โมกอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมกอล
ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2148 – 2163
กษัตริย์สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปสุลัยมาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เสียชีวิตพ.ศ. 2163
ซิงกอรา เมืองสงขลา อาณาจักรอยุธยา
บุตรสุลต่านสุลัยมาน ชาห์
ฟารีซี ชาห์

ดะโต๊ะ โมกอลล์ เป็นเจ้าเมืองสงขลาคนแรก นับถือศาสนาอิสลาม อพยพมาจากเมืองสาลัยในหมู่เกาะสุลาเวสี หรือชวา อดีตเป็นพ่อค้าเดินเรือสมุทร มีประสบการณ์ด้านการค้าทางเรือ การสู้รบ และการป้องกันการปล้นสะดมมาก่อน ได้อพยพพร้อมด้วยสมัครพรรคพวกเข้ามาอาศัยและตั้งสถานีการค้าที่หัวเขาแดง (อยู่ในสงขลาในเวลาปัจจุบัน) ท่านได้สร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างแข็งแรง ดะโต๊ะ โมกอลล์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2165

สมัยเมืองพัทลุงที่พะโคะ[แก้]

ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีการย้ายศูนย์อำนาจการปกครองของเมือง สทิงพระ (นิยายปรัมปราบอกว่า เพี้ยนจากคำว่า จะทิ้งพระ แต่ความจริงเมืองนี้มีชื่อมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยว่า สตรึงเพรียะ) มาอยู่บริเวณ วัดพะโคะ เมืองสทิงพระแห่งใหม่นี้เจริญรุ่งเรืองต่อมาระยะหนึ่ง จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ก็หมดความสำคัญลง และได้เกิดศูนย์อำนาจการปกครองท้องถิ่นแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณดังกล่าว โดยเรียกเมืองใหม่นี้ว่าเมืองพัทลุง ซึ่ง เจริญรุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22 เมืองพัทลุงที่พะโคะมีความเจริญด้านพุทธศาสนามาก ได้รับพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาโดยมีวัดพะโคะเป็นศูนย์กลางของคณะสงฆ์ฝ่ายลังกาชาติ ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 เมืองพัทลุงที่พะโคะถูกพวกโจรสลัดมลายู เช่น พวกอาเจะฮ์ อาหรู อุชงคนตะ ฯลฯ รุกรานเข้าปล้นสะดม หลายครั้ง มีการเผาทำลายบ้านเมืองและวัดวาอาราม ประชาชนต่างหนีภัยพวกโจรสลัดจึงไปตั้งชุมชนแห่งใหม่ ขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง คือ ที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน กลายเป็นเมืองพัทลุงใหม่และอีกแห่งคือที่หัวเขาแดง ซึ่ง มีชัยภูมิดี เพราะมีเทือกเขาเป็นปราการธรรมชาติถึง 2 ด้าน จึงสามารถต่อสู้กับพวกโจรสลัดได้ชุมชนแห่งนี้ค่อย ๆ เจริญจนกลายเป็นเมืองสงขลาที่หัวเขาแดง

สมัยเมืองสงขลาที่หัวเขาแดง[แก้]

เมืองสงขลาที่หัวเขาแดง (ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านบนเมือง ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา) เป็นเมืองที่ ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดย ดะโต๊ะ โมกอล ได้สร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างแข็งแรง เมืองสงขลาที่หัวเขาแดงมีชื่อว่า สิงขรนครี

ก่อนดะโต๊ะ โมกอล จะนำครอบครัวพวกพ้องบริวารมาขึ้นที่ชายหาดหัวเขาแดง เป็นเวลาที่กำลังมีพวกโจรสลัดเข้าปล้นเมืองพัทลุง โดยที่เจ้าเมืองไม่อาจต่อสู้ได้ พวกโจรสลัดกระทำย่ำยีโหดเหี้ยม เจ้าเมืองเกรงพระราชอาญาจึงชิงฆ่าตัวตาย ส่วนกรมการเมืองทั้งหมดลงพระราชอาญาจำตรวนคุมตัวเข้ากรุงศรีอยุธยาหมด

อีก 4-5 ปีต่อมา เมืองพัทลุงก็ถูกพวกโจรสลัดปลายแหลมมะลายูโจรสลัดปล้นอีก เจ้าเมืองพัทลุงอ่อนแอ ไม่อาจจะนำทหารต่อต้านพวกโจรสลัดได้ เป็นเหตุให้พวกราษฎรพากันหวาดกลัวไปทั่ว

เมื่อพวก ดะโต๊ะ โมกอล ยกกองเรืออพยพเข้ามาอยู่หัวเขาแดง ท้องถิ่นนั้นในอดีตเป็นที่อาศัยของชนชาวไทยผู้นับถือศาสนาพุทธและชาวมลายูผู้นับถือศาสนาอิสลาม เรื่องนี้ มีผู้ที่ไม่ทราบจริง เข้าใจว่า ดะโต๊ะ โมกอล ตลอดจนสุลต่านสุลัยมานผู้ลูกชายเป็นโจรสลัดเข้ามาปล้นและครองเมืองพัทลุงในที่สุด ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุงและประวัติของสุลต่านสุลัยมานระบุว่าเป็นการอพยพย้ายมาจากชวา

เมื่อทางกรุงศรีอยุธยา เห็นว่า บรรดาพวกชวาที่อพยพมานั้น รักสงบ และเข้มแข็ง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรฐ) จึงทรงตั้งให้ ดะโต๊ะ โมกอล เป็นเจ้าเมืองพัทลุง

เมื่อ ดะโต๊ะ โมกอล ถึงแก่อสัญกรรม ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยาจึงให้ สุลัยมานบุตรชายคนโตของดะโต๊ะฯ เป็นเจ้าเมืองพัทลุงสืบต่อไป ซึ่งต่อมาได้สถาปนาตนเองเป็นราชา มีนามว่า สุลต่านสุลัยมาน ชาห์ ท่านได้ให้ฟารีซี น้องชายคนรองเป็นปลัดเมือง