โกปาลิเบร์ตาโดเรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โคปา ลิเบอร์ตาดอเรส)
โกปาลิเบร์ตาโดเรสเดอาเมริกา
ก่อตั้งค.ศ. 1960
ภูมิภาคทวีปอเมริกาใต้ (คอนเมบอล)
จำนวนทีม38
ทีมชนะเลิศปัจจุบันบราซิล ฟลาเม็งกู (2 สมัย)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดอาร์เจนตินา อินเดเปนเดียนเต (7 สมัย)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
โกปาลิเบร์ตาโดเรส ฤดูกาล 2020

โกปาลิเบร์ตาโดเรสเดอาเมริกา (สเปน: Copa Libertadores de América) หรือ กอปาลีเบร์ตาโดริสดาอาแมรีกา (โปรตุเกส: Copa Libertadores da América) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสรต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ จัดขึ้นทุกปีโดยสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ โดยชื่อการแข่งขันตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ โฮเซ เด ซาน มาร์ติน และซิมอน โบลิบาร์ ผู้นำในการประกาศเอกราชในประเทศแถบลาตินอเมริกาจากสเปนและโปรตุเกส ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม Libertadores

ปัจจุบันมีผู้สนับสนุนหลักในการแข่งขันคือบริดจสโตน จึงมีชื่อเรียกว่า โกปาบริดจสโตนลิเบร์ตาโดเรส [1]

โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960–2004 ผู้ชนะจะได้สิทธิ์แข่งขันอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ผู้ชนะจะได้สิทธิ์แข่งขันฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพในปลายปีที่แข่งขัน

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ[แก้]

ผู้ชนะเลิศ (จำแนกตามสโมสร)[แก้]

สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ได้ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
อาร์เจนตินา อินเดเปนดิเอนเต 7 0 1964, 1965, 1972, 1973, 1974, 1975, 1984
อาร์เจนตินา โบกายูนิออร์ส 6 5 1977, 1978, 2000, 2001, 2003, 2007 1963, 1979, 2004, 2012, 2018
อุรุกวัย เปญญาโรล 5 5 1960, 1961, 1966, 1982, 1987 1962, 1965, 1970, 1983, 2011
อาร์เจนตินา ริเบร์เปลต 4 3 1986, 1996, 2015, 2018 1966, 1976, 2019
อาร์เจนตินา เอสตูเดียนเตส 4 1 1968, 1969, 1970, 2009 1971
ปารากวัย โอลิมเปีย 3 4 1979, 1990, 2002 1960, 1989, 1991, 2013
อุรุกวัย นาซิโอนัล 3 3 1971, 1980, 1988 1964, 1967, 1969
บราซิล เซาเปาลู 3 3 1992, 1993, 2005 1974, 1994, 2006
บราซิล ซังตุส 3 1 1962, 1963, 2011 2003
บราซิล กรูเซย์รู 2 2 1976, 1997 1977, 2009
บราซิล อาแลเกร็งซี 2 2 1983, 1995 1984, 2007
โคลอมเบีย อัตเลตีโกนาซีโอนัล 2 1 1989, 2016 1995
บราซิล อิงเตร์นาซีโยนัล 2 1 2006, 2010 1980
บราซิล ฟลาเม็งกู 2 0 1981, 2019
บราซิล ปัลเมย์รัส 1 3 1999 1961, 1968, 2000
ชิลี โกโล-โกโล 1 1 1991 1973
อาร์เจนตินา ราซินกลุบ 1 0 1967
อาร์เจนตินา อาร์เคนตีโนสยูนีออร์ส 1 0 1985
อาร์เจนตินา เบเลซ ซาร์สฟิลด์ 1 0 1994
บราซิล วัชกู ดา กามา 1 0 1998
โคลอมเบีย ออนเซกัลดัส 1 0 2004
เอกวาดอร์ เอเลเดกู กีโต 1 0 2008
บราซิล คอรินเทียนส์ 1 0 2012
บราซิล อัตเลชีกูมีเนย์รู 1 0 2013
อาร์เจนตินา ซานโลเรนโซ 1 0 2014

ผู้ชนะเลิศ (จำแนกตามชาติ)[แก้]

ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 25 12
ธงของประเทศบราซิล บราซิล 19 15
ธงของประเทศอุรุกวัย อุรุกวัย 8 8
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย 3 7
ธงของประเทศปารากวัย ปารากวัย 3 5
ธงของประเทศชิลี ชิลี 1 5
ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 1 3
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก 0 3
 เปรู 0 2
 โบลิเวีย 0 0
 เวเนซุเอลา 0 0

อ้างอิง[แก้]

  1. Bekerman, Esteban (2008). Perfil.com (บ.ก.). "Hace 60 años, River perdía la gran chance de ser el primer club campeón de América" [60 years ago, River lost the chance to be the first club champion of America] (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ May 10, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]