โซนิครัช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซนิครัช
Sonic Rush
ソニック ラッシュ

ภาพกล่องเกม โดยมีเบลซ เดอะแคทอยู่ทางซ้ายและโซนิค เดอะเฮดจ์ฮ็อก อยู่ทางขวา
ผู้พัฒนาDimps
ผู้จัดจำหน่ายเซก้า
อำนวยการผลิต
  • ยูจิ นากะ Edit this on Wikidata
แต่งเพลง
  • Hideki Naganuma Edit this on Wikidata
ชุด
  • Sonic Rush Edit this on Wikidata
เครื่องเล่นนินเทนโดดีเอส
วางจำหน่ายญี่ปุ่น 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
สหรัฐ15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
ยุโรป 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005
แนวแอ็กชั่นแพลตฟอร์ม
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (2 คน)

โซนิครัช (Sonic Rush) (ญี่ปุ่น: ソニック ラッシュ) เป็นเกมแอ็กชั่นแพลตฟอร์ม สำหรับเครื่องนินเทนโดดีเอส เป็นหนึ่งในเกมของตระกูลเกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก ผลิตโดย Dimps จัดจำหน่ายเซก้า วางขายทั่วโลกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005

เกมโซนิครัชในภาพในเกมกับฉากต่างๆและวิธีการเล่นเป็นสองมิติเหมือนกับเกมภาคต้นฉบับ แต่ตัวละครหลักและบอสกับฉากบอสได้ใช้กราฟิก 3 มิติมาแทน แต่ยังคงลักษณะและท่าทางเหมือนกับแบบสองมิติ เกมนี้ได้ใช้ระบบสองจอในการเอื้อยอำนวยต่อการเล่น ในการเล่นปกติจอบนและจอล่างจะแสดงฉากในเกมแนวตั้ง ซึ่งถือเป็นลูกเล่นสำคัญในภาคนี้ที่ผู้เล่นจะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวละครในเกมได้วิ่งทะลุมาอีกจอหนึ่ง ในฉากโบนัสจอล่างจะใช้ควบคู่กับสไตลัส ส่วนจอบนจะแสดงสถานภาพ ส่วนในฉากบอสจอล่างจะแสดงพลังของบอสและจอบนจะเป็นฉากในเกม

ตัวละครในเกม[แก้]

ตัวละครหลัก
ตัวละครรอง
ตัวละครสนับสนุน
วายร้าย

ฉาก[แก้]

  • ลีฟสตอร์ม
  • วอเตอร์พาเลส
  • มิราจโร้ด
  • ไนท์คาร์นิวัล
  • ฮิวจ์ไครซิส
  • อัลติจูดลิมิต
  • เดดไลน์
  • อันโนน
  • เอ็กเซพชั่น

การเรียงลำดับฉาก[แก้]

โซนิค เบลซ
Zone 1: ลีฟสตอร์ม Zone 1: ไนท์คาร์นิวัล
Zone 2: วอเตอร์พาเลส Zone 2: ลีฟสตอร์ม
Zone 3: มิราจโร้ด Zone 3: มิราจโร้ด
Zone 4: ไนท์คาร์นิวัล Zone 4: วอเตอร์พาเลส
Zone 5: ฮิวจ์ไครซิส Zone 5: อัลติจูดลิมิต
Zone 6: อัลติจูดลิมิต Zone 6: ฮิวจ์ไครซิส
Zone 7: เดดไลน์ Zone 7: เดดไลน์
Final Zone: อันโนน Final Zone: อันโนน

การรวบรวมคาออสเอเมอรัลด์[แก้]

ในเกมนี้โซนิคจะต้องรวบรวมคาออสเอเมอรัลด์ โดยผู้เล่นจะต้องหาแท่นหมุนวงกลมที่มีรูปดาวอยู่ตรงกลาง ซึ่งผู้เล่นต้องสะสมพลังงานไว้บางส่วน จากนั้นเกาะแท่นหมุนตัวแล้วกด Y ค้าง ถ้ามีเงื่อนไขถึงที่กำหนดก็จะสามารถเข้าฉากโบนัสได้ ซึ่งใช้ปากกาในการลากโซนิค โดยรูปแบบการเล่นจะคล้ายคลึงกับโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก 2 ซึ่งโซนิคจะอยู่ในฉากท่อผ่าครึ่งและต้องคอยเก็บแหวนและหลบหลีกระเบิด (ซึ่งจะทำให้เสียแหวน) นอกจากนั้นยังมีโบนัสกดตามลำดับเมื่อผู้เล่นสัมผัสลูกโป่ง

ตรงข้ามกับโซนิคเบลซไม่จำเป็นต้องเล่นฉากโบนัส เธอจะได้โซลเอเมอรัลด์ทุกครั้งที่เธอปราบบอสดร.เอ็กแมนได้

ภาษาที่เลือกได้[แก้]

ในเกมโซนิครัช ตัวเกมจะเปลี่ยนภาษาตามที่เครื่องกำหนด แต่ยกเว้นเสียงพากย์ ซึ่งจะคงไว้ตามเวอร์ชันของตลับนั้นๆ

ดนตรี[แก้]

ดนตรีในเกมโซนิครัชจะเป็นลักษณะของฟังค์และฮิพฮอพ มีทำนองสนุกสนานและเพลงค่อนข้างเร็ว โดยในตัวเพลงจะมีการพูดคำสั้นๆไว้ซึ่งคำเหล่านั้นจะอยู่ในเพลง (เช่น คำว่า "Cha cha" ในเพลง Ska Cha Cha) โดยเพลงประกอบในเกมแต่งโดย ฮิเดกิ นากานูมะ ซึ่งมีผลงานจากเกมชุด Jet Set Radio


การตอบรับ[แก้]

ในการวิจารณ์ส่วนมากต่างชื่นชมในการนำเกมชุดโซนิคกลับสู่รูปแบบเดินด้านข้างแบบ 2 มิติ รวมทั้งเพลงประกอบที่ฟังสนุก อย่างไรก็ดีเกมได้รับการวิจารณ์แง่ลบในด้านการออกแบบฉากต่อสู้กับบอสที่แย่และการตายจากการตกเหวบ่อยมาก อย่างไรก็ดีนิตยสารอย่างเป็นทางการของนินเทนโดบอกว่า เกมโซนิครัชถือเป็นเกมที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 21 ของเกมชุดโซนิค

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่นๆ[แก้]