศ. 1756
ซัลทซ์บวร์ค ประเทศออสเตรีย
เสียชีวิต5 ธันวาคม ค.ศ. 1791 (35 ปี)
เวียนนา ประเทศออสเตรีย
สัญชาติออสเตรีย
อาชีพนักประพันธ์ดนตรี
บุตร• ไรมุนท์ เลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท
• คาร์ล โทมัส โมทซาร์ท
• โยฮัน โทมัส เลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท
• เทเรซีอา ค็อนสตันท์ซีอา อาเดิลไฮท์ ฟรีเดอริคเคอ อันนา มารีอา โมทซาร์ท
• อันนา มารีอา โมทซาร์ท
• ฟรันทซ์ ซาเวอร์ ว็อล์ฟกัง โมทซาร์ท
บุพการีเลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท
อันนา มารีอา แพร์เทิล
ญาติมารีอา อันนา โมทซาร์ท (พี่สาว)
ลายมือชื่อ

ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท (เยอรมัน: Wolfgang Amadeus Mozart, ออกเสียง: [ˈvɔlfɡaŋ amaˈdeːʊs ˈmoːt͡saʁt]; 27 มกราคม ค.ศ. 1756 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมทซาร์ทเกิดที่เมืองซัลทซ์บวร์ค เขามีงานประพันธ์เพลง 626 ชิ้นรวมทั้งอุปรากร (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวันนี และ ขลุ่ยวิเศษ ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้รับการนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย

ประวัติ[แก้]

วัยเด็ก (ค.ศ. 1756–1772)[แก้]

สถานที่เกิดของโมทซาร์ท (Getreidegasse 9, Salzburg, Austria)

โมทซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท (ค.ศ. 1719–1787) รองคาเปลล์ไมสเตอร์ในราชสำนักเจ้าชายอัครมุขนายกแห่งซัลทซ์บวร์ค กับอันนา มารีอา แพร์เทิล (ค.ศ. 1720–1778) ว็อล์ฟกัง อามาเด (โมทซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า "อมาเดอุส" ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกผู้รับศีลล้างบาป โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart") ได้แสดงให้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรีตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีทักษะการฟังที่ยอดเยี่ยม และมีความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขาตั้งแต่อายุห้าขวบ โมทซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และอัลเลโกร KV.3)

ครอบครัวโมทซาร์ทเดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ต: เลโอพ็อลท์, ว็อล์ฟกัง, และนันเนิร์ล

ระหว่าง ค.ศ. 1762–1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ซึ่งเป็นลูกจ้างของซีกิสมุนท์ ฟ็อน ชรัทเทินบัค เจ้าชายอัครมุขนายกแห่งซัลทซ์บวร์คในขณะนั้น) และมารีอา อันนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "นันเนิร์ล" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิกเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่มิวนิก, เอาคส์บวร์ค, มันไฮม์, แฟรงก์เฟิร์ต, บรัสเซลส์, ปารีส, ลอนดอน, เดอะเฮก, อัมสเตอร์ดัม, ดีฌง, ลียง, เจนีวา และโลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ ๆ อีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสำคัญอย่างโยฮัน โชเบิร์ท ที่กรุงปารีส และโยฮัน คริสทีอัน บัค (บุตรชายคนรองของโยฮัน เซบัสทีอัน บัค) ที่กรุงลอนดอน

เมื่อ ค.ศ. 1767 โมทซาร์ทได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโลกับไฮยาซิน (K. 38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลทซ์บวร์ค เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งอุปรากรสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียนกับนางบาสเตียน และ ผู้โง่เขลาจอมปลอม ตลอดช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี

ภาพเขียนแสดงโมทซาร์ทในวัยเด็ก

ในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งจากอัครมุขนายกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงานโดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมทซาร์ทได้เดินทางไปอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับอุปรากร อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ งานแต่งงานของฟีกาโร, ดอน โจวันนี, โคซิฟันตุตเต, ขลุ่ยวิเศษ ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากความใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น

โชคไม่ดีที่ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 อัครมุขนายกซีกิสมุนท์ ฟ็อน ชรัทเทินบัค สิ้นพระชนม์ อัครมุขนายกฮีโรนีมุส ฟ็อน ค็อลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา

รับใช้ราชสำนักซัลทซ์บวร์ค (ค.ศ. 1773–1781)[แก้]

ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท

โมทซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยวและยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอัครมุขนายกเสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับโยเซ็ฟ ไฮเดิน ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต

"ข้าต้องการพูดต่อหน้าพระเจ้า ในฐานะชายผู้ซื่อสัตย์ บุตรชายของท่านเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ข้าเคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือรู้จักเพียงในนาม เขามีรสนิยม และนอกเหนือจากนั้น เป็นศาสตร์ทางการประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
ในจดหมายที่โยเซ็ฟ ไฮเดิน เขียนถึง เลโอพ็อลท์ โมทซาร์ท


"มีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้จักเคล็ดลับที่จะทำให้ข้าหัวเราะ และสัมผัสจิตวิญญาณส่วนที่อยู่ลึกสุดของข้าเอง"
ว็อล์ฟกัง อมาเดอุส โมทซาร์ท กล่าวถึงโยเซ็ฟ ไฮเดิน


ใน ค.ศ. 1776 โมทซาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองซัลทซ์บวร์ค อย่างไรก็ดีเลอัครมุขนายกปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมทซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิกเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองเอาคส์บวร์ค และท้ายสุดที่มันไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย อย่างไรก็ดี แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอล็อยซีอา เวเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมทซาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไป และออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1778

เป็นอิสระที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1782–1791)[แก้]

ค็อนสตันท์เซอ เวเบอร์ ภรรยาของโมทซาร์ท

ใน ค.ศ. 1781 โมทซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอัครมุขนายก ฟ็อน ค็อลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมทซาร์ทที่เวียนนา โมทซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมทซาร์ทได้แต่งงานกับค็อนสตันท์เซอ เวเบอร์ นักร้องโซปราโน (ซึ่งเป็นน้องสาวของอล็อยซีอา เวเบอร์ ซึ่งโมทซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมทซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมทซาร์ทและค็อนสตันท์เซอมีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก

ค.ศ. 1782 เป็นปีที่ดีสำหรับโมทซาร์ท อุปรากรเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมทซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ตชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแชร์โตของเขาเอง

ระหว่าง ค.ศ. 1782–1783 โมทซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของโยฮัน เซบัสทีอัน บัค และจอร์จ ฟริดริก แฮนเดิล ผ่านบารอนก็อทฟรีท ฟัน สวีเทิน (Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมทซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบาโรกตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และ ซิมโฟนี หมายเลข 41

ในช่วงนี้เองโมทซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซ็ฟ ไฮเดิน โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเท็ตด้วยกัน และโมทซาร์ทก็ยังเขียนควอเท็ตถึงหกชิ้นให้ไฮเดิน ไฮเดินเองก็ทึ่งในความสามารถของโมทซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปลด์ พ่อของโมทซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมทซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นพวกฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมันคาทอลิก อุปรากรเรื่องสุดท้ายของโมทซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลพวกฟรีเมสัน

ชีวิตของโมทซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมทซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ

โมทซาร์ทใช้ชีวิตในช่วง ค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนาในอะพาร์ตเมนต์ที่จนถึงวันนี้ยังสามารถเข้าชมได้ที่เลขที่ 5 ถนนด็อมกัสเซอ หลังมหาวิหารนักบุญสเทเฟน (St. Stephen's Cathedral) โมทซาร์ทประพันธ์ งานแต่งงานของฟีกาโร และ ดอน โจวันนี ณ ที่แห่งนี้

บั้นปลายชีวิต[แก้]

บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมทซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมทซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กละน้อย และโมทซาร์ทรับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมทซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมทซาร์ท การเสียชีวิตของโมทซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ มรณบัตรของโมทซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะโรคไทฟอยด์ และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้มากขึ้น

โมทซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรควีเอ็มที่ยังประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าขาน โมทซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมทซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่น ๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมทซาร์ท

แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมทซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่น ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมทซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายใน ค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ

ใน ค.ศ. 1809 ค็อนสตันท์เซอได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ค.ศ. 1761–1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมทซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมทซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย

โมทซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์

ผลงานหลายๆชิ้น[แก้]

แค็ตตาล็อกเคิชเชิล (Köchel catalogue)[แก้]

ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมทซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมทซาร์ท และเป็นลูทวิช ฟ็อน เคิชเชิล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมทซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคิชเชิลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น "เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่าย ๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงแค็ตตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน

เพลงสวด[แก้]

  • Grande messe en ut mineur KV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ
  • Krönungsmesse (พิธีมิสซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeur KV.317 (1779)
  • Requiem en ré mineur KV.626 (1791, เวียนนา), แต่งไม่จบ
  • Veni sancte spiritus KV.47
  • Waisenhaus-Messe KV.139
  • Ave verum corpus KV.618

ละครเพลง[แก้]

  • Die Schuldigkeit des ersten Gebotes (ความผูกมัดของบัญญัติข้อที่หนึ่ง, KV 35, 1767, ซัลทซ์บวร์ค)
  • Apollo et Hyacinthus (อพอลโลและไฮยาซินท์, KV 38, 1767, ซัลทซ์บวร์ค)
  • Bastien und Bastienne (นายบาสเตียนและนางบาสเตียน, KV 50, 1768, เบอร์ลิน)
  • La finta semplice (ผู้โง่เขลาจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)
  • Mitridate, re di Ponto (ไมทริตาตี ราชาแห่งปอนตุส, KV 87, 1770, มิลาน)
  • Ascanio in Alba (อัสคานิโอในอัลบา, KV 111, 1771, มิลาน)
  • Il sogno di Scipione (ฝันของสคิปิโอเน่, KV 126, 1772, ซัลทซ์บวร์ค)
  • Lucio Silla (ลูชิโอ ซิลล่า, KV 135, 1772, มิลาน)
  • La finta giardiniera (คนสวนจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)
  • Il re pastore (ราชาแห่งท้องทุ่ง, KV 208, 1775, ซัลทซ์บวร์ค)
  • Thamos, König in Ägypten (ธามอส ราชาแห่งอียิปต์, KV 345, 1776, ซัลทซ์บวร์ค)
  • Zaide (ไซเดอ, KV 344, แต่งไม่จบ)
  • Idomeneo (อิโดเมเนโอ ราชาแห่งครีต, KV 366, 1781, มิวนิก)
  • Die Entführung aus dem Serail (การลักพาตัวจากฮาเร็ม, KV 384, 1782, เวียนนา)
  • L'oca del Cairo (ห่านแห่งไคโร, KV 422, แต่งไม่จบ)
  • Lo sposo deluso (บ่าวผู้ถูกลวง, KV 430, แต่งไม่จบ)
  • Der Schauspieldirektor (ผู้กำกับการแสดง, KV 486, 1786, เวียนนา)
  • Le nozze di Figaro (งานแต่งงานของฟีกาโร, KV 492, 1786, เวียนนา)
  • Don Giovanni (ดอน โจวันนี, KV 527, 1787, ปราก)
  • Così fan tutte (โคซิฟันตุตเต, KV 588, 1790, เวียนนา)
  • La Clemenza di Tito (ความเมตตาของติโต, KV 621, 1791, ปราก)
  • Die Zauberflöte (ขลุ่ยวิเศษ, KV 620, 1791, เวียนนา)

ซิมโฟนี[แก้]

  • Symphonie en fa majeur KV.75
  • Symphonie en fa majeur KV.76
  • Symphonie en fa majeur KV.Anh.223
  • Symphonie en ré majeur KV.81
  • Symphonie en ré majeur KV.95
  • Symphonie en ré majeur KV.97
  • Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.214
  • Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.216
  • Symphonie en sol majeur «Old Lambach» (2e édition) KV.Anh.221
  • Symphonie en ut majeur KV.96
  • Symphonie No 1 en mi b majeur KV.16 (1764-1765)
  • Symphonie No 4 en ré majeur KV.19
  • Symphonie No 5 en si bémol majeur KV.22
  • Symphonie No 6 en fa majeur KV.43
  • Symphonie No 7 en ré majeur KV.45
  • Symphonie No 8 en ré majeur KV.48
  • Symphonie No 9 en ut majeur KV.73
  • Symphonie No 10 en sol majeur KV.74
  • Symphonie No 11 en ré majeur KV.84
  • Symphonie No 12 en sol majeur KV.110
  • Symphonie No 13 en fa majeur KV.112
  • Symphonie No 14 en la majeur KV.114
  • Symphonie No 15 en sol majeur KV.124
  • Symphonie No 16 en ut majeur KV.128
  • Symphonie No 17 en sol majeur KV.129
  • Symphonie No 18 en fa majeur KV.130 (1772)
  • Symphonie No 19 en mi bémol majeur KV.132
  • Symphonie No 20 en ré majeur KV.133
  • Symphonie No 21 en la majeur KV.134 (1772)
  • Symphonie No 22 en do majeur KV.162 (1773)
  • Symphonie No 23 en ré majeur KV.181
  • Symphonie No 24 en si bémol majeur KV.182
  • Symphonie No 25 en sol mineur KV.183 (1773, Salzbourg)
  • Symphonie No 26 en mi bémol majeur KV.184
  • Symphonie No 27 en sol majeur KV.199
  • Symphonie No 28 en ut majeur KV.200
  • Symphonie No 29 en la majeur KV.201 (1774)
  • Symphonie No 30 en ré majeur KV.202
  • Symphonie No 31 en ré majeur «Paris» KV.297
  • Symphonie No 32 en sol majeur KV.318
  • Symphonie No 33 en ré bémol majeur KV.319
  • Symphonie No 34 en ut majeur KV.338
  • Symphonie No 35 en ré majeur «Haffner» KV.385 (1782)
  • Symphonie No 36 en ut majeur «Linz» KV.425
  • Symphonie No 38 en ré majeur «Prague» KV.504 (1786, Vienne)
  • Symphonie No 39 en mi bémol majeur KV.543 (1788, Vienne)
  • Symphonie No 40 en sol mineur KV.550 (1788, Vienne)
  • Symphonie No 41 en do majeur «Jupiter» KV.551 (1788, Vienne)

คอนแชร์โต[แก้]

  • Concertos pour flûte N°1 et 2 KV. 313 et 314 (1778, Mannheim)
  • Concerto pour flûte et harpe en do majeur KV.299 (1778, Paris)
  • Concerto pour cor No 1 en ré KV.412 (1782)
  • Concerto pour cor No 2 en mi dièse KV.417 (1783)
  • Concerto pour cor No 3 en mi bémol KV.447 (1783-1787)
  • Concerto pour clarinette en la majeur KV.622 (1791, Vienne)
  • Concerto pour basson en si bémol KV.191 (1774)
  • Concerto pour violon et orchestre No 1 en si bémol majeur KV.207
  • Concerto pour violon et orchestre No 3 en sol majeur KV.216
  • Concerto pour violon et orchestre No 5 en la majeur KV.219
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 1 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 37
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 2 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 39
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 3 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 40
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 4 บันไดเสียง จี เมเจอร์ KV 41
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 5 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 175
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 6 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 238
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนสามตัวและวงออร์เคสตรา หมายเลข 7 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 242
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 8 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Lützow) KV 246
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 9 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ (Jeunehomme) KV 271
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนสองตัวและวงออร์เคสตรา หมายเลข 10 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ KV 365
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 11 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 413
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 12 บันไดเสียง เอ เมเจอร์ KV 414
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 13 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ KV 415
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 14 บันไดเสียง อี เมเจอร์ KV 449
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 15 บันไดเสียง บี เมเจอร์ KV 450
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 16 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ KV 451
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 17 บันไดเสียง จี เมเจอร์ KV 453
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 18 บันไดเสียง บี เมเจอร์ KV 456
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 19 บันไดเสียง เอฟ เมเจอร์ KV 459
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 20 บันไดเสียง ดี ไมเนอร์ KV 466
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 21 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ (Elvira Madigan) KV 467
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 22 บันไดเสียง อี แฟลต เมเจอร์ KV 482
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 23 บันไดเสียง เอ เมเจอร์ KV 488
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 24 บันไดเสียง ซี ไมเนอร์ KV 491
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 25 บันไดเสียง ซี เมเจอร์ KV 503
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 26 บันไดเสียง ดี เมเจอร์ (Coronation) KV 537
  • คอนแชร์โตสำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา หมายเลข 27 บันไดเสียง บี แฟลต เมเจอร์ KV 595

แชมเบอร์มิวสิก[แก้]

  • Sonate pour violon et piano en ut majeur KV.296
  • Quatuors dédiés à Haydn :
    • Quatuor en sol majeur KV.387 (1782, Vienne)
    • Quatuor en ré mineur KV.421 (1783, Vienne)
    • Quatuor en mi bémol majeur KV.428 (1783, Vienne)
    • Quatuor en si bémol majeur «la chasse» KV.458 (1784, Vienne)
    • Quatuor en la majeur KV.464 (1785, Vienne)
    • Quatuor en do majeur «les dissonances» KV.465 (1785, Vienne)
  • Quatuors avec piano :
    • Quatuor avec piano n°1 en sol mineur KV.478 (1785)
    • Quatuor avec piano n°2 en mi bémol majeur KV.493 (1786)
  • Trio «Les Quilles» en mi bémol majeur pour piano, clarinette, et violon KV.498 (1786, Vienne)
  • Quintette avec clarinette en la majeur KV.581 (1789, Vienne)
  • Sérénade : Une petite musique de nuit KV.525 (1787, Vienne)

สื่อ[แก้]

Orchestral

Vocal

Piano

อื่น ๆ[แก้]

  • ภาพยนตร์เรื่อง อมาเดอุส (ค.ศ. 1984) โดยมิโลช โฟร์มัน นำเสนอเรื่องราวความรักของโมทซาร์ท ซึ่งออกจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Barry, Barbara R (2000). The Philosopher's Stone: Essays in the Transformation of Musical Structure. Hillsdale, New York: Pendragon Press. ISBN 1-57647-010-5. OCLC 466918491.
  • Deutsch, Otto Erich (1965). Mozart: A Documentary Biography. Peter Branscombe, Eric Blom, Jeremy Noble (trans.). Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-0233-1. OCLC 8991008.
  • Einstein, Alfred (1965). Mozart: His Character, His Work. Galaxy Book 162. Arthur Mendel, Nathan Broder (trans.) (6th ed.). New York City: Oxford University Press. ISBN 0-304-92483-0. OCLC 456644858.