โตเกียวดิสนีย์แลนด์

พิกัด: 35°37′58″N 139°52′50″E / 35.63278°N 139.88056°E / 35.63278; 139.88056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตเกียวดิสนีย์แลนด์
ปราสาทซินเดอเรลล่า สัญลักษณ์ของโตเกียวดิสนีย์แลนด์
ที่ตั้งโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต, อูรายาซุ, จังหวัดชิบะ, ญี่ปุ่น
พิกัด35°37′58″N 139°52′50″E / 35.63278°N 139.88056°E / 35.63278; 139.88056
สถานะเปิดบริการ
เปิดกิจการ15 เมษายน 1983; 41 ปีก่อน (1983-04-15)
ผู้ดำเนินการเดอะโอเรียนเต็ลแลนด์
รูปแบบอาณาจักรแห่งความฝันและเวทมนตร์
พื้นที่115 เอเคอร์ (47 เฮกตาร์)
เว็บไซต์หน้าหลักของโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต

โตเกียวดิสนีย์แลนด์ (ญี่ปุ่น: 東京ディズニーランドโรมาจิTōkyō Dizunīrandoทับศัพท์: Tokyo Disneyland) เป็นสวนสนุกหนึ่งของโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต มีขนาดพื้นที่ 115 เอเคอร์ (465,000 ตารางเมตร) ตั้งอยู่ในที่เมืองอูรายาซุ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น[1]

โตเกียวดิสนีย์แลนด์เป็นสวนสนุกของดิสนีย์แห่งแรกที่สร้างขึ้นภายนอกสหรัฐอเมริกาและเป็นแห่งแรกของทวีปเอเชีย เปิดให้บริการในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2526 ก่อสร้างโดยวอลต์ดิสนีย์อิเมจจิเนียร์ริง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิสนีย์แลนด์ที่แคลิฟอร์เนียและแมจิกคิงดอมที่ฟลอริดา ดำเนินงานโดยบริษัทโอเรียนทัลแลนด์คอมปานี ซึ่งได้รับลิขสิทธิ์จากเดอะวอลต์ดิสนีย์ ทั้งโตเกียวดิสนีย์แลนด์และโตเกียวดิสนีย์ซี ถือเป็นสวนสนุกเพียงแห่งเดียวที่วอลส์ดิสนีย์มิได้เป็นเจ้าของกิจการ[2]

สวนสนุกแบ่งออกเป็นเจ็ดสวนสนุกย่อย เช่น เวิร์ลด์บาซาร์ แอดเวนเจอร์แลนด์ เวสเทิร์นแลนด์ แฟนตาซีแลนด์ และทูมอโรว์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีสวนสนุกย่อยอีกสองแห่งคือคริกเตอร์คันทรีและมิกกี้ตูนทาวน์ ในปี 2018 โตเกียวดิสนีย์แลนด์มีจำนวนผู้เข้าชมประมาณ 17.9 ล้านคน จัดอยู่ในอันดับที่สามของสวนสนุกดิสนีย์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดรองจากแมจิกคิงดอมที่ฟลอริดา และดิสนีย์แลนด์ที่แคลิฟอร์เนีย[3]

แผนผังสวนสนุกและเครื่องเล่น[แก้]

เวิลด์บาซาร์[แก้]

เวิลด์บาซาร์ (World Bazaar) เป็นทางเดินหลักและแหล่งร้านค้าหลักของโตเกียวดิสนีย์แลนด์ แม้ว่าจะใช้คำว่า "เวิลด์" (หมายถึงโลก) ในชื่อ แต่รูปลักษณ์และรูปแบบโดยทั่วไปของเวิลด์บาซาร์เป็นภาพในอเมริกาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งตรงกับ "เมนสตรีท ยูเอสเอ" พื้นที่ของสวนสนุกรูปแบบแมจิกคิงดอม เวิลด์บาซาร์ประกอบด้วย "ถนน" สองแห่งที่ตัดกัน: ถนนสายหลัก (ทางเดินหลักที่วิ่งจากทางเข้าหลักไปยังปราสาทซินเดอเรลล่า) และถนนเซ็นเตอร์ซึ่งสร้างเส้นตั้งฉากกับถนนสายหลักและนำไปสู่แอดเวนเจอร์แลนด์ในทิศทางหนึ่งและทูมอร์โรว์แลนด์ในอีกด้านหนึ่ง เวิลด์บาซาร์มีหลังคาถาวรครอบคลุมบริเวณถนนสายหลักและถนนเซ็นเตอร์ ออกแบบมาเพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวจากสภาพอากาศต่าง ๆ

แอดเวนเจอร์แลนด์[แก้]

ทางรถไฟสายตะวันตก

แอดเวนเจอร์แลนด์ (Adventureland) ประกอบด้วยสองพื้นที่ที่แตกต่างกันแต่เสริมกัน: พื้นที่รูปแบบนิวออร์ลีนส์ และพื้นที่รูปแบบ "ป่า" โดยยืมลักษณะรูปแบบและสถาปัตยกรรมจากพื้นที่นิวออร์ลีนส์สแควร์และแอดเวนเจอร์แลนด์ที่พบในดิสนีย์แลนด์พาร์ก ในสหรัฐ

เวสเทิร์นแลนด์[แก้]

เวสเทิร์นแลนด์ (Westernland) เป็นพื้นที่ที่มีรูปแบบ "โอลด์เวสต์" ซึ่งมีรูปแบบบคล้ายกับฟรอนเทียร์แลนด์ในสวนสนุกแมจิกคิงดอม ภูมิทัศน์ของเวสเทิร์นแลนด์ครอบครองด้วยภูเขาบิ๊กธันเดอร์ (Big Thunder Mountain) ซึ่งเป็นภูเขารูปแบบหุบเขาโมนูเมนต์ที่ล้อมรอบรถไฟเหาะตีลังกา และแม่น้ำแห่งอเมริกา ทางน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งเป็นที่ตั้งของเรือล่องแม่น้ำมาร์ก ทเวน (Mark Twain Riverboat) เกาะทอม ซอว์เยอร์ (Tom Sawyer Island) และอีกหลายแห่ง

คริตเตอร์คันทรี[แก้]

คริตเตอร์คันทรีเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ของสวนสนุก โดยมีจุดดึงดูดหลักคือภูเขาสแปลช (Splash Mountain) เป็นเครื่องเล่นฟลูมซึ่งเปิดในปี ค.ศ. 1992 และอิงจากซีเควนซ์แอนิเมชันของภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่องซองออฟเดอะเซาต์ (Song of the South) ในปี ค.ศ. 1946

แฟนตาซีแลนด์[แก้]

คฤหาสน์ผีสิง

เช่นเดียวกับสวนสนุกแมจิกคิงดอม ทางเข้ากลางของแฟนตาซีแลนด์ (Fantasyland) คือปราสาทซินเดอเรลล่า ซึ่งเป็นสำเนาที่ใกล้เคียงกันกับปราสาทของแมจิกคิงดอมในรัฐฟลอริดา แฟนตาซีแลนด์ไม่มี "เครื่องเล่นหวาดเสียว" เลย ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเล่นดาร์กไรด์ ที่จะพานักท่องเที่ยวผ่านฉากต่าง ๆ จากภาพยนตร์ของดิสนีย์ เช่น สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด ปีเตอร์แพน และพินอคคิโอ พื้นที่ส่วนย่อย โฉมงามกับเจ้าชายอสูร ใหม่เปิดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนขยายที่ใหญ่ที่สุดของสวนสนุก เครื่องเล่นดาร์กไรด์ชื่อ นิทานมหัศจรรย์แห่งโฉมงามกับเจ้าชายอสูร (Enchanted Tale of Beauty and the Beast) ตั้งอยู่ในปราสาทโฉมงามกับเจ้าชายอสูรแห่งใหม่ โดยมีกระท่อมของมอริซ และน้ำพุของแกสตันอยู่ที่ทางเข้า[4] ส่วนใหม่ยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเบลล์ ซึ่งรวมถึงร้านอาหารโรงเตี๊ยมของแกสตัน และร้านขายของในหมู่บ้าน ที่จำหน่ายของที่ระลึกและของขวัญ[5]

สถานที่แสดงละครเวทีแห่งใหม่ชื่อโรงละครแฟนตาซีแลนด์ฟอเรสต์ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการขยายพื้นที่เช่นกัน ด้วยความจุ 1,500 คน โดยมีการแสดง โลกแห่งดนตรีมหัศจรรย์ของมิกกี้ ความยาว 25 นาที[6]

ตูนทาวน์[แก้]

ตูนทาวน์

เช่นเดียวกับที่ดิสนีย์แลนด์ ตูนทาวน์ (Toontown) (เรียกว่า "มิกกีตูนทาวน์" ที่ดิสนีย์แลนด์) ได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากภาพยนตร์เรื่อง โรเจอร์ แรบบิท ตูนพิลึกโลก เครื่องเล่นสำคัญที่นี่คือ รถตูนสปินของโรเจอร์ แรบบิท (Roger Rabbit's Car Toon Spin)

สถานที่แห่งใหม่ชื่อสตูดิโอสไตล์มินนี (Minnie's Style Studio) เปิดให้บริการในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนขยายที่ใหญ่ที่สุดของสวนสนุก เนื่องจากเป็นพื้นที่ทักทายตัวละคร นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปกับมินนี่ซึ่งจะสวมชุดตามฤดูกาลที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป[5]

ทูมอร์โรว์แลนด์[แก้]

เช่นเดียวกับสวนสนุกดิสนีย์ยุคใหม่แห่งอื่น ๆ สวนสนุกทูมอร์โรว์แลนด์ (Tomorrowland) ของโตเกียวดิสนีย์แลนด์ละทิ้งวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่อิงตามความเป็นจริง แต่กลับนำเสนอรูปแบบแฟนตาซีแนววิทยาศาสตร์แทน ในทางสถาปัตยกรรมได้ยืมมาจากทูมอร์โรว์แลนด์ของรัฐฟลอริดาเวอร์ชันปี ค.ศ. 1971–1993 เครื่องเล่นต่าง ๆ ได้แก่ สเปซเมาต์เทนต์ (Space Mountain), สตาร์ทัวร์ – ดิแอดเวนเจอส์คอนตินิว (Star Tours – The Adventures Continue) และ บัซไลต์เยียร์แอสโตรบลาสเตอร์ (Buzz Lightyear's Astro Blasters)

รถหมุนได้ชื่อ เครื่องเล่นแสนสุขกับเบย์แม็กซ์ (The Happy Ride With Baymax) เปิดให้บริการในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 โดยเป็นส่วนหนึ่งของส่วนขยายที่ใหญ่ที่สุดของสวนสนุก เครื่องเล่นนี้เป็นเครื่องเล่นแห่งแรกของดิสนีย์ที่ได้มาจากภาพยนตร์ดิสนีย์เรื่อง บิ๊กฮีโร่ 6 (2014)[7] ร้านป็อปคอร์นรูปแบบอวกาศสุดพิเศษแห่งใหม่ชื่อเดอะบิ๊กป็อปก็เปิดในวันเดียวกันด้วย[6]

นักท่องเที่ยว[แก้]

2006 2007 2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015
12,900,000[8] 13,906,000[9] 14,293,000[10] 13,646,000[11] 14,452,000[12] 13,996,000[13] 14,847,000[14] 17,214,000[15] 17,300,000[16] 16,600,000[17]
2016 2017 2018 2019 2020 2021 อันดับโลก (2020)
16,540,000[18] 16,600,000[19] 17,907,000[20] 17,910,000[21] 4,160,000[22] 6,300,000[23] 6

อ้างอิง[แก้]

  1. Shoji, Kaori (April 12, 2013). "Tokyo Disneyland turns 30!". JapanTimes. สืบค้นเมื่อ August 11, 2020.
  2. "Adobe Acrobat". acrobat.adobe.com.
  3. "TEA/AECOM 2018 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
  4. "Beauty and the Beast ride to open in 2020 at Tokyo Disneyland". Blooloop. September 20, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  5. 5.0 5.1 "Tokyo Disneyland's Beauty and Beast Castle, largest expansion in park's history, to open on Sept 28". Japan Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  6. 6.0 6.1 Leggate, James (2020-09-17). "Tokyo Disneyland expansion with 'Beauty and the Beast' castle opening this month". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  7. "New Experiences at Tokyo Disneyland Park Featuring New Fantasyland, Enchanted Tale of Beauty and the Beast and More Open Today!". Disney Parks Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-30.
  8. "TEA/ERA 2006 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2007. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "TEA/ERA 2007 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2008. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "TEA/ERA 2008 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/ERA. 2009. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "TEA/AECOM 2009 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2010. p. 7. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "TEA/AECOM 2010 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2011. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "TEA/AECOM 2011 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2012. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "TEA/AECOM 2012 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 8, 2014. สืบค้นเมื่อ July 25, 2013.
  15. "TEA/AECOM 2013 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ June 6, 2014.
  16. "TEA/AECOM 2014 Global Attractions Attendance Report" (PDF). Themed Entertainment Association/AECOM. 2015. p. 7. สืบค้นเมื่อ May 27, 2016.
  17. "TEA/AECOM 2015 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2016. สืบค้นเมื่อ June 3, 2016.
  18. "TEA/AECOM 2016 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2017. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
  19. "TEA/AECOM 2017 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2017. สืบค้นเมื่อ May 17, 2018.
  20. "TEA/AECOM 2018 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 2, 2017. สืบค้นเมื่อ May 23, 2019.
  21. "TEA/AECOM 2019 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2020. สืบค้นเมื่อ July 18, 2020.
  22. "TEA/AECOM 2020 Theme Index and Museum Index" (PDF). Themed Entertainment Association. 2020. สืบค้นเมื่อ November 26, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Events & News" (ภาษาอังกฤษ). Themed Entertainment Association. สืบค้นเมื่อ 2022-11-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

35°37′58″N 139°52′50″E / 35.63278°N 139.88056°E / 35.63278; 139.88056