โบอิง เอ็กซ์-45

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบอิง เอ็กซ์-45
บทบาทอากาศยานต่อสู้ไร้คนขับ
บริษัทผู้ผลิตโบอิง
บินครั้งแรก22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
จำนวนที่ผลิต2 ลำ
แบบอื่นแฟนทอมเรย์

โบอิง เอ็กซ์-45 (อังกฤษ: Boeing X-45) โบอิง เอ็กซ์-45 เป็นเครื่องบินไร้คนขับ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ JUCAS ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานโครงการวิจัยเชิงป้องกันขั้นก้าวหน้า DARPA ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ กองทัพเรือสหรัฐฯ และ บริษัทโบอิง โดยเครื่องบินลำนี้ได้รับการพัฒนาเพื่อความหลากหลายในการบินทำภารกิจ เช่น การบินกดดันการป้องกันทางอากาศของข้าศึก การบินโจมตี การทำลายทางอิเล็กทรอนิกส์ และ การบินสอดแนม

เครื่อง เอ็กซ์-45 ถูกสร้างจากวัสดุผสมที่มีอะลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบหลักและที่ผิวทำมาจากวัสดุผสมคอมโพสิตชนิดกราไฟต์ อีพ็อกซี่ ยานมีรูปทรงคล้ายตัว Y จมูกยานมีลักษณะของท่อนำอากาศเข้ายาน ปีกของยานสามารถถอดออกได้ง่ายในเวลาที่ต้องการขนส่งทางอากาศโดยบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์เครื่องบิน ซี-5 หรือ ซี-17

การควบคุมยานจะถูกควบคุมจากรถควบคุมซึ่งรัศมีในการควบคุมห่างไปได้กว่า 100 กิโลเมตร ภายในรถควบคุมยานประกอบไปด้วย สถานีควบคุมการบินทำภารกิจ ระบบสนับสนุน สถานีควบคุมการบินภารกิจจะประกอบไปด้วย ตัวรีเลย์สัญญานดาวเทียมที่มีการป้องกันและลิงก์ติดต่อสื่อสารในแนวสายตา ซึ่งจะถูกใช้ในการวางแผนเส้นทางการบินและภารกิจที่ยานสามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ การปฏิบัติการระบบจะมีวงรอบของการตัดสินใจโดยมนุษย์แทรกอยู่ด้วยเสมอ ทั้งในการวางแผนและการทำภารกิจ รวมไปถึงการค้นหาเป้าหมาย การพิสูจน์ฝ่าย การจับเป้าแบบทันกาล การเลือกใช้อาวุธและการยิงอาวุธปล่อย และรวมไปถึงการประเมินความเสียหายของเป้าหมาย

อ้างอิง[แก้]

  • ฟ้าพิสุทธิ์. สมรภูมิ. กรุงเทพ : นสพ รายสัปดาห์, ตุลาคม 2547. หน้า 47.