โทไกโดชิงกันเซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โทไกโด ชินกันเซ็น)
โทไกโดชิงกันเซ็ง
รถไฟโทไกโดชิงกันเซ็ง ซีรีส์ N700S ขณะกำลังวิ่ง กันยายน 2021
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อลำลอง東海道新幹線
เจ้าของJR ตอนกลาง
ที่ตั้งญี่ปุ่น
ปลายทาง
จำนวนสถานี17
สีบนแผนที่  น้ำเงิน (#1153a)
การดำเนินงาน
รูปแบบชิงกันเซ็ง
ศูนย์ซ่อมบำรุงโตเกียว มิชิมะ นาโงยะ และโอซากะ
ขบวนรถ700 ซีรีส์
N700 ซีรีส์
ประวัติ
เปิดเมื่อตุลาคม 1, 1964; 59 ปีก่อน (1964-10-01)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง515.4 km (320.3 mi)
ความยาวทางวิ่ง552.6 km (343.4 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ25 kV AC, 60 Hz, จ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว285 km/h (177 mph)
Maximum incline2.0%
แผนที่เส้นทาง

 โทโฮกุชิงกันเซ็ง 
0:00
โตเกียว
0:07
ชินางาวะ
แม่น้ำทามะ
0:18
ชินโยโกฮามะ
แม่น้ำซางามิ
0:35
โอดาวาระ
0:44
อาตามิ
0:54
มิชิมะ
1:08
ชินฟุจิ
แม่น้ำฟุจิ
1:08
ชิซูโอกะ
แม่น้ำอาเบะ
แม่น้ำโออิ
1:39
คาเกงาวะ
แม่น้ำเทนริว
1:34
ฮามามัตสึ
ทะเลสาบฮามานะ
1:24
โทโยฮาชิ
1:30
มิกาวะ-อันโจ
1:35
นาโงยะ
1:59
กิฟุฮาชิมะ
2:18
ไมบาระ
2:09
เกียวโต
2:24
ชินโอซากะ
 ซันโยชิงกันเซ็ง 
แสดงเวลาเดินรถที่เร็วที่สุดจากโตเกียว (น.)

โทไกโดชิงกันเซ็ง (ญี่ปุ่น: 東海道新幹線โรมาจิTōkaidō Shinkansen) เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งเส้นทางแรก เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1964 เชื่อมต่อระหว่างกรุงโตเกียวกับนครโอซากะ ดำเนินการโดยบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตอนกลาง แรกเริ่มก่อตั้งดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น

ประวัติ[แก้]

ภูเขาอิบูกิกับโทไกโดชิงกันเซ็ง

เมื่อปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) มีการวางแผนไว้ว่า โทโกโด ชิงกันเซ็งจะมีรถไฟวิ่งด้วยความเร็ว 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเชื่อมต่อจากโตเกียวไปยังชิโมโนเซกิ ซึ่งความเร็วระดับนี้อยู่ที่ระดับ 50% ของรถไฟด่วนที่เร็วที่สุดในสมัยนั้นเท่านั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดฉากขึ้น โครงการนี้ก็หยุดชะงักลงขณะอยู่ในขั้นเริ่มวางแผนเท่านั้นแม้ว่าจะได้ขุดอุโมงค์หลายแห่งไปแล้ว (ต่อมาอุโมงค์เหล่านี้ก็มาอยู่ในเส้นทางของชิงกันเซ็งในปัจจุบันด้วย) เนื่องจากว่าเส้นทางของชิงกันเซ็งสายนี้ผ่านเมืองที่ใหญ่ที่สุด 3 เมืองของญี่ปุ่น จึงทำให้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารมากที่สุด

การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) ภายใต้การควบคุมของ นายชินจิ โซโก ประธานการรถไฟญี่ปุ่นและฮิเดโอ ชิมะ หัวหน้าวิศวกร จนแล้วเสร็จในปี 2507 และมีรถไฟขบวนแรกที่วิ่งจากโตเกียวไปยังชินโอซากะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น ชิงกันเซ็งสายนี้เปิดใช้บริการในช่วงเวลาใกล้เคียงกับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปี 2507 ที่กรุงโตเกียวซึ่งเป็นการแข่งขันที่ทำให้ทั่วโลกสนใจประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น ตอนแรก เส้นทางนี้มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า New Tōkaidō Line ซึ่งมาจากชื่อของถนนโทไกโดในญี่ปุ่นที่ครบรอบ 100 ปีพอดี

ชิงกันเซ็งสายนี้มียอดผู้โดยสารถึงตัวเลข 100 ล้านคนในปี 2507 และถึงตัวเลข 1,000 ล้านคนในปี 2519 และฉลองครบรอบ 40 ปีในปี 2547 ด้วยตัวเลข 4,160 ล้านคน

ต่อมา สถานีชินางาวะ เปิดให้บริการในเดือนตุลาคม ปี 2546 ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงตารางเวลาครั้งใหญ่ จึงมีจำนวนผู้ใช้บริการรายวันเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะขบวนที่ให้บริการโดยโนโซมิ

รถไฟของโทไกโดชิงกันเซ็งทุกขบวนที่วิ่งเข้าและออกจากกรุงโตเกียวจะมาหยุดที่สถานีชินางาวะและสถานีชิงโยโกฮามะ

รถไฟ[แก้]

ชิงกันเซ็งสายนี้มีรถไฟอยู่เพียง 3 แบบเท่านั้น ได้แก่ โนโซมิ, ฮิการิ และ โคดามะ โดยรถไฟโนโซมิและฮิการิหลายขบวนจะวิ่งต่อไปถึงซันโย ชิงกันเซ็งเลย จนหยุดที่สถานีฮากาตะ ในนครฟูกูโอกะ

แต่รถไฟโนโซมิไม่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ใช้บัตรผ่านรถไฟญี่ปุ่นได้

ขบวนรถที่ให้บริการในเส้นทางนี้ได้แก่:

ในปี พ.ศ. 2507 รถไฟฮิการิวิ่งจากโตเกียวไปยังโอซากะใช้เวลา 4 ชั่วโมงเท่านั้น จากนั้นในปี 1965 ก็ย่นเวลาเหลือ 3 ชั่วโมง 10 นาที จากนั้นมีการนำรถไฟโนโซมิมิที่มีความเร็วสูงมาให้บริการในปี พ.ศ. 2535 การเดินทางก็ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมง 30 นาทีเท่านั้น และซีรีส์ N700 ที่นำมาใช้ในปี 2007 ก็จะทำให้รถไฟโนโซมิใช้เวลาเดินทางเหลือเพียง 2 ชั่วโมง 25 นาทีเท่านั้น

ปัจจุบัน เมื่อเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2551 รถไฟฮิการิวิ่งจากโตเกียวไปยังโอซากะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ขณะที่ขบวนรถแบบ โคดามะที่หยุดทุกสถานีนั้นจะใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 4 ชั่วโมง

สถานี[แก้]

ขบวนรถ โคดามะ จะจอดทุกสถานี ส่วน โนโซมิ และ ฮิการิ จะจอดบางสถานี ขบวนรถไฟทุกขบวนจะจอดที่สถานีโตเกียว, ชินางาวะ, ชิงโยโกฮามะ, นาโงยะ, เกียวโต และ ชินโอซากะ

สถานี ญี่ปุ่น อังกฤษ กม.ที่ เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
โตเกียว 東京 Tokyo 0.0 โทโฮกุชิงกันเซ็ง, โจเอ็ตสึชิงกันเซ็ง, นางาโนะชิงกันเซ็ง, สายยามาโนเตะ, สายหลักชูโอ, สายหลักโซบุ, สายเคฮินโตโฮกุ, สายหลักโทไกโด, สายเคโย, สายโยโกซูกะ
โตเกียวเมโทรสายมารูโนอูจิ (M-17)
เขตชิโยดะ โตเกียว
ชินางาวะ 品川 Shinagawa 6.8 สายยามาโนเตะ, สายเคฮินโตโฮกุ, สายหลักโทไกโด, สายโยโกซูกะ
สายหลักเคกีว
เขตมินาโตะ โตเกียว
ชิงโยโกฮามะ 新横浜 Shin-Yokohama 25.5 สายโยโกฮามะ
รถไฟใต้ดินนครโยโกฮามะ สายสีน้ำเงิน (สาย 3)
โยโกฮามะ
โอดาวาระ 小田原 Odawara 76.7 สายหลักโทไกโด, สายโชนันชินจูกุ
โอดะกีวสายโอดาวาระ, รถไฟอิซุ-ฮาโกเนะ สายไดยูซัง, สายฮาโกเนะ โทซัง
โอดาวาระ
อาตามิ 熱海 Atami 95.4 สายหลักโทไกโด, สายอิโตะ อาตามิ
มิชิมะ 三島 Mishima 111.3 สายหลักโทไกโด
รถไฟอิซุ-ฮาโกเนะ สายซุนซุ
มิชิมะ
ชินฟูจิ 新富士 Shin-Fuji 135.0   ฟูจิ
ชิซูโอกะ 静岡 Shizuoka 167.4 สายหลักโทไกโด
สายชิซูโอกะ-ชิมิซุ (สถานีรถไฟชินชิซูโอกะ)
ชิซูโอกะ
คาเกงาวะ 掛川 Kakegawa 211.3 สายหลักโทไกโด
สายเท็นรีว ฮามานะโกะ
คาเกงาวะ
ฮามามัตสึ 浜松 Hamamatsu 238.9 สายหลักโทไกโด
ทางรถไฟสายเอ็นชู (สถานีรถไฟชินฮามามัตสึ)
ฮามามัตสึ
โทโยฮาชิ 豊橋 Toyohashi 274.2 สายหลักโทไกโด, สายอีดะ
สายหลักเมเต็ตสึ นาโงยะ, สายโทโยฮาชิ อัตสึมิ (สถานีรถไฟชินโตโยฮาชิ), โทโยฮาชิแทรมเวย์ (สถานีเอกิมาเอะ)
โทโยฮาชิ
มิกาวะอันโจ 三河安城 Mikawa-Anjō 312.8 สายหลักโทไกโด อันโจ
นาโงยะ 名古屋 Nagoya 342.0 สายหลักโทไกโด, สายหลักชูโอ, สายหลักคันไซ, สายหลักทากายามะ
รถไฟใต้ดินนาโงยะ: สายฮิงาชิยามะ (H08), สายซากูระ-โดะริ (S02), สายหลักนาโงยะ (สถานีรถไฟเมเต็ตสึ นาโงยะ), สายคินเต็ตสึ นาโงยะ (สถานีรถไฟคินเต็ตสึ นาโงยะ), สายอาโอนามิ (AN01)
นาโงยะ
กิฟุฮาชิมะ 岐阜羽島 Gifu-Hashima 367.1 สายเมเต็ตสึ ฮาชิมะ (สถานีรถไฟชินฮาชิมะ) ฮาชิมะ
ไมบาระ 米原 Maibara 408.2 สายหลักโทไกโด, สายบิวาโกะ (ส่วนหนึ่งของ สายหลักโทไกโด, สู่ เกียวโต), สายหลักโฮกูริกุ
สายหลักโอมิ
ไมบาระ
เกียวโต 京都 Kyoto 476.3 สายบิวาโกะ (สู่ ไมบาระ), JR สายเกียวโต (ส่วนหนึ่งของ สายหลักโทไกโด, สู่ โอซากะ) สายซางาโนะ (ส่วนหนึ่งของ สายหลักซันอิง), สายนาระ
สายคินเต็ตสึ เกียวโต, รถไฟใต้ดินเทศบาลเกียวโต: สายคาราซูมะ (K11)
เกียวโต
ชินโอซากะ 新大阪 Shin-Ōsaka 515.4 ซันโย ชิงกันเซ็ง (เปลี่ยนผ่าน), JR สายเกียวโต
รถไฟใต้ดินเทศบาลโอซากะ: สายมิโดซูจิ (M13)
โอซากะ
สถานีต่อจากนี้คือ สถานีฮากาตะ ซึ่งเป็นของ ชิงกันเซ็ง สายซันโย

ดูเพิ่ม[แก้]