สมาคมสร้างคุณค่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โซกา งัคไก)
สมาคมสร้างคุณค่า
創価学会
ก่อตั้ง18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930
ประเภทขบวนการทางศาสนาใหม่
สํานักงานใหญ่〒160-8583
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น โตเกียว เขตชินจูกุ ชินาโนมาจิ (信濃町) 32
สมาชิก
มากกว่า 12 ล้านคน
ประธาน
มิโนรุ ฮาราดะ
เว็บไซต์www.sokanet.jp
ชื่อในอดีต
โซกะเคียวอิกุกักไก (創価教育学会)

สมาคมสร้างคุณค่า (ญี่ปุ่น: 創価学会โรมาจิSōka Gakkai) เป็นขบวนการศาสนาใหม่ของญี่ปุ่นที่อิงหลักคำสอนจากนิจิเร็ง ซึ่งกล่าวโดยประธานสามคนแรก สึเนซาบูโร มากิงูจิ, โจเซ โทดะ และไดซากุ อิเกดะ สมาคมนี้เป็นกลุ่มศาสนาใหม่ของญี่ปุ่นที่มีผู้นับถือมากที่สุดและอ้างว่ามีสมาชิกชาวพุทธนิจิเร็งมากที่สุด “สมาคมนี้นำหลักคำสอนตามการตีความสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแบบนิจิเร็งและใช้บทสวด"นามูเมียวโฮเร็งเงเกียว"เป็นศูนย์รวมหลัก สมาคมนี้ส่งเสริมเป้าหมายที่จะสนับสนุน"ความสันติสุข, วัฒนธรรม และการศึกษา"[1]

สมาคมนี้ก่อตั้งในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 โดยนักการศึกษามากิงูจิกับโทดะ และจัดการประชุมครั้งแรกใน ค.ศ. 1937[2]ต่อมาถูกยุบตัวลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อมีผู้นำหลายคนถูกจับในข้อหาละเมิดกฎหมายรักษาสันติภาพประจำปี 1925 และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ หลังสงครามสิ้นสุดลง สื่อญี่ปุ่นอ้างว่า เป็นเรื่องซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่สมาชิกในสมาคมใน ค.ศ. 1958 จะเพิ่มขึ้นถึง 750,000 ครัวเรือน[3][4] และไดซากุ อิเกดะ ประธานคนที่สามของสมาคม ได้ขยายสมาคมไปจนมีสมาชิก 12 ล้านคนใน 192 ประเทศทั่วโลก

การขับเคลื่อนกลุ่มไปสู่การยอมรับกระแสหลัก องค์กรนี้ยังคงถูกมองด้วยความสงสัยในญี่ปุ่น และมีส่วนพัวพันกับข้อโต้แย้งสาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงสามทศวรรษแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[3][5][6][7][8] ใน ค.ศ. 1952 ถึง 1991 สมาคมนี้ดำเนินการในสังกัดศาสนาพุทธแบบโชชูนิจิเร็ง[9]

การก่อตั้ง[แก้]

จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ผู้ก่อตั้งสมาคม

โซคา กักไก ก่อตั้งโดย อาจารย์จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ซึ่งเป็นนักวิชาการการศึกษา ซึ่งอาจารย์จึเนะซาบุโร มาคิงุจิ ได้ก่อตั้ง "สมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า" ขึ้นมาเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 ท่านเป็นผู้เขียน "ทฤษฎีการสร้างคุณค่า" และได้ทุ่มเทให้กับการแผยแผ่ธรรมจนถูกรัฐบาลทหารในสมัยนั้นกลั่นแกล้งจับกุม เนื่องจากไม่ยอมให้สมาคมฯขึ้นตรงอยู่ภายใต้นิกายชินโตซึ่งถูกครอบงำทางการทหาร(กองทัพญี่ปุ่นเริ่มบุกจีน ค.ศ.1937 สงครามโลกยุติ ค.ศ.1945) อ.มาคิงุจิถูกคุมขังในคุกเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 และถึงแก่มรณกรรมในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 ในเรือนจำ ส่วนอ.โทดะประธานสมาคมคนที่ 2 ซึ่งถูกจับกุมเข้าคุกก่อนหน้า 3 วันได้รับอิสรภาพภายหลังสงครามยุติ

วันที่ระลึกการก่อตั้งสมาคมโซคา ตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายนของทุกปีตามมติของสมาคมโซคา กักไก เนื่องจากเป็นวันที่อาจารย์จึเนะซาบุโร มา​คิงุจิ นายกสมาคมโซคา กักไกคนแรก ได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า ระบบการศึกษาสร้างคุณค่า เล่มที่1 ในวันนั้น และหน้าท้ายของหนังสือนี้มีระบุสถานที่จัดพิมพ์ว่า สมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า นี่เป็นครั้งแรกที่ชื่อของสมาคมการศึกษาสร้างคุณค่า อันเป็นชื่อสมัยเริ่มแรกของสมาคมโซคา งัคไก ได้ปรากฏขึ้นมาอย่างเป็นทางการในสังคม ด้วยเหตุนี้ 18 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่ที่หนังสือดังกล่าวถูกตีพิมพ์ออกมา จึงถูกกำหนดให้เป็นวันที่ระลึกการก่อตั้งสมาคมโซคา

ชื่อ[แก้]

คำว่า โซคา มีความหมายว่า สร้างคุณค่า ซึ่งได้จากแนวความคิดของอาจารย์มาคิงุจิที่ว่า เป้าหมายของการศึกษาและเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ก็คือ การแสวงหาความสุขในแนวคิดมนุษยนิยม โดยเนื้อแท้แล้ว สิ่งนี้ก็คือการสร้างคุณค่านั้นเอง คำว่าโซคา(สร้างคุณค่า) ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการพูดคุยสนทนากัน ระหว่างอาจารย์มาคิงุจิกับอาจารย์โทดะในการประยุกต์คำสอนของพระนิชิเร็นไดโชนินในเรื่อง "การวางรากฐานให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรู้แจ้งและเปิดสภาพชีวิตพุทธะในตนเอง" มาจัดวางระบบการให้ปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ในการดำเนินชีวิตในสังคมของมนุษยชาติในโลกยุคปัจจุบัน

ยุคฟื้นฟูของสมาคมถึงปัจจุบัน[แก้]

เวลาต่อมา อาจารย์ โจเซ โทดะ ได้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของอาจาร์ยมาคิงุจิ ท่านได้ถูกจับเข้าคุกด้วยข้อหาและวันเดียวกันกับอาจาร์ยของท่าน ซึ่งได้ถูกคุมขังอยู่ถึง 2 ปี เมือพ้นโทษก็ออกมาฟื้นฟูสมาคมแต่เพียงลำพัง จนเป็นที่มาของ "การยืนหยัดแต่เพียงผู้เดียว" และเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น "สมาคมสร้างคุณค่า" ท่านได้เป็นนายกสมาคมคนที่ 2 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 ท่านได้ประกาศ "แถลงการณ์ห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์" ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1957 ท่านได้มอบพินัยกรรมการเผยแผ่ธรรมให้กับ ไดซาขุ อิเคดะ และถึงแก่มรณกรรมอย่างสงบในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1958 ในเวลาต่อมา อาจารย์อิเคดะ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ประธานสมาคมโซคามอบตำแหน่งให้กับ ฮิโรชิ โฮโจ โดยก่อนหน้านี้สมาคมโซคาถูกคว่ำบาตรและฟ้องร้องต่อศาลจากคณะสงฆ์ กรณีหนังสือพิมพ์สมาคมโซคาเปิดเผยเรื่องอื้อฉาวของสงฆ์นิกเค่นประมุขสงฆ์นิกายนิชิเรนโชชูที่เมืองซีแอตเติ้ลซึ่งคณะสงฆ์ถูกพิพากษาให้แพ้คดีในที่สุด อย่างไรก็ตามอาจาร์ยอิเคดะก็ยังคงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมSGI(สมาคมโซคา กักไก สากล) และดำรงตำแหน่งเป็นประธานสมาคมกิตติมศักดิ์ ของสมาคมโซคา กักไกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรม[แก้]

การดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษา[แก้]

สมาคมสร้างคุณค่า สำนักงานใหญ่ กรุงโตเกียว

การศึกษาเพื่อ ความสุขของเด็ก เครือข่ายการศึกษาสร้างคุณค่าได้แผ่ขยายไปทั่วโลก อ.ไดซาขุ อิเคดะได้กล่าวไว้ว่า การศึกษานั้น เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างผู้นำในอนาคต การศึกษานั้นเป็นงานสุดท้ายของข้าพเจ้า อ.อิเดคะได้นำคำประกาศของอาจารย์มาคิงุจิ ที่กล่าวไว้ว่า ความสุขของเด็ก เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ขั้นรากฐานของการศึกษาสร้างคุณค่า ทำเป็นรูปธรรมขึ้นมา โดยการก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลโซคาขึ้นมาในปีพ.ศ. 2511(ที่เมืองโคไดระ ปัจจุบันมีโรงเรียนประถม มัธยมต้นและมัธยมปลาย ที่คันไซและโตเกียว)ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยโซคา ในปีพ.ศ. 2514(ที่เมืองฮาชิโอจิ โตเกียว) ได้เปิดวิทยาลัยสตรีโซคาในปี พ.ศ. 2528 และเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ได้เปิดมหาวิทยาลัยโซคา อเมริกาที่ออเร้นจ์เคาน์ตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ยังได้เปิดโรงเรียนอนุบาลที่จังหวัดซัปโปโร ฮ่องกง สิงค์โปร์ มาเลเซีย และบราซิล เป็นการขยายเครือข่ายการศึกษาสร้างคุณค่าออกไปทั่วโลก เปิดเส้นทางใหญ่แห่งศตวรรษแห่งการศึกษา

การเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ[แก้]

สมาคมได้ดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสันติภาพอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะยุวชนเป็นผู้ปฏิบัติหลัก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 คณะยุวชนได้จัดตั้ง สมัชชายุวชนปกป้องสิทธิในการดำรงชีวิต ซึ่งภายหลังได้พัฒนาเป็น สมัชชายุวชนโซคาเพื่อสันติภาพ เริ่มต้นทำการเคลื่อนไหวโดยรับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม นอกจากนี้ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 จนถึงฤดูร้อนในปีถัดไป ได้ทำการเคลื่อนไหว เก้บลายชื่อ10ล้านรายชื่อเพื่อต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2518 อาจารย์อิเคดะก็ได้ยื่นรายชื่อเหล่านี้ต่อสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติด้วยมือของท่านเอง ยิ่งกว่านั้น ยังได้ดำเนินกิจกรรมในการจัดพิมพ์หนังสือต่อต้านสงครามของผู้ที่มีประสบการณ์สงคราม ให้แก่คนรุ่นหลังมาตลอดมากกว่า100เล่ม เช่น คณะยุวชนได้จัดทำเรื่อง มอบแด่คนในสมัยที่ไม่รู้จักสงคราม ออกมาเป็นตอนๆต่อเนื่องกันจำนวน80ตอน(เล่ม)คณะผู้ใหญ่หญิงก็ได้ทำหนังสือเรื่อง ข้อเรียกร้องเพื่อสันติภาพ ออกมาเป็นตอนๆเช่นกันจำนวน20ตอน(เล่ม) ทางสมาคม นอกจากจะช่วยเหลือและสนับสนุนองค์การสหประชาชาติอย่างกระตือรือร้นเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลก ในฐานะเป็นเอ็นจีโอ(องค์กรที่ไม่ใช้องค์กรของรัฐบาลหรือองค์กรเอกชน)ของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และเอ็นจีโอของศูนย์ประชาสัมพันธ์แห่งสหประชาชาติ แล้วทางสมาคม ยังได้ดำเนินการในฐานะเอ็นจีโอของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติอีกด้วย การเคลื่อนไหวดังกล่าว ได้ดำเนินกิจการไปในแง่มุมต่างๆเช่น ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การลดอาวุธนิวเคลียร์ การศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตัวแทนเอสจีไอได้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ในระหว่างผู้เกี่ยวข้องแต่ละประเทศ เช่น การประชุมสิทธิมนุษยชนโลก การประชุมเพื่อลดอาวุธของสหประชาชาติเกียวโต การประชุมเพื่อลดอาวุธของสหประชาชาติฮิโรชิมา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนไหวเพื่อเสริมความเข้าใจโดยผ่านการจัดนิทรรศการ งานนิทรรศการการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งได้จัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 โดยเปิดการแสดงใน 24 ประเทศ 39 เมือง มีผู้เข้าชม1,700,000คน [ที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) ได้จัดนิทรรศการ "อาวุธนิวเคลียร์-ภัยคุกคามโลก" ที่ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ร่วมกับองค์กรเอสจีไอ องค์การสหประชาชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]และได้จัดงานนิทรรศการ สิทธิมนุษยชนโลกในปัจจุบัน เพื่อเป็นการสนับสนุน 10 ปีแห่งการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติ ตามสภานที่ต่างๆรวม 8 ประเทศ 40 เมืองหมุนเวียนกันไปเช่น ที่สำนักงานใหญ่ของอค์การสหประชาชาติยุโรป เมืองเจนีวา กรุงโรม และเมืองมอนเตวิเดโอ เป็นต้น

การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม[แก้]

สำหรับปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม จัดงานนิทรรศการในหัวข้อเรื่อง สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ขึ้นในนานาประเทศหมุนเวียนกันไป ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ คณะยุวชนได้รณรงค์เพื่อมอบเครื่องวิทยุให้แก่ประเทศกัมพูชา มีการเคลื่อนไหวเพื่อยกระดับอัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นในประเทศที่ยากจน และได้มีการรณรงค์นานาชาติเพื่อเรียกร้องให้ขจัดอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉาะอย่างยิ่ง การรณรงค์เพื่อยกเลิกภายในปี 2000 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 สามารถเก็บรายชื่อได้ถึง 1,300,000 ชื่อ ยื่นเสนอต่อสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้ขจัดอาวุธนิวเคลียร์

กลอุบายของประมุขสงฆ์เพื่อคว่ำบาตรสมาคม[แก้]

ในปี ค.ศ. 1991 สงฆ์นิคเค่น ประมุขสงฆ์แห่งพุทธศาสนานิชิเร็นโชชู ได้ประกาศการคว่ำบาตรต่อ ประธานสมาคมโซคากักไก ซึ่งเป็นสมาคมผู้นับถือที่ใหญ่ที่สุด โดยได้ให้เหตุผลว่า การปฏิบัติ คำสอน ของผู้นับถือจากสมาคมนี้นั้นถูกเบี่ยนเบนไปโดยผู้นำ หรือประธานสมาคม และพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งได้ฟ้องร้องประธานสมาคมกรณีสิ่งพิมพ์สมาคมโซคาเปิดเผยพฤติกรรมเสื่อมเสียของประมุขสงฆ์ ประมุขสงฆ์งดการมอบโงะฮนซนซึ่งเป็น สิ่งสักการบูชาของผู้นับถือนิชิเร็นโชชูให้กับสมาชิกสมาคม ซึ่งโดยปกติแล้วโงะฮนซนถูกคัดลอกจากวัดใหญ่ไทเซขิจิโดยมีการทำพิธีโดยพระประมุขสงฆ์ที่วัดใหญ่ เมื่อสมาคมนำแบบพิมพ์เก่าของพระนิชิคันโชนินสังฆราชลำดับ 26 ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพผู้ทำการรวบรวมฟื้นฟูพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนินมาคัดลอกให้สมาชิกจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นโงะฮนซนปลอม และในที่สุดในปี ค.ศ. 1997 ผู้นับถือทั้งหมดที่ตัดสินใจยังคงเข้ากับสมาคมโซคางักไกทั้งหมดทั่วโลก ก็ได้ถูกคว่ำบาตรออกจากการเป็นผู้นับถือพุทธศาสนานิชิเร็นโชชูด้วยเช่นกัน สมาชิกสมาคมโซคางักไกต้องงดการเดินทางไปยังวัดไทเซขิจิ เพื่อนมัสการไดโงะฮนซน ซึ่งเป็นสิ่งสักการบูชาสูงสุดของนิชิเร็นโชชู โดยชักชวนให้ถอนตัวจากสมาคมโซคางักไก และกลับมาเข้ากับนิกายนิชิเร็นโชชูดังเดิม ซึ่งจะต้องผ่านพิธีสำนึกผิดโดยพระสงฆ์

หลักคำสอนและการปฏิบัติ[แก้]

คำสอนและการปฏิบัติของผู้นับถือของโซคางักไก(SGI)นั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ พระพุทธศาสนานิชิเร็นโชชู เพราะปฏิบัติศรัทธายึดหลักคำสอนในธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนิน

การปฏิบัติขั้นพื้นฐานของโซคางักไก(SGI) นั้นจะเน้นที่ ศรัทธา ปฏิบัติ และ ศึกษา ศรัทธาก็คือการท่องบทธรรมสารถัต(ไดโมขุ) "นัม-เมียว-โฮ-เร็ง-เง-เคียว" ซึ่งเป็นคำแปลจากภาษาสันสกฤตว่า "นโมสัทธรรมปุณฑริกสูตร" และสวดมนต์วาระเช้าเย็น (งนเกียว) โดยระยะเวลาการของปฏิบัตินี้ จะขึ้นอยู่กับผู้นับถือแต่ละบุคคล ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามความสะดวก และตารางเวลาของแต่ละบุคคล สมาชิกผู้นับถือใหม่อาจสวดเพียง 5-10 นาที เท่านั้น ในขณะที่ผู้นับถือมานานอาจสวดไดโมขุ ("นัม-เมียว-โฮ-เร็ง-เง-เคียว"ต่อเนื่องไปจนปิติพอดี) ได้ถึงวันละ 3 - 4 ชั่วโมงหรือมากกว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อขัดเกลาตนเอง และยังรวมถึงการไปรวมกลุ่มสนทนาธรรมและเผยแพร่ธรรมให้ผู้อื่นเป็นการปฏิบัติเพื่อผู้อื่นหรือดำเนินโพธิสัตว์มรรค ศึกษาก็คือการศึกษาธรรมะจากสื่อสิ่งพิมพ์และวารสารต่างๆฝ่ายการศึกษาของสมาคมโดยอ้างอิงจากบทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเรนไดโชนิน ของ อ.มาขิงูจิ, อ.โทดะ และอ. อิเคดะ ผู้นำสมาคม

การสวดมนต์ของ นิชิเรนโชชู และ โซคางักไก(SGI) นั้นจะมีข้อแตกต่างกันบางประการ อาทิเช่น นิชิเรนโชชู นั้นจะมี บทสวดมนต์ทั้งหมด 5 บท (5 วาระ) แต่สำหรับ โซคางัคไก บทแรกอธิษฐานในใจแทนจึงมีบทสวดออกเสียงเพียง 4 บท และไม่มีการอธิษฐานเพื่อพระประมุขสงฆ์องค์ปัจจุบันโดย ทางโซคางักไก(SGI)ได้เปลี่ยนแปลงเป็นการอธิษฐานในวาระที่ 2 เพื่อขอบคุณต่อ ไดโงะฮนซน, พระนิชิเรนไดโชนิน, พระนิกโคโชนิน, พระนิชิโมขุโชนิน ส่วนวาระที่ 3 อธิษฐานเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาลทั่วโลกและประธานสมาคมโซคาทั้ง 3 ท่านผู้อุทิศชีวิตต่อการเผยแผ่ธรรม, วาระที่ 4 อธิษฐานเพื่อตนเองและอุทิศให้บรรพบุรุษ และวาระที่ 5 อธิษฐานเพื่อสันติภาพและความสุขของมวลมนุษยชาติทั่วโลก

การปฏิบัติบูชาต่อโงะฮนซน ทางสมาคมถือตามธรรมนิพนธ์ที่ชี้ว่า โงะฮนซนอยู่ภายในชีวิตของผู้ปฏิบัติ.. คือการปรับปรุงแก้ไขปฏิวัติการดำเนินชีวิตตนเองเป็นตัวอย่างที่ดีกับเพื่อนสมาชิกและผู้คนในสังคมเป็นการปฏิบัติบูชา

ข้อแตกต่างระหว่างโซคางักไก(SGI) และ นิชิเร็นโชชู[แก้]

  • พระรัตนตรัย สำหรับโซคางักไก(SGI) นั้น "พระสงฆ์" หมายถึง ผู้นับถือทุกๆคน ไม่จำเป็นต้องเป็นนักบวช ในขณะที่ นิชิเรนโชชู เชื่อว่า พระสงฆ์ ในที่นี้ หมายถึงพระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู
  • โซคางักไก(SGI) ปฏิเสธการสืบทอดของประมุขสงฆ์นิกเค่นพระสังฆราชแห่งนิชิเรนโชชู
  • โซคางักไก(SGI) จะไม่มีนักบวชจากวัดไทเซขิจิในการประกอบพิธีกรรมแต่ยังมีพระสงฆ์กลุ่มปฏิรูปเข้าร่วมอยู่
  • โงะฮนซน (สิ่งสักการบูชา) ของโซคางักไก(SGI) คัดลอกจากแม่พิมพ์ซึ่งจารึกโดยพระสังฆราชลำดับที่ 26 พระนิชิคันโชนิน(ค.ศ.1665-ค.ศ.1726) ผู้เป็นที่เคารพยิ่งซึ่งมีผลงานยิ่งใหญ่ในการฟื้นฟูพุทธธรรมของพระนิชิเร็นไดโชนิน ซึ่งต่างจากแบบพิมพ์ของโงะฮนซนที่มอบจากประมุขสงฆ์ปัจจุบัน
  • โซคางักไก(SGI) นับถือ ประธานสมาคมโซคา และ ไดซาขุ อิเคดะ ในฐานะอาจารย์ ในขณะที่นิชิเร็นโชชูจะถือว่าอาจาร์ยคือพระสงฆ์เท่านั้น

ธงของสมาคม[แก้]

ธงของสมาคมเป็นธงไตรรงค์หรือธงสามสี ได้แก่ น้ำเงิน, เหลือง, แดง มีความหมายดังนี้

  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพ
  • สีเหลือง หมายถึง ความรุ่งโรจน์
  • สีแดง หมายถึง ชัยชนะ

ผู้บริหาร[แก้]

รายชื่อประธาน[แก้]

นี่คือรายชื่อประธานสมาคมสร้างคุณค่า:

  1. จึเนะซาบูโร มาคิงูจิ – (18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 – 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944)
  2. โจเซ โทดะ – (3 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 – 2 เมษายน ค.ศ. 1958)
  3. ไดซาขุ อิเคดะ – (3 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 – 24 เมษายน ค.ศ. 1979) + (ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมสร้างคุณค่าสากล: ค.ศ. 1979 – ปัจจุบัน)
  4. ฮิโรชิ โฮโจ – (24 เมษายน ค.ศ. 1979 – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981)
  5. เอโนซูเกะ อาคิยะ – (18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006)[10]
  6. มิโนรุ ฮาราดะ – (9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 – ปัจจุบัน)[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "At a Glance". Soka Global (SGI). n.d. สืบค้นเมื่อ 28 January 2021.
  2. Jacqueline I. Stone, Original Enlightenment and the Transformation of Medieval Japanese Buddhism (Studies in East Asian Buddhism), University of Hawaii Press 2003, ISBN 978-0824827717, page 454.
  3. 3.0 3.1 Melton, J. Gordon; Baumann, Martin, บ.ก. (2010). Religions of the world : a comprehensive encyclopedia of beliefs and practices (2nd ed.). Santa Barbara, California: ABC-CLIO. pp. 2656–2659. ISBN 978-1598842036.
  4. Kisala, Robert (2004). "Soka Gakkai: Searching for the Mainstream". ใน Lewis, James R.; Aagaard Petersen, Jesper (บ.ก.). Controversial New Religions. Oxford University Press. pp. 139–152.
  5. Phillip E. Hammond and David W. Machacek, "Soka Gakkai International" in J. Gordon Melton, Martin Baumann (eds.), Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, ABC-CLIO, 2010, p. 2658. "Daisaku Ikeda (b. 1928), Soka Gakkai's charismatic third president, led the international growth of the movement. Although Ikeda and his successor, Einosuke Akiya, have gone to great lengths to improve the movement's public image, suspicion remains. Soka Gakkai's political involvement through the organ of the Komeito, a political party founded by the Soka Gakkai, and the near godlike reverence that members have for President Ikeda have tended to perpetuate public distrust. Although it has been subjected to a generalized suspicion toward Eastern religious movements in the United States, Europe, and South America, the movement's history outside of Japan has been tranquil by comparison to its Japanese history."
  6. Wellman, Jr., James K.; Lombardi, Clark B., บ.ก. (2012-08-16). Religion and human security : a global perspective. New York: Oxford University Press. p. 272. ISBN 978-0199827756. "When I conducted a survey of 235 Doshisha University students a few years ago asking their opinions about the Gakkai and how much they knew about its peace education programs, over 80 percent responded that they had a negative image of the movement and about 60 percent thought that its 'peace movement' is little more than promotional propaganda. The few respondents with a positive image were either Soka Gakkai members, were related members, or were friends of members."
  7. Seagar, Richard (2006). Encountering the Dharma: Daisaku Ikeda, the Soka Gakkai, and the Globalization of Buddhist Humanism. University of California Press. p. xii. ISBN 978-0-52024577-8. Since its founding in the 1930s, the SG has repeatedly found itself at the center of controversies, some linked to major struggles over the future of Japan, others to intense internal religious debates that erupted into public view. Over the course of its history, however, it has also grown into a large, politically active, and very well-established network of institutions, whose membership represents something on the order of a tenth of the Japanese population. One result is that there is a fractured view of the movement in Japan. On one hand, it is seen as a highly articulated, politically and socially engaged movement with an expressed message of human empowerment and global peace. On the other, it has been charged with an array of nefarious activities that range from fellow traveling with Communists and sedition to aspiring to world domination.
  8. Beasley, W. G., บ.ก. (1977). Modern Japan: Aspects of History, Literature, and Society. Berkeley: University of California Press. pp. 190–196. ISBN 978-0-520-03495-2.
    Hunt, Arnold D. (1975). Japan's Militant Buddhism: A Survey of the Soka Gakkai Movement. Salisbury East, S. Aust.: Salisbury College of Advanced Education. pp. 1–13. ISBN 978-0909383060.
    Kitagawa, Joseph M. (1990). Religion in Japanese history ([Reprint]. ed.). New York: Columbia University Press. pp. 329–330. ISBN 978-0231028387.
  9. Hurst, Jane (2000). Macachek and Wilson (บ.ก.). A Buddhist Reformation In the 20th Century. Oxford University Press. p. 70. ISBN 0-19-924039-6.
  10. 10.0 10.1 "Minoru Harada appointed as Soka Gakkai President". Soka Gakkai International. สืบค้นเมื่อ 3 January 2014.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Sōka Gakkai in America: Accommodation and Conversion By Phillip E. Hammond and David W. Machacek. London: Oxford University Press, ISBN 0-19-829389-5
  • "The Sōka Gakkai: Buddhism and the Creation of a Harmonious and Peaceful Society" by Daniel A. Metraux in Engaged Buddhism: Buddhist Liberation Movements in Asia. Christopher S. Queen and Sallie B. King, eds. SUNY Press, 1996.
  • The New Believers: A survey of sects, cults and alternative religions. David V Barrett. Octopus Publishing Group, 2003
  • The Lotus and the Maple Leaf: The Sōka Gakkai in Canada by Daniel A. Metraux (University Press of America, 1996)
  • Fundamentals of Buddhism (second edition) by Yasuji Kirimura (Nichiren Shōshū International Center [now SGI], 1984). ISBN 4-88872-016-9
  • Sōka Gakkai kaibō ("Dissecting Sōka Gakkai") by the editors of Aera (Asahi Shimbun, 2000). ISBN 4-02-261286-X (Japanese)
  • A Public Betrayed: An Inside Look at Japanese Media Atrocities and Their Warnings to the West. Adam Gamble & Takesato Watanabe. Regnery Publishing, Inc., 2004. ISBN 0-89526-046-8
  • (SERA) Southeast Review of Asian Studies 29 (2007). "Religion, Politics, and Constitutional Reform in Japan," by Daniel Metraux, 157–72.
  • Westward Dharma: Buddhism beyond Asia. Charles S. Prebish and Martin Baumann, eds. 2002.
  • Igami, Minobu. 1995. Tonari no Sōka Gakkai [The Sōka Gakkai Next Door], Tokyo: Takarajima.
  • Proselytizing and the Limits of Religious Pluralism in Contemporary Asia. By Juliana Finucane, R. Michael Feener, pages 103 122.
  • Neo Yeow Ann Aaron "Studying Soka: Buddhist Conversionn And Religious Change In Singapore" (PDF).[ลิงก์เสีย]

อ่านเพิ่ม[แก้]

หนังสือ[แก้]

  • Strand, Clark: Waking the Buddha - how the most dynamic and empowering buddhist movement in history is changing our concept of religion. Strand examines how the Soka Gakkai, based on the insight that "Buddha is life", has evolved a model in which religion serves the needs of its practitioners, rather than the practitioners adhering to dogma and traditions for their own sake. Middleway Press, 2014. ISBN 978-0-9779245-6-1
  • Editors of AERA: Sōkagakkai kaibai (創価学会解剖: "Dissecting Sōkagakkai"). Asahi Shimbun-sha, October 1995. ISBN 978-4-02-261286-1. AERA is a weekly investigative news magazine published by one of Japan's leading news organizations; this book attempts to present a dry, fair assessment of Sōkagakkai and Daisaku Ikeda and contains several interviews with Gakkai leaders.
  • Shimada, Hiroki: Sōkagakkai no jitsuryoku (創価学会の実力: "The true extent of Sōkagakkai's power"). Shinchosha, August 2006. ISBN 4-02-330372-0. Argues that the Sōka Gakkai is not (or is no longer) as powerful as many of its opponents fear, and that it is losing ground internally as all but the most dedicated are turned off by the leadership and fewer members need the organization for social bonding. Also notes that it is becoming more like a civic rather than a religious organization, and that inactive members don't resign because they want to avoid the ostracism and harassment that can result.
  • Shimada, Hiroki: Kōmeitō vs. Sōkagakkai (公明党vs.創価学会: "The Kōmeitō and the Sōka Gakkai"). Asahi Shinsho, June 2007. ISBN 978-4-02-273153-1. Describes the relationship between Kōmeitō and Sōka Gakkai and the development of their history. Touches on the Sōka Gakkai–Nichiren Shōshū split, describing it as the result of a power struggle and financial constraints, as well as on the organized harassment of opponents by Sōka Gakkai members, the organization's use of its media vehicles to vilify opponents, and Ikeda's demand for unquestioning loyalty.
  • Tamano, Kazushi: Sōkagakkai no Kenkyū (創価学会の研究: "Research on the Sōkagakkai"). Kodansha Gendai Shinsho, 2008. ISBN 978-4-06-287965-1. This book is an attempt to review scholarly studies of Sōka Gakkai from the 1950s to the 1970s and shifts in perceptions of the organization as journalists took over from scholars. Tamano takes the perspective of a social scientist and describes Sōka Gakkai as a socio-political phenomenon. He is also somewhat critical of some views Shimada expressed in the latter's recent publications.
  • Yamada, Naoki: Sōkagakkai towa nanika (創価学会とは何か: "Explaining Sōkagakkai"). Shinchosha, April 2004. ISBN 4-10-467301-3
  • Yatomi, Shin: Buddhism In A New Light. Examines Soka Gakkai interpretations of Buddhist concepts. World Tribune Press, 2006. ISBN 978-1-932911-14-5
  • Muwwakkil, Zakiya N. (January 2010). "Sacred gospel and the Soka Gakkai: Correlating Black liberation theology and Buddhist humanism---Implications for religious education and the alleviation of African American ethnic suffering". Etd Collection for Fordham University: 1–185.

สื่อข่าว (เว็บไซต์)[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]