โปขรา

พิกัด: 28°15′50″N 83°58′20″E / 28.26389°N 83.97222°E / 28.26389; 83.97222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปขรา
มหานคร
ทิวทัศน์นครโปขรา แลเห็นเขามาฉาปุจฉเร
ทิวทัศน์นครโปขรา แลเห็นเขามาฉาปุจฉเร
สมญา: 
เมืองแปดทะเลสาบ
คำขวัญ: 
โปขราเมืองสะอาด โปขราเมืองสีเขียว
(सफा पोखरा; हरियर पोखरा)
โปขราตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
โปขรา
โปขรา
ที่ตั้งเมืองโปขราในเนปาล
พิกัด: 28°15′50″N 83°58′20″E / 28.26389°N 83.97222°E / 28.26389; 83.97222
ประเทศ เนปาล
รัฐคัณฑกี
เขตกาสกี
ก่อตั้ง1962
พื้นที่
 • ทั้งหมด56.4574 ตร.กม. (21.7983 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ4.4 ตร.กม. (1.7 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด1,740 เมตร (5,710 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด827 เมตร (2,713 ฟุต)
ประชากร
 (2021)    
 • ทั้งหมด599,504 คน
 • ความหนาแน่น11,000 คน/ตร.กม. (28,000 คน/ตร.ไมล์)
 • ชาติพันธุ์คุรุง (พราหมณ์, เฌตรี, ทลิต), มคร, เนวาร
 • ศาสนาฮินดู, พุทธ
เขตเวลาGMT +5:45
รหัสไปรษณีย์33700 (WRPD), 33702, 33704, 33706, 33708, 33713
รหัสพื้นที่+61

โปขรา [โป-ขะ-รา] (เนปาล: पोखरा, ออกเสียง [pok̞ʰʌɾä]) หรือชื่อเต็มว่า มหานครโปขรา เลขนาถ (पोखरा लेखनाथ महानगरपालिका) เป็นมหานครในประเทศเนปาล เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของประเทศ[1] โปขราเป็นเมืองหลวงของรัฐคัณฑกี และเป็นเมืองศูนย์กลางของเขตกาสกี[2] เดิมโปขรามีสถานะเป็นเทศบาล แต่ต่อมามีการยุบรวมเมืองโปขรากับเมืองเลขนาถจัดตั้งเป็นมหานครโปขราในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560[1] โปขราตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกและห่างจากกาฐมาณฑุ 200 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของเมืองตั้งอยู่บนความสูง 827 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนทางตอนบนของเมืองมีความสูง 1,740 เมตรจากระดับน้ำทะเล[3]

โปขราถือเป็นเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวของเนปาล[4] เพราะเป็นฐานสำหรับนักปีนเขาที่จะเดินทางเข้าไปในเขตอนุรักษ์อันนปูรณะบนเทือกเขาหิมาลัย[5] และเมืองนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนทหารกุรข่าชั้นสูงจำนวนมาก[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Pokhara Lekhnath becomes largest metropolitan city". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-13. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  2. "Places proposed for temporary capitals of all seven provinces". kathmandutribune.com. 2 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2 January 2018.
  3. Earthquake Risk Reduction and Recovery Preparedness Programme for Nepal: UNDP/ERRRP – Project Nep/07/010 (2009). "Report on Impact of Settlement Pattern, Land Use Practice and Options in High Risk Areas: Pokhara Metropolitan City" (PDF). Kathmandu: UNDP, Nepal. p. 10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-24. สืบค้นเมื่อ 2019-02-11.
  4. Nepal, S. K.; Kohler, T.; Banzhaf, B. R. (2002). Great Himalaya: tourism and the dynamics of change in Nepal. Zürich, Switzerland: Swiss Foundation for Alpine Research. ISBN 978-3-85515-106-6.
  5. Holden, Andrew; Sparrowhawk, John (2002). "Understanding the motivations of ecotourists: the case of trekkers in Annapurna, Nepal". International Journal of Tourism Research. 4 (6): 435–446. doi:10.1002/jtr.402. ISSN 1522-1970.
  6. Gray, Denis (7 July 2016). "Nepal's legendary Gurkhas face an uncertain future". Nikkei. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-11. สืบค้นเมื่อ 11 January 2019.