โปรงแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปรงแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Rhizophoraceae
สกุล: Ceriops
สปีชีส์: C.  tagal
ชื่อทวินาม
Ceriops tagal
(Perr.) C.B. Rob.

โปรงแดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Ceriops tagal อยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae ลำต้นสูง ตรง มีรากค้ำยันสั้น ถ้าขึ้นในบริเวณที่ชื้นจะมีรากอากาศ กิ่งมีลักษณะโป่งพองตามข้อเห็นชัดเจน ใบเดี่ยว เหนียวคล้ายหนัง ผิวใบเป็นมัน ดอกช่อ ผลรูปไข่เนื้อนุ่ม กลีบเลี้ยงติดทน เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงทรงกระบอก โผล่ออกจากผลตั้งแต่อยู่บนต้น

โปรงแดงมีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่แอฟริกา อินเดีย จนถึงออสเตรเลีย มีแทนนิน ใช้ฟอกหนังได้เช่นเดียวกับโปรงขาว เปลือกและน้ำยางให้สารสีแดงและดำ ใช้ในการทำผ้าบาติก ใช้ย้อมฝาดแห อวน และเสื่อ ในเปลือกลำต้นมีแทนนิน 20 – 40% เปลือกให้สีย้อมสีน้ำตาล เมื่อผสมกับครามจะให้สีออกดำหรือม่วง

อ้างอิง[แก้]

  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3: พืชให้สีย้อมและแทนนิน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 75 – 79

<br\>