โครงการบูมเมอแรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กล้องโทรทรรศน์เตรียมพร้อมนำส่งขึ้นโดยบัลลูน

โครงการบูมเมอแรง (อังกฤษ: BOOMERanG: Balloon Observations of Millimetric Extragalactic Radiation and Geophysics) เป็นโครงการตรวจวัดการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลจากการสำรวจท้องฟ้าส่วนเล็กๆ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งบนบัลลูน เป็นการทดลองแรกที่สามารถเก็บภาพขนาดใหญ่ที่ใกล้เคียงของจริงมากที่สุดของความไม่เหมือนกันทุกทิศทางของอุณหภูมิของไมโครเวฟพื้นหลัง โดยการนำกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปสังเกตการณ์ที่ความสูงมากกว่า 42,000 เมตร ซึ่งช่วยลดการดูดซับรังสีไมโครเวฟโดยชั้นบรรยากาศของโลกไปได้เกือบหมด ด้วยวิธีนี้ การทดลองจึงลดค่าใช้จ่ายลงได้มากเมื่อเทียบกับการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ แต่ก็สามารถสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้เป็นบริเวณแคบๆ เท่านั้น

มีการทดลองไปแล้วรวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1997 โดยบินข้ามทวีปอเมริกาเหนือ อีก 2 ครั้งทำในปี ค.ศ. 1998 และ 2003 โดยบัลลูนเริ่มต้นจากสถานีแมคเมอร์โดที่แอนตาร์กติก อาศัยลมหมุนของขั้วโลกบินวนรอบขั้วโลกใต้ และกลับคืนยังตำแหน่งเดิมภายในเวลา 2 สัปดาห์ จากวิธีการเช่นนี้จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ "บูมเมอแรง"

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]