โตโยต้า วีออส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตโยต้า วีออส
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตโตโยต้า
เรียกอีกชื่อ
เริ่มผลิตเมื่อตุลาคม พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก
รูปแบบตัวถัง
โครงสร้างเครื่องวางหน้า
ขับเคลื่อนล้อหน้า
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า ยาริส
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้า

โตโยต้า วีออส (อังกฤษ: Toyota Vios , Yaris Sedan ) เป็นรถรุ่นตระกูลที่โตโยต้า ออกแบบมาเพื่อมาแทนที่รถรุ่นโซลูน่า (Soluna) เริ่มผลิตรุ่นแรกใน พ.ศ. 2545 โดยจัดเป็นรถขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) โดยทั่วไปจะนิยมนำรถวีออสไปใช้งานเป็นรถยนต์ส่วนตัวและเชิงพาณิชย์(บางบริษัท) แต่มีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ในบางประเทศ เช่นในอินโดนีเซีย จะมีรถวีออสสำหรับทำเป็นแท็กซี่จำหน่ายในชื่อ "โตโยต้า ลิโม่" (ต่างจากในประเทศไทย ที่รถโตโยต้า ลิโม่ คือรุ่นโคโรลล่าที่มีการตัด Option ต่างๆ ออก เพื่อให้รถมีราคาถูก เหมาะกับการซื้อไปเป็นแท็กซี่เช่า) และมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง

วีออส เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับรถยนต์หลายรุ่น ที่สำคัญๆ คือ ฮอนด้า ซิตี้, เชฟโรเลต อาวีโอ ด้วยความที่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถส่วนบุคคลขนาดเล็กราคาถูก

รุ่นที่ 1 (XP40: พ.ศ. 2545-2550)[แก้]

โตโยต้า วีออส โฉมที่ 1 (โซลูน่า วีออส)

โตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ ผลิตในประเทศไทยที่ โรงงานโตโยต้าเกตเวย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงงาน TMP ในประเทศฟิลิปปินส์ และ TFTM ในประเทศจีน โดยส่งออกไปขายยัง อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยรถวีออสโฉมที่ 1 ในประเทศเหล่านี้จะใช้เครื่องยนต์ 1NZ-FE ความจุ 1.5 ลิตร สำหรับรถวีออสโฉมนี้ในประเทศฟิลิปปินส์จะใช้เครื่องยนต์ 2NZ-FE ความจุ 1.3 ลิตร ส่วนรถวีออสโฉมนี้ในประเทศจีนจะใช้เครื่องยนต์แบบ 8A-FE / 2SZ-FE โดยโฉมแรกนี้ เริ่มขายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2546

มีตัวถังแบบเดียว คือ แบบซีดาน 4 ประตู โดยในระยะแรกในประเทศไทยจะจำหน่ายในชื่อ โตโยต้า โซลูน่า วีออส (Toyota Soluna Vios) เพื่อแสดงว่าเป็นโฉมใหม่ของโตโยต้า โซลูน่า และยังได้บริตนีย์ สเปียส์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์แต่ต่อมาจึงได้ยกเลิกชื่อโซลูน่า เพื่อทำการตลาดในชื่อรุ่นชื่อใหม่ คือ "วีออส"

รุ่นย่อยในประเทศไทยได้แก่ 1.5 S, 1.5 E และ 1.5 J

  • 1.5 S เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เป็นรุ่นท็อปที่สุด ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว กระจกมองข้างสีเดียวกับตัวรถ ปรับด้วยไฟฟ้า มือจับประตูด้านนอกแบบโครเมียม มีคิ้วกันกระแทกด้านข้าง มีสีภายใน 2 สี คือสีเบจ (ตกแต่งลายไม้) และสีดำ (ตกแต่งด้วยสีเมทัลลิก) พร้อมด้วยเบาะผ้าสีเดียวกันกับสีภายใน วิทยุแบบเทป พร้อมเครื่องเล่น CD 1 แผ่น 4 ลำโพง มาตรวัดแบบดิจิตอล กระจกหน้าต่างไฟฟ้าทั้ง 4 บาน พร้อมระบบเลื่อนขึ้นและลงด้านคนขับแบบอัตโนมัติ ในส่วนของระบบความปลอดภัย มีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนการโจรกรรม TVSS พร้อมรีโมท และมีระบบเบรก ABS พร้อมถุงลมนิรภัยเฉพาะด้านคนขับ (เฉพาะรุ่น S ได้เรือนไมล์วัดความเร็วแบบดิจิตอล)
  • 1.5 E เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เป็นรุ่นรองลงมา ล้ออัลลอยขนาด 14 นิ้ว กระจกมองข้างสีเดียวกับตัวรถ ปรับด้วยไฟฟ้า มือจับประตูด้านนอกสีเดียวกับตัวรถ มีคิ้วกันกระแทกด้านข้าง มีสีภายใน 2 สีเช่นเดียวกับรุ่น S คือสีเบจ (ตกแต่งลายไม้) และสีดำ พร้อมด้วยเบาะผ้าสีเดียวกันกับสีภายใน (ยกเว้นสีภายในสีดำ เบาะผ้าจะเป็นสีเทา) วิทยุแบบเทป 4 ลำโพง มาตรวัดแบบอนาล็อก กระจกหน้าต่างไฟฟ้าทั้ง 4 บาน พร้อมระบบเลื่อนขึ้นและลงด้านคนขับแบบอัตโนมัติ ในส่วนของระบบความปลอดภัย มีระบบเบรก ABS พร้อมถุงลมนิรภัยเฉพาะด้านคนขับ (เฉพาะรุ่นเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งมีให้เลือก)
  • 1.5 J เกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด เป็นรุ่นต่ำที่สุด ล้อกระทะขนาด 14 นิ้ว กระจกมองข้างสีดำ ปรับด้วยมือ มือจับประตูด้านนอกสีดำ สีภายในมีเพียงสีเดียวคือสีดำ พร้อมด้วยเบาะผ้าสีเทา วิทยุแบบเทป 4 ลำโพง มาตรวัดแบบอนาล็อก กระจกหน้าต่างเป็นแบบมือหมุนทั้ง 4 บาน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์มาตรฐานเล็กน้อยในรุ่น 1.5 J โดยมีการเปลี่ยนกระจกมองข้างและมือจับประตูด้านนอกเป็นสีเดียวกับตัวรถ โดยกระจกมองข้างยังคงปรับด้วยมือ ส่วนภายในมีการเปลี่ยนกระจกหน้าต่างจากแบบมือหมุนทั้ง 4 บาน เป็นแบบไฟฟ้าทั้ง 4 บาน พร้อมระบบเลื่อนขึ้นและลงด้านคนขับแบบอัตโนมัติ ส่วนอุปกรณ์มาตรฐานอื่นๆยังเหมือนเดิม

และเมื่อต้นปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับโฉม (Minor Change)

วีออส เทอร์โบ[แก้]

โตโยต้า วีออส โฉมแรกนี้ เคยมีการผลิตและจำหน่ายรุ่นพิเศษ คือโตโยต้า วีออส เทอร์โบ (อังกฤษ: Toyota Vios Turbo) โดยมีการจัดทำรถรุ่นนี้ขึ้นในจำนวน 600 คัน และจำหน่ายเฉพาะในประเทศไทย โดยรุ่นพิเศษนี้ ยังคงเป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรแบบเดิม แต่มีการติดตั้งเทอร์โบ และระบบอินเตอร์คูลเลอร์โดยสำนักแต่งรถ TRD หรือ Toyota Racing Development ในรหัสใหม่ 1NZ-FE Turbo ซึ่งเป็นสำนักแต่งรถที่ขึ้นกับโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ทำให้มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเป็น 143 แรงม้า นอกจากนี้ยังได้เพิ่มอุปกรณ์ตกแต่งตัวรถ ทำให้ดูแตกต่างไปจากรุ่นปกติ

รายละเอียดทางเทคนิค[แก้]

ขนาด & น้ำหนัก
ความยาว (มิลลิเมตร) 4285
ความกว้าง (มิลลิเมตร) 1695
ความสูง (มิลลิเมตร) 1435
ความยาวช่วงล้อ (มิลลิเมตร) 2500
ความกว้างช่วงล้อ (มิลลิเมตร) หน้า x หลัง 1455 x 1430
ระดับต่ำสุดจากพื้น (มิลลิเมตร) 143
น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) 960 - 1050
ความจุกระโปรงท้ายรถ VDA (ลิตร) 400
รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด (เมตร) 4.9
เครื่องยนต์ 1NZ-FE
แบบเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง DOHC 16V พร้อมระบบวาล์วแปรผัน VVT-i
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มิลลิเมตร) 75.0 x 84.7
ปริมาตรกระบอกสูบ (ซีซี) 1,497
อัตราส่วนกำลังอัด 10.5 : 1
แรงม้าสูงสุด (กิโลวัตต์ (แรงม้า) / รอบต่อนาที) 80 (109) / 6000
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร (kg-m) / รอบต่อนาที) 142 (14.5) / 4200
ระบบจ่ายน้ำมัน EFI (Electronic Fuel Injection)
ความจุถังน้ำมัน 45
ระบบขับเคลื่อน & ระบบกันสะเทือน
ระบบขับเคลื่อน อัตโนมัติ 4 จังหวะแบบร่องตรง (Slide) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ SuperECT
ระบบช่วงล่าง - หน้า อิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท คอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง
ระบบช่วงล่าง - หลัง คานบิดแบบ ETA-Beam พร้อมเหล็กกันโคลง
ระบบเบรก - หน้า ดิสก์เบรก พร้อมครีบระบายความร้อน
ระบบเบรก - หลัง ดิสก์เบรก (ในรุ่น S และ E) / ดรัมเบรก (ในรุ่น J )
ขนาดยาง 175 / 65 R14 ( รุ่น J,E ), 185 / 55 R15 ( รุ่น S )
แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด รหัส 46B24R [1]

รุ่นที่ 2 (XP90: พ.ศ. 2550-2555)[แก้]

โตโยต้า เบลต้า
โตโยต้า วีออส โฉมที่ 2 (เวอร์ชันจีน)
โตโยต้า วีออส โฉมที่ 2

โฉมที่สองของวีออสเปิดตัวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2549 โดยใช้ชื่อว่า "โตโยต้า เบลต้า" และเปิดตัวในตลาดอเมริกาเหนือ, ตะวันออกกลาง, อเมริกาใต้, ลาตินอเมริกา, ออสเตรเลีย ช่วงต้นปี 2550 โดยใช้ชื่อ "โตโยต้า ยาริส ซีดาน" ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ชื่อว่า "โตโยต้า วีออส" เปิดตัวในประเทศไทยครั้งแรกวันที่ 8 และ 9 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่สยามพารากอน ในวงการรถมือสองของไทยจะเรียกโฉมนี้ว่า "โฉมเห็บหมา" เนื่องจากลักษณะตัวรถคล้ายกับเห็บเพศเมีย หรือเห็บกระดุมที่เกาะอยู่บนตัวสุนัข

นอกเหนือจากการใช้เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ยังมีการนำไปปรับแต่งและใช้เป็นรถแข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งขัน โตโยต้า วีออส วันเมคเรซ ซึ่งเป็นการแข่งรถในประเทศไทยที่ทางโตโยต้าจัดขึ้น

การแข่งรถมี 2 รุ่นได้แก่

Toyota Vios One Make Race Class C

Toyota Vios One Make Race Lady Cup

นักแข่งดาราในนามของ Toyota Team Star. (2010 - 2012)

รุ่น Vios One Make Race Class C อธิกิตติ์ พริ้งพร้อม , วริษฐ์ ทิพโกมุท , ศิริศิลป์ โชติวิจิตร (กวาง เอบีนอร์มอล) ,

รุ่น Vios One Make Race Lady Cup ชัชฎาภรณ์ ธนันทา , สุคนธวา เกิดนิมิตร , เฟี้ยวฟ้าว สุดสวิงริงโก้ , ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ , นาตาลี เดวิส , แอริณ ยุกตะทัต , อารยา เอ ฮาร์เก็ต

ในปี 2550 - 2551 ในเมืองไทยมีการแบ่งการผลิตวีออสออกเป็น 3 รุ่นมาตรฐาน ได้แก่

  • รุ่น J เป็นรุ่นล่างสุด มาพร้อมระบบเบรก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD ระบบเสริมแรงเบรก BA / กระทะล้อขนาด 15 นิ้ว พร้อมฝาครอบ ไฟตัดหมอกหลัง (ระบบป้องกันการโจรกรรม TVSS พร้อมรีโมทเป็นอุปกรณ์เสริม) กระเป๋าเก็บเอกสารหลังผู้ขับขี่และผู้โดยสารตอนหน้า
  • รุ่น E เป็นเกรดกลาง เพิ่มอุปกรณ์จากรุ่น J มากขึ้นคือ ระบบป้องกันการโจรกรรม TDS พร้อมรีโมทที่ด้ามกุญแจ ล้อแม็กซ์อัลลอยด์ 5 ก้าน ขนาด 15 นิ้ว ไฟตัดหมอกหลัง และภายในห้องโดยสารสามารถเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีเทาดำ (Dark Grey) และไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง
  • รุ่น E Safety เป็นเกรดรองสูงสุด เพิ่มถุงลมนิรภัยคู่หน้า และและเข็มขัดนิรภัยแบบดึงรั้งกลับอัตโนมัติ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เหมือนรุ่น E
  • รุ่น G เป็นเกรดสูงสุด เพิ่มอุปกรณ์ภายใน เช่น เครื่องเสียงแบบ 6 ลำโพง หน้าปัดแบบออปติตรอนพร้อมจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบสีฟ้า ติดตั้งไฟตัดหมอกหน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ภายในห้องโดยสารหุ้มด้วยหนัง สามารถเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีดำ (Dark Grey) ที่พักแขนพร้อมหลุมวางแก้วน้ำบริเวณผู้โดยสารตอนหลัง และเบาะหลังสามารถพับทะลุไปห้องเก็บสัมภาระได้ ในอัตราส่วน 60/40

และเพิ่ม 3 รุ่นพิเศษ ได้แก่

  • รุ่น S-Limited เพิ่มอุปกรณ์ชุดแต่งจากโรงงานรอบคัน พร้อมปรับแต่งโช้คอัพ และสปริงให้มีความแข็งมากกว่ารุ่นอื่น หน้าปัดแบบออปติตรอนพร้อมจอแสดงข้อมูลการขับขี่แบบสีส้ม ส่วนภายในแบบสปอร์ตสีเทาควันบุหรี่ ทั้งเบาะหุ้มหนัง พวงมาลัยและหัวเกียร์หุ้มหนังสีดำ รวมถึงเบาะผู้โดยสารตอนหลังสามารถพับทะลุไปห้องเก็บสัมภาระได้ ในอัตราส่วน 60/40 ไฟหน้าแบบ Bi-Xenon ปรับระดับสูง - ต่ำ แปรผันอัตโนมัติตามน้ำหนักรถ เปลื่ยนระบบเบรกหลังจากดรัมเป็นดิสก์เบรก
  • รุ่น G-Limited เพิ่มอุปกรณ์จากรุ่น G เช่น ระบบกุญแจอัจฉริยะ Smart Entry เปิด - ปิดประตูแบบสัมผัส พร้อมปุ่มสตาร์ทเครื่อง หรือ Push Start และระบบป้องกันการโจรกรรมกุญแจเลียนแบบหรือ Immobilizer สามารถเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีดำ (Dark Grey)
  • รุ่น GT Street โดยการนำรุ่น J มาตกแต่งในรูปแบบพิเศษ สเกิร์ตรอบคันทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง สปอยเลอร์และสติกเกอร์ GT Street ที่ฝากระโปรงหลัง ท่อไอเสียพร้อมฝาครอบ สแตนเลส และสติกเกอร์ด้านข้างดีไซน์สปอร์ต ส่วนภายในใช้โทนสีแดงดำ ทั้งผ้าเบาะ สีแดงกับสีดำ รวมถึงพวงมาลัยหุ้มหนัง หัวเกียร์หุ้มหนังเดินด้ายสีแดง คอนโซลหน้าสุดสปอร์ตสีดำ-แดง และเปลี่ยนล้อกระทะ เป็นล้อแม็กซ์ขนาด 15 นิ้ว (ลายเดียวกันกันยาริส ไมเนอร์เชนจ์ G/E Grade) โดยจะทำการผลิตเพียง 1,000 คัน

ความปลอดภัย[แก้]

ระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ระบบเบรก ABS (Anti-lock Braking System) แบบ 4 channel 4 Sensor ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกะทันหัน หรือเบรกบนถนนลื่น

ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-Force Distribution) จะช่วยกระจายแรงดันน้ำมันเบรกโดยการแปรผันตามน้ำหนักที่กดลงในแต่ละล้อและควบคุมแรงเบรกขณะเข้าโค้งอย่างอิสระ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเบรกให้มีความสมดุล ป้องกันการไถลของล้อขณะเข้าโค้งและเหยียบเบรกกะทันหัน

ในกรณีบรรทุกเต็มพิกัด ระบบ EBD จะเพิ่มแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อคู่หลังขณะบรรทุก และ ควบคุมแรงเบรกของล้อทั้งหมดขณะเข้าโค้งเพื่อเสริมประสิทธิภาพการหยุดให้สูงที่สุด

ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist) ในกรณีเบรกแบบกะทันหัน ระบบ BA จะช่วยเพิ่มแรงเบรกในระบบ โดยคอมพิวเตอร์จะอ่านค่าจากการเหยียบของผู้ขับว่ามีแรงกระทำมากและนานเท่าไร ช่วยเสริมการหยุดรถได้ในระยะที่สั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบปกป้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

โครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA พัฒนาการล่าสุดของโครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA ที่ให้ความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลกด้วยโครงสร้างห้องโดยสารที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทกจากการชน ให้ถ่ายเทไปสู่ส่วนต่างๆ ของตัวถัง เพื่อให้ลดความเสียหายห้องโดยสารน้อยที่สุด โดยระบบดูดซับแรงกระแทกที่สามารถดูดซับแรงกระแทกลดความรุนแรงจากการชนด้วยการกระจายแรงสู่ตัวถัง พร้อมคานนิรภัยด้านหน้าและด้านข้างเพิ่มความแข็งแกร่ง และความปลอดภัยให้กับห้องโดยสารเมื่อเกิดการชน

ระบบลดแรงกระแทกศีรษะด้านข้าง ออกแบบเพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่ศีรษะของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS ปกป้องทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ช่วยลดการบาดเจ็บของศีรษะและหน้าอก จากแรงปะทะซึ่งเกิดจากการชนด้านหน้า (ในรุ่น E Safety, G, G-Limited, S-Limited)

เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับ และผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ (Pretensioner & Force Limiter) ช่วยรั้งร่างกายผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้แนบกับเบาะเมื่อเกิดการชน ป้องกันการบาดเจ็บจากแรงกระแทก

เบาะนั่งคู่หน้าแบบ WIL Concept ป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนจากด้านหลัง


NHTSA หน่วยงานด้านความปลอดภัยยานยนต์ทางบกของสหรัฐอเมริกา ให้คะแนนผลทดสอบการชน Toyota Vios ดังนี้[2]

  • การชนด้านหน้าฝั่งผู้ขับขี่: 5/5 stars
  • การชนด้านหน้าฝั่งผู้โดยสาร: 5/5 stars
  • การชนด้านข้างฝั่งผู้ขับขี่ (ไม่มีถุงลมนิรภัยด้านข้าง): 3/5 stars
  • การชนด้านข้างฝั่งผู้โดยสาร (ไม่มีถุงลมนิรภัยด้านข้าง): 3/5 stars
  • การชนด้านข้างฝั่งผู้ขับขี่ (มีถุงลมนิรภัยด้านข้าง): 4/5 stars
  • การชนด้านข้างฝั่งผู้โดยสาร (มีถุงลมนิรภัยด้านข้าง): 4/5 stars
  • ทดสอบการพลิกคว่ำ: 4/5 stars

ผลทดสอบ


กลางปี 2551 - ต้นปี 2553 มีการเพิ่มรุ่น J มาตรฐาน และเปลื่ยนแปลงและลดอุปกรณ์บางอย่างในรุ่นปกติ เช่น


  • รุ่น J มาตรฐาน (ไม่มี ABS) เป็นเกรดล่างสุด ลดอุปกรณ์มาตรฐานบางอย่างออกไป เช่น วิทยุ CD/MP3/WMA ชนิด 2 ลำโพงมาตรฐาน วัสดุภายในสีดำ (Dark Grey) ล้อกระทะขนาด 14 นิ้วพร้อมยางขนาด 175/65 ยี่ห้อ Dunlop รุ่น SP10
  • รุ่น J ปกติ (มี ABS) ยกเลิกไฟตัดหมอกหลัง / ไม่มีกระเป๋าเก็บเอกสารหลังผู้ขับขี่ / เปลื่ยนยางเป็น Dunlop SP Sport 2030 ขนาดเดิม
  • รุ่น E ยกเลิกไฟเลี้ยวกระจกมองข้างโดยติดตั้งที่บริเวณบังโคลน เปลื่ยนวัสดุภายในเป็นสีดำให้เหมือนรุ่น J แต่ยังคงเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีดำ (Dark Grey) ไม่มีกระเป๋าเก็บเอกสารหลังผู้ขับขี่ เปลื่ยนยางเป็นยี่ห้อ Dunlop รุ่น Sp Sport 2030 ขนาดเดิม
  • รุ่น E Safety ลดสเปคเหมือนรุ่น E

ส่วนรุ่น G / G Limited / S Limited ยังคงสเปคเดิมทุกประการเหมือนปี 2007


โตโยต้า วีออส โฉมที่ 2 (ปรับโฉม)

ในปี 2553 ในเมืองไทยมีการปรับโฉม 3 รุ่นมาตรฐาน โดยองค์ประกอบภายนอกทุกรุ่นได้เปลื่ยนแปลงกระจังหน้า ล้ออัลลอยลายใหม่ 12 ก้าน (ในรุ่นที่ใช้ล้ออัลลอย) และชุดไฟท้าย รวมถึงออกแบบมือจับฝากระโปรงท้ายใหม่ ส่วนภายในห้องโดยสารการเปลี่ยนแปลงคือ


  • รุ่น J มาตรฐาน (ไม่มี ABS) เป็นเกรดล่างสุด เปลื่ยนอุปกรณ์มาตรฐานบางอย่างเช่น มือจับประตูและฝากระโปรงท้ายจากสีเดียวกับตัวรถเป็นเป็นวัสดุสีดำ เปลื่ยนวัสดุหุ้มเบาะใหม่ และถอดฝาครอบล้อออก
  • รุ่น J ปกติ (ABS) เสริมระบบป้องกันการโจรกรรมแบบกุญแจ Immobilizer เปลื่ยนวัสดุหุ้มเบาะใหม่ และมือจับที่ฝากระโปรงท้ายออกแบบใหม่
  • รุ่น E เปลี่ยนเป็นพวงมาลัยลายสปอร์ต ระบบป้องกันการโจรกรรม TDS พร้อมรีโมทที่ด้ามกุญแจ และระบบ Immobilizer ล้อแม็กอัลลอยขนาด 15 นิ้วลายใหม่ ไฟตัดหมอกหลัง วัสดุคอนโซลแบบสีเมทัลลิค (เฉพาะกรอบด้านข้าง แต่แผงควบคุมเครื่องเสียงและเครื่องปรับอากาศยังเป็นสีดำ) ภายในห้องโดยสารสามารถเลือกโทนสีได้ 2 แบบคือ สีครีม (Ivory) และ สีดำ (Dark Grey) และเพิ่มจุดเชื่อมต่อวิทยุ (AUX) เปลื่ยนวัสดุหุ้มเบาะ และมือจับฝากระโปรงท้ายออกแบบใหม่ พร้อมดิสก์เบรก 4 ล้อ
  • รุ่น E Safety เพิ่มถุงลมนิรภัยคู่หน้าและเข็มขัดนิรภัยแบบดึงรั้งกลับอัตโนมัติ เปลื่ยนพวงมาลัยลายใหม่ และดิสก์เบรก 4 ล้อ ล้อแม็กอัลลอยขนาด 15 นิ้วลายใหม่ เปลื่ยนวัสดุหุ้มเบาะ
  • รุ่น G เปลื่ยนสีแผงควบคุมคอนโซลกลางเป็นแบบเปียโน แบล็ค (Piano Black) เปลื่ยนพวงมาลัยลายใหม่พร้อมชุดควบคุมเครื่องเสียง เพิ่มจุดเชื่อมต่อวิทยุ (AUX) ล้อแม็กอัลลอยขนาด 15 นิ้วลายใหม่ มือจับฝากระโปรงท้ายออกแบบใหม่ ฝาครอบไฟตัดหมอกหน้าลักษณะสีเมทัลลิค
  • รุ่น G Limited ยังคงสเปคเดิมเหมือนรุ่นปี 2007 แต่เปลื่ยนสีแผงควบคุมคอนโซลกลางเป็นแบบเปียโน แบล็ค (Piano Black) เปลื่ยนพวงมาลัยลายใหม่พร้อมชุดควบคุมเครื่องเสียง เพิ่มจุดเชื่อมต่อวิทยุ (AUX) ล้อแม็กอัลลอยขนาด 15 นิ้วลายใหม่ มือจับฝากระโปรงท้ายออกแบบใหม่ ฝาครอบไฟตัดหมอกหน้าลักษณะสีเมทัลลิค
  • ในรุ่น G และรุ่น G Limited ให้เลือกเป็นเบาะหนังสีเบจ หรือสีดำ
  • ยกเลิกการจำหน่ายรุ่น S Limited

ต่อมาในช่วงปลายปี 2555 ต้นปี 2556 ได้มีการปรับอุปกรณ์อีกครั้ง โดยให้มีแอร์แบคคู่หน้าในทุกรุ่นย่อย ไฟหน้ารมดำในทุกรุ่นย่อย กลับมาใช้พวงมาลัยทรงเดียวกับปี 2007 (แต่รุ่น G และ G Ltd. ยังคงสเปคเดิมคือพวงมาลัยทรงสปอร์ต) และสำหรับรุ่นที่มีล้อแม็ก จะเป็นแม็กอัลลอย 12 ก้านขนาด 15 นิ้ว (ลายเดียวกับปี 2553) รมดำให้ความสปอร์ตมากขึ้น


ทุกแบบใช้เครื่องยนต์ 1NZ-FE 1.5 ลิตร 109 แรงม้า และแรงบิด 14.4 กก./ม. เหมือนโฉมปี 2545 - 2550 โดยมีการเปลื่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ

  • ระบบคันเร่งจากเดิมที่ควบคุมด้วยสายเคเบิลมาเป็นระบบไฟฟ้า DBW หรือ Drive - By -Wire เรียกว่า ETCS-i โดยทำงานร่วมกับระบบ Canbus และระบบตรวจสอบข้อบกพร่อง OBD-II
  • ย้ายกล่องสมองกลติดตั้งในห้องเครื่อง และเพิ่มหน่วยความจำเป็น 32 Bit
  • เปลื่ยนตำแหน่งแบตเตอรี่ใหม่
  • เปลื่ยนท่อร่วมไอดีใหม่
  • เปลื่ยนตำแหน่งกรองอากาศใหม่ ให้มีระยะสั้นลงกว่าเดิม เพื่อให้อากาศเข้าเร็วขึ้น
  • เปลื่ยนยางแท่นเครื่องฝั่งคนขับแบบใหม่ชนิดไฮโดรลิก
  • เปลื่ยนตำแหน่งท่อแอร์ใหม่
  • เปลื่ยนตำแหน่งชุดแผงคอนเดนเซอร์แอร์ใหม่
  • เปลื่ยนหม้อน้ำใหม่
  • เปลื่ยนชุดพัดลมไฟฟ้าใหม่


ระบบจ่ายเชี้อเพลิงควบคุมโดยกล่อง ECU ขนาด 32 Bit ติดตั้งอยู่บริเวณห้องเครื่อง พวงมาลัยเพาเวอร์ไฟฟ้า EPS ควบคุมด้วยสมองกล ECU พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังขับ 42 วัตต์ สามารถปรับความหนัก - เบา ตามความเร็วรถยนต์


ใช้เกียร์อัตโนมัติซึ่งเป็นลูกเดียวกับ Corolla Altis ในรุ่น 1.8 ในโฉม ZZE122R และ ZZE142R (รหัสเกียร์ U341E) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ Super ECT โดยมีการพัฒนาจากวีออสโฉมปี 2545 - 2550 คือ

  • ใช้น้ำมันเกียร์ความหนืดต่ำแบบ ATF-WS
  • พัฒนาชุดคลัตช์ และ ระบบล็อกอัพ ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ใหม่
  • เปลื่ยนแปลงชุดควบคุมคอมพิวเตอร์เกียร์ใหม่
  • เปลื่ยนชุดควบคุมคันเกียร์ จากเดิมแบบตรง มาเป็นแบบร่องหยัก และโหมดป้องกันการเข้าเกียร์ผิดโดยไม่ตั้งใจ พร้อมปุ่ม Shift Lock

มีระบบ Hill Sensing Control สำหรับการปีนป่ายขึ้นที่สูงและลงทางลาดชันได้อย่างไร้กังวล ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหามุมองศาของการปีนป่ายที่สูงและลงทางชัน ระบบคอมพิวเตอร์จะป้องกันไม่ให้เปลี่ยนไปที่เกียร์สูงสุดโดยไม่จำเป็น หรือไม่ลดลงไปเกียร์ต่ำสุดเพื่อป้องกันการลื่นไถลของล้อกรณีปีนป่ายที่สูงและไม่ลาดชันจนเกินไป และในขาลง ก็จะคงที่ไว้ที่เกียร์สามเพื่อการขับขี่ที่มั่นคง และเบรกอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเรียนรู้การขับขี่ในแต่ละสภาพถนน เพื่อปรับเปลื่ยนจังหวะเกียร์ให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


ในวีออสโฉมปี 2550 - 2556 ทุกรุ่น จะมีระบบ

  • Auto Crank Start โดยผู้ขับขี่สามารถติดเครื่องยนต์โดยการบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง Start แล้วปล่อยมือได้ทันที ระบบจะทำการติดเครื่องด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องบิดกุญแจค้างไว้ (ในรุ่น G-Limited สามารถกดปุ่มสตาร์ทแล้วปล่อยมือได้ทันที เครื่องจะทำการสตาร์ทเองโดยอัตโนมัติ)
  • เครื่องเสียงพร้อมระบบ ASL หรือ Auto Sound-Speed Levelizer ปรับระดับเสียงขึ้น-ลง โดยอัตโนมัติตามความเร็วรถ และสามารถปรับได้สามระดับคือ Low Mid และ High พร้อมระบบ DSP (Digital Sound Processer) ช่วยเพี่มความสุนทรีย์ขณะฟังเพลง
  • ระบบไฟฟ้ามีการหน่วงเวลาชุดกระจกไฟฟ้า 45 วินาทีหลังจากดับเครื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่ กรณีจอดรถแล้วต้องการเปิดกระจก และระบบจะตัดการทำงาน เมื่อเปิดประตูคู่หน้าบานใดบานนึงออก หรือ หลังจาก 45 วินาทีเป็นต้นไป
  • ระบบหน่วงเวลาไฟเพดานกลางห้องโดยสารหลังจากดับเครื่อง 30 วินาที และตัดการทำงานเมื่อเปิดเกิน 1 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อป้องกันไฟแบตเตอรี่หมด

รายละเอียดทางเทคนิค[แก้]

ขนาด & น้ำหนัก
ความยาว (มิลลิเมตร) 4300
ความกว้าง (มิลลิเมตร) 1700
ความสูง (มิลลิเมตร) 1460
ความยาวช่วงล้อ (มิลลิเมตร) 2550
ความกว้างช่วงล้อ (มิลลิเมตร) หน้า x หลัง 1470 x 1460
ระดับต่ำสุดจากพื้น (มิลลิเมตร) 150
น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) 1020 - 1065 (แล้วแต่รุ่น)
ความจุกระโปรงท้ายรถ VDA (ลิตร) 420 (550 ลิตร เมื่อพับเบาะหลัง)
รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด (เมตร) 4.9
เครื่องยนต์ 1NZ-FE
แบบเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง DOHC 16V พร้อมระบบวาล์วแปรผัน VVT-i
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มิลลิเมตร) 75.0 x 84.7
ปริมาตรกระบอกสูบ (ซีซี) 1,497
อัตราส่วนกำลังอัด 10.5 : 1
แรงม้าสูงสุด (กิโลวัตต์ (PS) / รอบต่อนาที) 80 (109) / 6000
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร (kg-m) / รอบต่อนาที) 141 (14.4) / 4200
ระบบจ่ายน้ำมัน EFI (Electronic Fuel Injection)
ความจุถังน้ำมัน 42
ระบบขับเคลื่อน & ระบบกันสะเทือน
ระบบขับเคลื่อน อัตโนมัติ 4 จังหวะ แบบร่องหยัก (GATE-TYPE) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ SuperECT
ระบบช่วงล่าง - หน้า อิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท คอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง
ระบบช่วงล่าง - หลัง ทอร์ชั่นบีม คอยล์สปริง
ระบบเบรก - หน้า ดิสก์เบรก พร้อมครีบระบายความร้อน
ระบบเบรก - หลัง ดรัมเบรก (ปี 2553 ดิสก์เบรกในรุ่น E/Safety และ G,G-LTD)
ขนาดยาง 185/60R15 ในรุ่น J,E,G,G-LTD,S-LTD และ 175/65R14 สำหรับรุ่น J มาตรฐาน
แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด รหัส 46B24L อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้

รุ่นที่ 3 (XP150: พ.ศ. 2556-2565)[แก้]

โตโยต้า วีออส โฉมที่ 3

โฉมที่ 3 ของวีออสเปิดตัวครั้งแรกของโลกที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยมีสโลแกนว่า Have It All โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจากรุ่นที่ 2 แต่ยังคงใช้เครื่องยนต์ 1 NZ-FE 1.5 ลิตร 109 แรงม้า และแรงบิด 14.4 กก./ม. เหมือนรุ่นแรก พร้อมทั้งมีพรีเซนเตอร์คนใหม่ จิรายุ ตั้งศรีสุข และ จรินทร์พร จุนเกียรติ มีให้เลือกทั้งหมด 7 สีซึ่งได้แก่ 1. สีขาว 2. สีเบจ 3. สีเงิน 4. สีดำ 5. สีน้ำตาล 6. สีเทา 7. สีแดง โดยมีให้เลือก 4 รุ่นดังนี้

รุ่น J

  • ล้อกระทะพร้อมฝาครอบ 15 นิ้วลายใหม่ พร้อมยาง Dunlop SP Sport 2030 185/60R15
  • ภายในสีเทา Dark Gray
  • เบาะผ้าลายธรรมดา
  • กุญแจรีโมทแบบ Immobilizer (แบบไม่มีสัญญาณแจ้งเตือนผู้บุกรุกจากภายนอก)


รุ่น E

  • มีระบบเบรก ABS/EBD/BA
  • กระจกมองข้างปรับไฟฟ้า
  • กุญแจรีโมท เพิ่มระบบสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อผู้บุกรุกจากภายนอก (TDS)
  • ล้อแม็กอัลลอยขนาด 15 นิ้วลายใหม่ พร้อมยาง Dunlop SP Sport 2030 185/60R15
  • ไฟเบรกดวงที่สาม ในห้องโดยสาร
  • เบาะผ้าลายธรรมดา
  • เลือกสีภายในได้ระหว่างสีเทา Dark Gray กับสีเบจ Ivory


รุ่น G

  • ล้อแม็กแบบรุ่น E พร้อมยาง Dunlop SP Sport 2030 185/60R15
  • ไฟหน้าโปรเจกเตอร์
  • กระจังหน้าและคิ้วฝากระโปรงท้ายโครเมียม
  • ไฟเลี้ยวฝังบริเวณกรอบกระจกมองข้าง พร้อมพับไฟฟ้า
  • เลือกสีภายในได้ระหว่างสีเทา Dark Gray กับสีเบจ Ivory
  • ระบบปรับอากาศอัตโนมัติ
  • สวิทช์ควบคุมเครื่องเสียงที่พวงมาลัย
  • หน้าปัดพร้อมจอ MID
  • เบาะผ้าลายธรรมดา
  • มือเปิดประตูด้านในโครเมียม


รุ่น S

  • ล้อแม็ก 16 นิ้วรมดำ พร้อมยาง Bridgestone Turanza ER33 195/50R16
  • ไฟตัดหมอกหน้า
  • มือเปิดประตูด้านนอกโครเมียม
  • ภายในสีเทา Dark Gray พร้อมเบาะผ้าลายสปอร์ต
  • มาตรวัดพี้นหลังสีแดง
  • ระบบกุญแจอัจฉริยะ Smart Entry พร้อมปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์แบบ Push Start

(เฉพาะรุ่น S และ G จะได้กระจกบังลมหน้ากันเสียงรบกวน Acoustic Glass )


รุ่น TRD Sportivo IV 2014 อิงพี้นฐานจากวีออสรุ่น J แต่มีการปรับเปลื่ยนคือ

  • ล้อแม็กซ์อัลลอย 15 นิ้วลายพิเศษเฉพาะ TRD
  • สเกิร์ตและสปอยเลอร์ TRD
  • สติ๊กเกอร์​และ​สัญลักษณ์ TRD
  • เบาะหนัง
  • เครื่องเล่น DVD จอสัมผัส 7" รองรับ Smart G-Book (รุ่น TRD Sportivo IV นี้ ไม่มี ระบบ ABS ป้องกันล้อล็อกและดิสเบรกหลังยังเป็นดรัมเบรกเพราะพื้นฐานมาจากตัว J )


ช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของอุปกรณ์ติดรถเล็กน้อย

  • รุ่น E

เพิ่มไฟเลี้ยวที่กรอบกระจกมองข้าง และ กระจกมองข้างสามารถพับเก็บด้วยไฟฟ้า

  • รุ่น TRD SPORTIVO V โดยการนำรุ่นพื้นฐานมาจากตัว J

รุ่น TRD Sportivo IV แต่เปลื่ยนล้ออัลลอย 15 นิ้วลายใหม่ ไฟหน้าโปรเจกต์เตอร์รมดำ กระจังหน้าสีดำ สติ๊กเกอร์ด้านข้างลายใหม่ ไฟเดย์ไทม์รันนิ่งไลท์ฝังในสเกิร์ตหน้าใต้ไฟตัดหมอก พร้อมชุดสเกิร์ตและสปอยเลอร์ TRD แบบใหม่รอบคัน เบาะนั่งโดยสารปักเย็บลายใหม่พร้อมสลักตัวอักษร TRD จอเครื่องเสียงแบบใหม่หลักการทำงานคล้าย Ui ของ ANDROID ขนาด 7 นิ้วพร้อมกล้องมองหลังรองรับ Dolby Digital CD DVD การฟังเพลงผ่าน Bluetooth การโทรศัพท์และยังรองรับการสั่งงานด้วยเสียง

(รุ่น TRD Sportivo V นี้ ไม่มี ระบบ ABS ป้องกันล้อล็อกและดิสเบรกหลังยังเป็นดรัมเบรกเพราะพื้นฐานมาจากตัว J )


ราคาอย่างเป็นทางการของโตโยต้า วีออส ปี 2556 - 2558

  • 1.5J M/T เกียร์ธรรมดา 559,000 บาท
  • 1.5J A/T เกียร์อัตโนมัติ 589,000 บาท
  • 1.5E M/T เกียร์ธรรมดา 614,000 บาท
  • 1.5E A/T เกียร์อัตโนมัติ 649,000 บาท
  • 1.5G A/T เกียร์อัตโนมัติ 699,000 บาท
  • 1.5S A/T เกียร์อัตโนมัติ 734,000 บาท

ทุกแบบใช้เครื่องยนต์ 1NZ-FE 1.5 ลิตร 109 แรงม้า และแรงบิด 14.4 กก./ม. เหมือนวีออสโฉมปี 2550 - 2556 โดยมีการปรับเปลื่ยนคือ

  • เปลื่ยนหม้อลมเบรกชนิด Dual - Servo
  • เปลื่ยนยางแท่นเครื่องแบบไฮโดรลิกรุ่นใหม่ทรงจั่ว
  • ย้ายตำแหน่ง ECU กลับเข้าไปห้องโดยสาร โดยอยู่ตำแหน่งหลังลี้นชักเก็บของฝั่งคนนั่ง
  • จูนอัพการตอบสนองคันเร่งไฟฟ้าใหม่
  • เพิ่มไฟแสดงการขับขี่แบบประหยัด (Eco) บนหน้าปัด โดยมีเฉพาะในรุ่นเกียร์อัตโนมัติเท่านั้น

และยังคงใช้ชุดเกียร์อัตโนมัติแบบร่องหยัก รหัสเกียร์ U341E เหมือนโฉมที่แล้ว ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ Super ECT มีระบบ Hill Sensing Control สำหรับการปีนป่ายขึ้นที่สูงและลงทางลาดชันได้อย่างไร้กังวล ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อหามุมองศาของการปีนป่ายที่สูงและลงทางชัน โดยคอมพิวเตอร์จะป้องกันไม่ให้เปลี่ยนไปที่เกียร์สูงสุดโดยไม่จำเป็น หรือไม่ลดลงไปเกียร์ต่ำสุดเพื่อป้องกันการลื่นไถลของล้อกรณีปีนป่ายที่สูงและไม่ลาดชันจนเกินไป และในขาลง ก็จะคงที่ไว้ที่เกียร์สามเพื่อการขับขี่ที่มั่นคง และเบรกอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเรียนรู้การขับขี่ในแต่ละสภาพถนน เพื่อปรับเปลื่ยนจังหวะเกียร์ให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความปลอดภัย[แก้]

ระบบป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ระบบเบรก ABS (Anti-lock Braking System) แบบ 4 channel 4 Sensor ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกะทันหัน หรือเบรกบนถนนลื่น

ระบบกระจายแรงเบรก EBD (Electronic Brake-Force Distribution) จะช่วยกระจายแรงดันน้ำมันเบรกโดยการแปรผันตามน้ำหนักที่กดลงในแต่ละล้อและควบคุมแรงเบรกขณะเข้าโค้งอย่างอิสระ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการเบรกให้มีความสมดุล ป้องกันการไถลของล้อขณะเข้าโค้งและเหยียบเบรกกะทันหัน

ในกรณีบรรทุกเต็มพิกัด ระบบ EBD จะเพิ่มแรงดันน้ำมันเบรกที่ล้อคู่หลังขณะบรรทุก และ ควบคุมแรงเบรกของล้อทั้งหมดขณะเข้าโค้งเพื่อเสริมประสิทธิภาพการหยุดให้สูงที่สุด

ระบบเสริมแรงเบรก BA (Brake Assist) ในกรณีเบรกแบบกะทันหัน ระบบ BA จะช่วยเพิ่มแรงเบรกในระบบ โดยคอมพิวเตอร์จะอ่านค่าจากการเหยียบของผู้ขับว่ามีแรงกระทำมากและนานเท่าไร ช่วยเสริมการหยุดรถได้ในระยะที่สั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA พัฒนาการล่าสุดของโครงสร้างตัวถังนิรภัย GOA ที่ให้ความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลกด้วยโครงสร้างห้องโดยสารที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับแรงกระแทกจากการชน ให้ถ่ายเทไปสู่ส่วนต่างๆของตัวถัง เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อห้องโดยสารน้อยที่สุด โดยระบบดูดซับแรงกระแทกที่สามารถดูดซับแรงกระแทกลดความรุนแรงจากการชนด้วยการกระจายแรงสู่ตัวถัง พร้อมคานนิรภัยด้านหน้าและด้านข้างเพิ่มความแข็งแกร่ง และความปลอดภัยให้กับห้องโดยสารเมื่อเกิดการชน

ระบบลดแรงกระแทกศีรษะด้านข้าง ออกแบบเพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่ศีรษะของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS AIRBAG 2 ตำแหน่งปกป้องทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ช่วยลดการบาดเจ็บของศีรษะและหน้าอก จากแรงปะทะซึ่งเกิดจากการชนด้านหน้า

เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับ และผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ (Pretensioner & Force Limiter) ช่วยรั้งร่างกายผู้ขับขี่และผู้โดยสารให้แนบกับเบาะเมื่อเกิดการชน ป้องกันการบาดเจ็บจากแรงกระแทก

เบาะนั่งคู่หน้าแบบ WIL Concept ป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนจากด้านหลัง

(โฉมปี 2013 1NZ-FE ไม่มีระบบการทรงตัว VSC ทุกรุ่น ใน ปี 2013 )

(เฉพาะโฉมเครื่อง 2NR-FBE ในปี 2559 ได้ระบบการทรงตัว VSC ทุกรุ่นในปี 2016)

รายละเอียดทางเทคนิค[แก้]

ขนาด & น้ำหนัก
ความยาว (มิลลิเมตร) 4410
ความกว้าง (มิลลิเมตร) 1700
ความสูง (มิลลิเมตร) 1475
ความยาวช่วงล้อ (มิลลิเมตร) 2550
ความกว้างช่วงล้อ (มิลลิเมตร) หน้า x หลัง 1470 x 1460 (1455 x 1445 ในรุ่น S)
ระดับต่ำสุดจากพื้น (มิลลิเมตร) 145
น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) 1020 - 1065 (แล้วแต่รุ่น)
ความจุกระโปรงท้ายรถ VDA (ลิตร) 430 (ทุกรุ่นพับเบาะหลังไม่ได้)
รัศมีวงเลี้ยวแคบสุด (เมตร) 5.1
เครื่องยนต์ 1NZ-FE
แบบเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง DOHC 16V พร้อมระบบวาล์วแปรผัน VVT-i
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มิลลิเมตร) 75.0 x 84.7
ปริมาตรกระบอกสูบ (ซีซี) 1,497
อัตราส่วนกำลังอัด 10.5 : 1
แรงม้าสูงสุด (กิโลวัตต์ (PS) / รอบต่อนาที) 80 (109) / 6000
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร (kg-m) / รอบต่อนาที) 141 (14.4) / 4200
ระบบจ่ายน้ำมัน EFI (Electronic Fuel Injection)
ความจุถังน้ำมัน 42
ระบบขับเคลื่อน & ระบบกันสะเทือน
ระบบขับเคลื่อน อัตโนมัติ 4 จังหวะ แบบร่องหยัก (GATE-TYPE) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ SuperECT
ระบบช่วงล่าง - หน้า อิสระแม็คเฟอร์สันสตรัท คอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง
ระบบช่วงล่าง - หลัง ทอร์ชั่นบีม คอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง
ระบบเบรก - หน้า ดิสก์เบรก พร้อมครีบระบายความร้อน
ระบบเบรก - หลัง ดรัมเบรก (ดิสก์เบรกในรุ่น S และ G)
ขนาดยาง 195/50R16 ในรุ่น S และ 185/60R15 สำหรับทุกรุ่น
แบตเตอรี่ แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด รหัส 46B24L อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> เปิดผิดรูปหรือมีชื่อที่ใช้ไม่ได้

ในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการออกตัวถัง MY2016 เปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ใหม่ รหัส 2NR-FBE พร้อมเกียร์ CVT และยกระดับความปลอดภัยมากขึ้น

สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนไปใช้เครื่องใหม่เนื่องจากเทคโนโลยีของ 1NZ-FE เก่าแล้วทำให้เกิดการปล่อยไอเสียเยอะกว่าและอัตราการประหยัดน้ำมันแย่กว่าเดิม

Toyota จึงได้วิจัยเครื่องใหม่

มีชื่อว่า 2NR-FBE เครื่องนี้มีความจุ 1496cc จับคู่กับเกียร์อัตราทดแปรผันเป็น CVT 7 สปีดแล้วซึ่งการวิจัยเครื่องนี้เน้นการเร่งอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและประหยัดน้ำมันได้อีก 70% จากเครื่อง 1NZ-FE ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด

รายละเอียดทางเทคนิค[แก้]

เครื่องยนต์ 2NR-FBE
แบบเครื่องยนต์ 4 สูบเรียง DOHC 16V พร้อมระบบวาล์วแปรผันคู่ Dual VVT-i
ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก (มิลลิเมตร) 72.0 x 90.6
ปริมาตรกระบอกสูบ (ซีซี) 1,496
อัตราส่วนกำลังอัด 11.5 : 1
แรงม้าสูงสุด (กิโลวัตต์ (PS)5WK /50168 รอบต่อนาที) AV79 15K601 ACE7C30 (030)(108) / 6000
แรงบิดสูงสุด (นิวตัน-เมตร (kg-m) / รอบต่อนาที) 140 (14.3) / 4200
ระบบจ่ายน้ำมัน EFI (Electronic Fuel Injection)
ความจุถังน้ำมัน 42
ระบบขับเคลื่อน
ระบบขับเคลื่อน CVT 7 จังหวะ แบบร่องหยัก (GATE-TYPE) พร้อมโหมด Manual (+/-)

วีออส ปี 2559 ได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น 2NR-FBE และอิงออปชั่นจากตอนเปิดตัวปี 2556 และภายในทุกรุ่นเปลี่ยนแค่ฐานเกียร์ใหม่แบบ +/- โดยยังคงรูปแบบร่องหยัก (Gate Type) พร้อม Shift Lock เหมือนเดิม โดยมีราคาเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • 1.5 J CVT 599,000 บาท. (เพิ่ม 10,000 บาท)
  • 1.5 E CVT 669,000 บาท. (เพิ่ม 20,000 บาท
  • 1.5 G CVT 714,000 บาท. (เพิ่ม 15,000 บาท)
  • 1.5 E Exclusive 719,000 บาท. (รุ่นพิเศษชุดแต่งดีไซน์จากตัวโฉม TRD Sportivo V เน้น Luxury มากขึ้นลดความ Sport ลง)
  • 1.5 S CVT 749,000 บาท. (เพิ่ม 15,000 บาท)

โดยรุ่นย่อยใหม่ 1.5 Exclusive CVT โดยพื้นฐานมาจากรุ่น E มีอุปกรณ์ที่แตกต่างดังนี้

ภายนอก

  • สเกิร์ตหน้า, สเกิร์ตข้าง, สเกิร์ตหลัง ดีไซน์จากโฉม TRD Sportivo V เดิมก่อนหน้านี้ เน้นความ หรูหรา Luxury ลดความ Sport ลดลง
  • ไฟหน้าแบบโปรเจกเตอร์ แสงสีส้ม
  • ไฟ Daytime Running Light แบบ LED บริเวณ ใต้ไฟตัดหมอกหน้า
  • ไฟตัดหมอกหน้า แสงสีส้ม
  • กระจังหน้าโครเมียม
  • กระจกมองข้างพร้อมไฟเลี้ยว ปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้า
  • มือจับประตูด้านนอกโครเมียม
  • คิ้วฝากระโปรงท้ายโครเมียม
  • ล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว ลายใหม่
  • กล้องมองหลังพร้อมเส้นกะระยะ
  • สัญลักษณ์ Exclusive ด้านท้ายรถ

ภายในห้องโดยสาร

  • สีภายในห้องโดยสาร โทนสีดำ
  • เบาะหนังสีดำลายกราฟิก
  • คอนโซลหน้าและแผงประตูตกแต่งด้วยลายไฮโดรกราฟิกสีเทา
  • พวงมาลัยและหัวเกียร์หุ้มหนังตกแต่งด้วย Piano Black
  • เครื่องเล่น DVD/CD/MP3 รองรับ Dolby Digital หน้าจอแบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว T-Connect พร้อมช่องต่อ USB / HDMI / SD Card
  • ระบบเชื่อมต่อ Hands-free แบบไร้สาย Bluetooth
  • ถาดใส่ของ และ กล่องเก็บสัมภาระท้ายรถ
  • ชุดอุปกรณ์เติมลมยาง Air Compressor Kit

วีออส โฉมปี 2559 ที่ใช้เครื่องยนต์ 2NR-FBE มีระบบความปลอดภัยในทุกรุ่นย่อยเป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงาน เช่น ระบบ ABS, EBD, BA, VSC พร้อมสวิตช์ เปิด - ปิด การทำงาน อยู่บริเวณฝั่งคนขับ, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และถุงลมนิรภัยคู่หน้า

โตโยต้าได้ยกเลิกเกียร์ธรรมดาในวีออส ทำให้รุ่นย่อย 1.5 E M/T และ 1.5 J M/T ถูกยกเลิกไปในช่วงของการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งนั่นแสดงว่าโตโยต้าไม่มีรถยนต์นั่งขนาดเล็กเกียร์ธรรมดาในไทยในช่วงเวลานี้ เพราะ โตโยต้า ยาริส เครื่องยนต์ 1.2 ลิตรก็เปิดตัวด้วยเกียร์อัตโนมัติ CVT ทั้งหมด เหลือเพียงรถยนต์นั่งขนาดกลางอย่าง "โคโรลล่า อัลติส ไมเนอร์เชนจ์" รุ่นย่อย J M/T ในราคา 799,000 เพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้น

รุ่นปรับปรุงปี 2560[แก้]

โตโยต้า วีออส รุ่นปรับโฉมปี 2560
โตโยต้า ยาริส เอทีฟ คู่หูของ โตโยต้า วีออส

รุ่นปรับปรุงปี 2560 ของโตโยต้า วีออส เปิดตัวเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 ตามหลังประเทศจีน โดยมีกระจังหน้าแบบใหม่ที่เหมือนโตโยต้า วีออส โฉมจีน และโตโยต้า คัมรี่โฉม XV60 ที่เปิดตัวไปก่อนหน้า ใช้เครื่องยนต์ 2NR-FBE เหมือนรุ่นปรับโฉมปี 2559 และมีระบบความปลอดภัย เช่น กระจกมองข้างปรับและพับเก็บด้วยไฟฟ้าพร้อมไฟเลี้ยว, ABS, EBD, BA, VSC พร้อมสวิตช์ เปิด - ปิด การทำงาน อยู่บริเวณฝั่งคนขับ, ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และถุงลมนิรภัยคู่หน้า ในทุกรุ่นย่อย ซึ่งตั้งแต่รุ่น E ขึ้นไปจะมีไฟตัดหมอกหน้าและเซนเซอร์กะระยะด้านท้ายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และตั้งแต่รุ่น G ขึ้นไปจะมีจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน มีราคาเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • รุ่น 1.5J CVT ราคา 609,000 บาท (เพิ่ม 10,000 บาท)
  • รุ่น 1.5E CVT ราคา 679,000 บาท (เพิ่ม 10,000 บาท)
  • รุ่น 1.5G CVT ราคา 729,000 บาท (เพิ่ม 10,000 บาท)
  • รุ่น 1.5S CVT ราคา 789,000 บาท (เพิ่ม 40,000 บาท) เพิ่มเบาะหนังเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน

จนถึงทุกวันนี้ทำยอดขายที่เริ่มจะน้อยลง เนื่องจาก โตโยต้า ยาริส เอทีฟ มียอดขายสูงกว่า Toyota ส่ง Vios MY2019 “ Super SPEC ” ด้วยการเปลื่ยนชื่อรุ่นย่อยเช่น Entry, Mid และ High พร้อมกับปรับอุปกรณ์มากขึ้นเช่น กล้องติดหน้ารถยนต์,ไฟตัดหมอกหน้าแบบ LED,รุ่น Mid เพิ่มออฟชั่นให้กับรุ่น High เช่น ไฟหน้า LED,หน้าจอสัมผัส 7 นิ้ว และอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามา อีกทั้ง ยกเลิกทำตลาดรุ่นย่อย 1.5 E CVT และ ภายในห้องโดยสารสีเบจ

  • รุ่น 1.5 Entry 609,000 บาท
  • รุ่น 1.5 Mid 699,000 บาท
  • รุ่น 1.5 High 789,000 บาท

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปใน VIOS MY2019

  • รุ่น 1.5 Mid
    • เพิ่ม เบาะนั่งหุ้มด้วยหนังสีดำ
    • ราคา ปรับลดลง 30,000 บาท
  • รุ่น 1.5 High
    • เพิ่ม กล้องบันทึกการขับขี่ ด้านหน้ารถ และ เซนเซอร์กะระยะช่วยจอดด้านหลัง 2 ตำแหน่ง ไฟตัดหมอกหน้าแบบ LED

รุ่นที่ 4 (AC100; พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)[แก้]

Fourth generation (AC100)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อโตโยต้า ยาริส เอทีฟ (ประเทศไทย)
โตโยต้า ยาริส (ตะวันออกกลาง และ ละตินอเมริกา)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2565–ปัจจุบัน
แหล่งผลิต
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังรถเก๋ง 4 ประตู รูปทรงท้ายสั้น (Fastback)
แพลตฟอร์มสถาปัตยกรรมยานยนต์ใหม่ของไดฮัทสุ: ดีเอ็นจีเอ-B
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • เบนซิน:
  • 1.2 L 3NR-VE w/Dual VVT-iE I4 (NGC100)
  • 1.3 L 1NR-VE I4 (NGC101)
  • 1.5 L 2NR-VE I4 (NGC102)
ระบบเกียร์
  • 5-สปีด ธรรมดา (มีบางประเทศ)
  • 7-สปีด Super CVT-i พร้อมระบบล็อกเกียร์
มิติ
ระยะฐานล้อ2,620 mm (103.1 in)
ความยาว4,425 mm (174.2 in)
ความกว้าง1,740 mm (68.5 in)
ความสูง1,475 mm (58.1 in)

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงข่าวเปิดตัวรถยนต์ โตโยต้า วีออส รุ่นที่สี่ในชื่อ ออล นิว โตโยต้า ยาริส เอทีฟ (All-new Toyota Yaris Ativ) ที่ TOYOTA ALIVE บางนา กม.3 โดยได้ทำโครงสร้างตัวถังใหม่ ภายใต้แพลตฟอร์ม Daihatsu New Global Architecture (DNGA) จากความร่วมมือของทั้งโตโยต้า และไดฮัทสุ[4] และออกแบบสไตล์ ”Fastback style” ส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศต่ำเพียง 0.284

ทุกรุ่นของรุ่นนี้ จะมาพร้อมกับ Push start, ชุดไฟหน้า Full LED, ล้ออัลลอยด์ Two tone ขนาด 16 นิ้ว, พวงมาลัยปรับได้ 4 ทิศทาง พร้อมปุ่มเลือกโหมดการขับขี่ ECO / Normal / Power บนพวงมาลัย และวิทยุหน้าจอสัมผัส พร้อมรองรับ Apple CarPlay และ Android Auto

ในแง่ความปลอดภัย ทุกรุ่น จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน แต่ในรุ่น Smart ขึ้นไป จะมี Toyota Safety Sense 2.5+ มาให้ด้วย ส่วนในรุ่น PREMIUM ขึ้นไป จะมาพร้อมกับระบบห้ามล้อแบบดิสเบรก ทั้ง 4 ล้อ

ซึ่งในประเทศไทย จะมาพร้อมกับสเปคพิเศษ เช่น ไฟสร้างบรรยากาศภายในห้องโดยสาร 64 เฉดสี , เบาะหนังสีแดง , ชิ้นส่วนตกแต่งภายนอกสีเทาเมทัลลิก และลำโพงระดับ Premium จาก Pioneer จำนวน 6 ตำแหน่ง

ส่วนเครื่องยนต์ ในประเทศไทย จะใช้ เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบแถวเรียง DOHC 16 วาล์ว ขนาด 1.2 ลิตร Dual VVT-iE รหัส 3NR-VE กำลังสูงสุด 94 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 110 นิวตัน-เมตร พร้อมเกียร์อัตโนมัติ Super CVT-i และระบบล็อกเกียร์ 7 จังหวะ

โดยในการเปิดตัวในประเทศไทยนี้ มีเป้าหมายการขายที่ 3,500 คันต่อเดือน โดยการทำตลาดนั้น ได้นำคุณ กันต์พิมุกต์ ภูวกุล หรือแบมแบม อดีต K-POP จากวง GOT7 มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ภายใต้สโลแกน Our Beloved นี่แหละ...รถของเรา[5]

หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้เผยยอดจองรถคันนี้ โดยใน 12 วันนับตั้งแต่วันที่เปิดตัว มียอดจองมากกว่า 8,000 คัน[6] และใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่เปิดตัว มียอดจองมากกว่า 21,300 คัน[7]

รุ่นย่อย[แก้]

รุ่น เครื่องยนต์ ราคาเปิดตัว ราคาปัจจุบัน หมายเหตุ
PREMIUM LUXURY 3NR-VE 1.2 ลิตร เบนซิน 689,000 บาท 699,000 บาท
PREMIUM 659,000 บาท 669,000 บาท
SMART 584,000 บาท 594,000 บาท
SPORT 539,000 บาท 549,000 บาท รุ่นเริ่มต้น

ราคายังไม่รวมชุดอุปกรณ์ตกแต่งมาตรฐาน LUSSO (ลูสโซ่) , CHIARO (เคียโร่) และ PRESTO (เพรสโต้)

มีทั้งหมด 7 สี คือสีเงิน Metal Stream , สีเทา Urban Metal , สีแดง Red Mica Metallic , สีดำ Attitude Black Mica , สีขาว Super White , สีส้ม Spicy Scarlet และสีขาวมุก Platinum White Pearl

สีส้ม Spicy Scarlet และสีขาวมุก Platinum White Pearl เป็นสีพิเศษ , สีขาว Super White จะมีในรุ่น SPORT และ SMART , สีขาวมุก Platinum White Pearl จะมีในรุ่น PREMIUM และ PREMIUM LUXURY[5]

การยุติจำหน่าย โตโยต้า วีออส ในประเทศไทย[แก้]

หลังการเปิดตัวรถยนต์ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ รุ่นใหม่ (All-new Toyota Yaris Ativ) ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ประกาศการยุติสายพานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กในกลุ่ม 4 ประตู (ซีดาน) ในรุ่น โตโยต้า วีออส (Toyota Vios) ในโรงงานประกอบรถยนต์ของ โตโยต้า ในตลอดระยะเวลา 19 ปี

เนื่องจากโตโยต้า วีออส และ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม 4 ประตูซีดานเช่นเดียวกัน และในด้านภาษีสรรพสามิต โตโยต้า ยาริส เอทีฟ จะมีอัตราเสียภาษีสรรพสามิต น้อยกว่า โตโยต้า วีออส ถึง 8 เปอร์เซ็นต์[8][9]

เปิดตัวชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ Toyota Yaris ATIV MODELLISTA[แก้]

ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ได้เปิดตัวชุดอุปกรณ์ตกแต่งพิเศษ MODELLISTA x ASAVA โดยมีแนวคิดในการพัฒนาชุดอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ จะเน้นที่ความพรีเมี่ยม มีสไตล์ ทันสมัย หรูหรา โดย MODELLISTA เลือกที่จะทำงานร่วมกับ ASAVA ในกิจกรรมความร่วมมือพิเศษในครั้งนี้ โดยในรุ่นนี้ จะมาพร้อมกับชุดแต่งสเกิร์ตกันชนหน้า – สเกิร์ตกันชนหลัง – ชุดสเกิร์ตข้าง – สปอยเลอร์หลัง - ล้ออัลลอย 17 นิ้ว พร้อมยางขนาด 205/50 R17 และสัญลักษณ์ MODELLISTA ท้ายรถ สามารถติดตั้งได้กับ โตโยต้า ยาริส เอทีฟ ทุกรุ่นย่อย[10]

เปิดตลาดต่างประเทศ[แก้]

สปป.ลาว[แก้]

ภาพด้านหลังของ โตโยต้า วีออส สีขาวมุก ที่ประเทศลาว (ตรงชื่อรุ่นยังเป็น Vios อยู่)

ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศที่สองต่อจากประเทศไทย ที่ได้เปิดตัว โตโยต้า ยาริส เอทีฟ ในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full-model Change) ของ โตโยต้า วีออส โดยตัวแทนจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย โตโยต้าลาวธานี ขุมพลังสเปกลาวต่างจากไทย ตรงที่ลาวได้เครื่องยนต์ใหญ่กว่าไทยและยังยกมาจาก โตโยต้า วีออส เจนเนอเรชั่นที่แล้วแต่มีการพัฒนาใหม่ คือใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร Dual VVT-i รหัส 1NR-VE 98 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 122 นิวตันเมตรที่ 4,200 รอบ/นาที, ระบบช่วงล่างด้านหน้า แม็คเฟอร์สันสตรัทพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทอร์ชั่นบีมและคอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง โดยรุ่นที่ขายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จะทำตลาดอยู่ 2 รุ่น คือรุ่น 1.3 E จะเป็นรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ซึ่งจะเป็นรุ่นเริ่มต้นและรุ่น 1.3G จะเป็นรุ่นท็อปเกียร์อัตโนมัติ 7 สปีด Super CVT-i ที่จะมีโหมดการขับขี่ ECO / Normal / Power บนพวงมาลัย และแพคเกจช่วยเหลือผู้ขับขี่ Toyota Safety Sense เต็มระบบมาให้[11]

กลุ่มประเทศ GCC (คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ)[แก้]

ในเวอร์ชันตะวันออกกลาง (มีทั้งประเทศ  บาห์เรน,  ซาอุดีอาระเบีย และ  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) โดยสเปคในแต่ละประเทศ จะมีอุปกรณ์ระบบความปลอดภัยที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่นย่อย ในเครื่องยนต์ ที่ทำตลาดในซาอุดีอาระเบีย จะได้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.3 ลิตร รหัส 1NR-VE กำลังสูงสุดที่ 97 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 122 นิวตันเมตร พร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ CVT โดยนำเข้าจากประเทศ ไทย ส่วนเครื่องยนต์ ที่ทำตลาดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ บาห์เรน จะได้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร พร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ CVT โดยนำเข้าจากประเทศ อินโดนีเซีย

โดยสเปคบาห์เรน มี 2 รุ่น คือ 1.5 Mid กับ 1.5 High, สเปคสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มี 2 รุ่น คือ 1.5 E และ 1.5 G และ สเปคซาอุดีอาระเบีย มี 3 รุ่น คือ 1.3 Y, 1.3 Y Plus และ 1.3 YX[12]

อินโดนีเซีย[แก้]

ในประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 โดยนำเข้าจากประเทศไทยเข้ามา ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศแห่งที่ 3 ของเอเชีย ที่ได้สัมผัส Toyota Yaris Ativ รุ่นล่าสุด หลังการเปิดตัวที่ไทยและลาว โดยบางออพชั่นจะเหนือกว่าไทย เช่นล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว และเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT ในรุ่นท็อปจะมีแพคเกจช่วยเหลือผู้ขับขี่ Toyota Safety Sense มาให้ โดยการทำตลาด จะมี 3 รุ่นให้เลือก คือ 1.5 E MT, 1.5 G CVT และ 1.5 G TSS CVT[13]

กัมพูชา[แก้]

ในราชอาณาจักรกัมพูชา ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส โดยตัวแทนจำหน่ายและให้บริการหลังการขาย ในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 โดยนำเข้าจากประเทศไทยเข้ามา เหมือนกับลาวและอินโดนีเซีย ซึ่งกัมพูชาเป็นประเทศแห่งที่ 4 ของเอเชีย ตรงที่กัมพูชาได้เครื่องยนต์ใหญ่กว่าไทยและยังยกมาจาก Toyota Vios เจนเนอเรชันที่แล้ว คือใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร Dual VVT-I รหัส 1NR-VE 96 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิด 122 นิวตันเมตรที่ 4,200 รอบ/นาที พร้อมกับเกียร์อัตโนมัติ CVT ซึ่งจะมีกำลังน้อยกว่าสเปคลาวเล็กน้อย โหมดการขับขี่ ECO / Normal / Power บนพวงมาลัย ระบบช่วงล่างด้านหน้า แม็คเฟอร์สันสตรัทพร้อมเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบทอร์ชั่นบีมและคอยล์สปริง พร้อมเหล็กกันโคลง โดยรุ่นที่ขายในราชอาณาจักรกัมพูชา จะมีเพียงรุ่นเดียวและสเปคเหมือนสเปคของประเทศลาว คือรุ่น 1.3 High ทุกประการ[14]

บรูไน[แก้]

ในบรูไน (เนอการาบรูไนดารุสซาลาม) ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส ในวันที่ 18 ธันวาคม 2565

มาเลเซีย[แก้]

ในมาเลเซีย ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า วีออส ในวันที่ 20 มีนาคม 2566

ละตินอเมริกา (LATAM)[แก้]

คอสตาริกา[แก้]

ในประเทศสาธารณรัฐ คอสตาริกา ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า ยาริส ซีดาน ในวันที่ 10 ตุลาคม 2565 มาพร้อม เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT และ 3 รุ่นให้เลือก ทั้ง New Line และ Highline[15]

เม็กซิโก[แก้]

ในเวอร์ชันสหรัฐ เม็กซิโก ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า ยาริส ซีดาน ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 มาพร้อม เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.5 ลิตร รหัส 2NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 104 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 136 นิวตันเมตร เหมือนกับสเปคคอสตาริกา มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT และ 5 รุ่นให้เลือก ทั้ง Base, S และ S Hi[16]

เปรู[แก้]

ในประเทศสาธารณรัฐ เปรู ได้เปิดตัวในฐานะรุ่นเปลี่ยนโฉม (Full Model change) ของ โตโยต้า ยาริส ซีดาน ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 มาพร้อม เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบขนาด 1.3 ลิตร รหัส 1NR-VE ที่ให้กำลังสูงสุดที่ 94 แรงม้า และให้แรงบิดสูงสุด 113 นิวตันเมตร (11.5 กิโลกรัม-เมตร) นำเข้าจากประเทศไทย มาพร้อมกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ CVT 7 จังหวะ และ 5 รุ่นให้เลือก ทั้ง Base และ GLi มาพร้อมรุ่น GLP (ติดตั้งแก๊ส LPG และ CNG) มีเฉพาะเกียร์ธรรมดาเท่านั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. สุวิชชา วิเชียรวรรณ. "แบตเตอรี่ Toyota Vios" https://www.batteryok.net/แบตเตอรี่-toyota-vios/ เก็บถาวร 2023-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 2020-08-01
  2. "Safercar.gov". Safercar.gov. สืบค้นเมื่อ 2010-04-27.
  3. Lye, Gerard (March 19, 2023). "2023 Toyota Vios review in Malaysia – DNGA brings big improvements; now with more premium feel & features". Paul Tan's Automotive News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 19, 2023.
  4. "Headlightmag Clip พาชมรอบคัน All NEW Toyota Yaris ATIV ทั้ง 4 รุ่นย่อย". HeadLight Magazine. 2022-08-09.
  5. 5.0 5.1 "เปิดตัวครั้งแรกของโลก รถยนต์ที่เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน ALL NEW TOYOTA YARIS ATIV "Our Beloved นี่แหละ...รถของเรา" พร้อม Package การขายที่ให้มากกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์". www.toyota.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ประชาชาติ, รถยนต์ (2022-08-22). "โตโยต้า ยาริส เอทีฟ กระแสแรง ยอดจอง ทะลุ 8,000 คัน". ประชาชาติธุรกิจ.
  7. A, Moo Teerapat (2022-09-10). "Toyota Yaris ATIV กวาดยอดจองสะสมสูงถึง 21,300 คัน หลังเปิดตัวในไทยเพียง 1 เดือน !". Autolifethailand.tv (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. Thailand, BECi Corporation Ltd. "ปิดตำนาน 'โตโยต้า วีออส' ยุติสายพานผลิตในไทย เปิดตัว TOYOTA YARIS ATIV ทำตลาดรถยนต์นั่ง 4 ประตูแทน". CH3Plus.com.
  9. "โตโยต้า เปิดราคา Yaris Ativ ใหม่ 5.39-6.89 แสน หยุดผลิต Vios อย่างเป็นทางการ". bangkokbiznews. 2022-08-09.
  10. บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (2022-11-28). "ปรากฏการณ์ความร่วมมือด้านการออกแบบ MODELLISTA x ASAVA "Trend Leader on the road" สะท้อนความหรูหรา โดดเด่น ของอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ MODELLISTA". www.toyota.co.th. สืบค้นเมื่อ 2022-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "เผยข้อมูล All NEW Toyota VIOS เวอร์ชันลาว เครื่องยนต์เบนซิน 1.3 ลิตร 98 แรงม้า 122 นิวตันเมตร เกียร์ CVT". HeadLight Magazine. 2022-09-07.
  12. "2022 Toyota Yaris Ativ สเปคซาอุดิอาระเบีย ออพชั่นน้อยกว่าไทย แต่ทำไมเครื่องยนต์ดีกว่า | AutoFun". ข่าวสารรถยนต์ AutoFun. 2022-10-06.
  13. "Toyota Yaris Ativ เวอร์ชันอินโดนีเซีย ยังใช้ชื่อ Vios พร้อมขุมพลังเบนซิน 1.5L ทางเลือกเกียร์ 5MT และล้อ 17 นิ้ว". HeadLight Magazine. 2022-10-16.
  14. "រូបរាងថ្មី ប្រណិតភាព ទាន់សម័យ Toyota All New Vios ២០២៣ សម្ភោធដាក់លក់ផ្លូវការនៅលើទីផ្សារកម្ពុជា ជាមួយតម្លៃខ្ទង់ ៣ម៉ឺនដុល្លារ". Advan Auto - The Best Auto News In Cambodia (ภาษาอังกฤษ).
  15. "Llega a Costa Rica el renovado Toyota Yaris 2023 desde los $23.100". www.larepublica.net (ภาษาสเปน).
  16. Segura, Rita (2022-10-12). "Yaris 2023, la evolución del sedán subcompacto". Memo Lira (ภาษาสเปนแบบยุโรป).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]